วิกฤติรัสเซีย–ยูเครน เริ่มต้นมาอย่างไร?
จุดเริ่มต้นของวิกฤตินี้ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 1991 หลังจากที่สหภาพโซเวียตได้ล่มสลาย ยูเครนได้แยกเอกราชมาจากสาธารณรัฐรัสเซีย ต่อมารัสเซียได้มีการยกไครเมียให้กับยูเครน จากนั้นความสัมพันธ์ของยูเครนกับชาติตะวันตกก็เพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไป จนถึงช่วงต้นคริสต์ศักราช 2000 ทาง NATO ที่นำโดยสหรัฐอเมริกาได้ให้คำสัญญาว่าจะให้ยูเครนเข้าร่วมสมาชิก NATO ด้วยในอนาคต ทำให้ทางรัสเซียรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยที่มีการขยายประเทศสมาชิกเข้าใกล้ประเทศตนเอง รัสเซียพยายามทำทุกวิถีทางไม่ให้ยูเครนเข้าร่วมกับ EU และ NATO เพื่อให้ตนเองยังมีอำนาจอยู่เหนือยูเครน เนื่องจากรัสเซียยังมองว่ายูเครนเป็นส่วนหนึ่งของตนเองมาเสมอ และให้ยูเครนเป็นประเทศกันชนของรัสเซียกับทวีปยุโรป
เข้าสู่ปี 2014 ก็ได้ถึงจุดแตกหักระหว่างรัสเซียกับยูเครน เมื่อรัสเซียได้ส่งกองกำลังเข้าไปยังไครเมียซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์เพื่อทำการยึดคืนจากนั้นได้ทำประชามติเพื่อเป็นข้อยืนยันในการยึดคืน อย่างไรก็ตามทางยูเครนไม่ยอมรับกับการยึดคืนไครเมียของรัสเซีย ส่งผลให้หลังจากนั้นเกิดความตึงเครียดอย่างต่อเนื่องระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งยูเครนก็ต้องเผชิญการสู้รบกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซียมาเป็นระยะ และถึงช่วงเวลาปี 2021 ที่รัสเซียเริ่มมีการส่งทหารกลับเข้าไปบริเวณชายแดนรัสเซีย-ยูเครนอีกครั้งเพื่อหวังจะมีอำนาจเหนือยูเครนอีกครั้ง แต่ทาง NATO ได้ออกมาประกาศว่าหากรัสเซียมีการทำอะไรยูเครน NATO ก็พร้อมที่จะสนับสนุนยูเครนเช่นเดียวกันยิ่งทำให้รัสเซียไม่พอใจอย่างมาก และชนวนเหตุครั้งล่าสุดคือยูเครนได้พยายามจับมือเพื่อเข้ากลุ่ม NATO อีกครั้ง ประกอบกับกลุ่มของ NATO มีนโยบายการขยายอิทธิพลไปยังยุโรปตะวันออกซึ่งเป็นบ้านของรัสเซีย ซึ่งรัสเซียไม่มีความต้องการให้ทางสหรัฐอเมริกาและยุโรปเข้ามาใกล้กับตนเช่นเดียวกัน
เมื่อต้นปี 2022 ที่ผ่านมาความตึงเครียดมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกที่มีปัจจัยเรื่องรัสเซีย-ยูเครนเข้ามากดดันส่งผลให้ความผันผวนมีสูงมากขึ้น จนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 รัสเซียได้มีการส่งทหารเข้ายังยูเครนและดำเนินการโจมตีบริเวณเมืองหลวงของยูเครนรวมไปถึงหัวเมืองใหญ่ๆทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงเป็นอย่างมากและส่งผลต่อราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นช่นเดียวกัน
ที่มา prachachat / ลงทุนแมน
ทำไมสงครามถึงมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นเป็นอย่างมาก?
ตลาดหุ้นรวมถึงสินทรัพย์ต่างๆถูกยึดโยงไปกับสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกและการเกิดสงครามนั้นส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างๆลดลงทำให้เกิดแรงเทขายเพื่อแปลงสภาพสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงไปเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ดังนั้นเมื่อเกิดแรงเทขายจากความกังวลของภาวะสงครามที่จะเกิดขึ้นหรือกำลังเกิดขึ้นส่งผลให้ตลาดหุ้นได้มีการปรับตัวลดลงอย่างมากทำให้ สินทรัพย์ปลอดภัยได้แก่ทองคำมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับตลาดหุ้นที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง
ตลาดหุ้นลงแต่ทำไมราคาน้ำมันกลับสวนทาง เนื่องจากพลังงานทั่วโลกยังคงต้องพึ่งพาน้ำมันอยู่กังนั้นเมื่อเกิดภาวะสงความขึ้นมาหลายประเทศจำเป็นต้องมีการกักตุนน้ำมันและความต้องการน้ำมันทั่วโลกก็เพิ่มสูงขึ้นขณะที่กำลังการผลิตน้ำมันมีอยู่เท่าเดิม ราคาจึงมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และยิ่งสงครามมีการบานปลายมากขึ้นจะยิ่งส่งผลต่อการลงทุนไปอย่างต่อเนื่อง
เมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวนผลิตภัณฑ์ที่มีการอ้างอิงก็มีการผันผวนเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นได้แก่ DW ซึ่งอ้างอิงอยู่บนหุ้นเมื่อมีการขึ้นหรือลงมูลค่าของ DW ก็ขึ้นลงตามเช่นเดียวกัน ซึ่ง DW มีทั้ง CALL และ PUT ให้เลือกเทรดตามสภาวะตลาดหากสภาวะตลาดมีความกังวลจากสงคราม PUT DW ก็จะมีความได้เปรียบในการเก็งกำไร และเมื่อมีความผ่อนคลายจากสงคราม CALL DW ก็เป็นจังหวะในการทำกำไรเช่นเดียวกัน ดังนั้นไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร DW พร้อมให้นักลงทุนทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ถ้าใครยังไม่รู้ว่า DW คืออะไร สามารถเข้าไปอ่านได้เลย

Post Views: 2,151