
5 Checklist ส่องกล้องดู GDP ไทย Q3/63 ดีขึ้นจริงหรือไม่
เศรษฐกิจไทย Q2/63 ลดลงร้อยละ 6.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 12.2 ในไตรมาสที่ Q2/63 ซึ่งนักลงทุนหลายท่านอาจมองว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังฟื้นตัวแล้ว วันนี้แอดมินจะขออาสารวบรวมข้อมูล GDP ระหว่าง Q2 – Q3 ในปี 63 มาเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลยว่าเศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวจริงแล้วหรือไม่
ด้านการผลิต
ใน Q3/63 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้กิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการกลับมาดำเนินการผลิตได้มากขึ้น
– โรงแรมและภัตตาคารลดลงร้อยละ 39.6 ดีขึ้นจากลดลงร้อยละ 50.2 ในไตรมาสก่อนหน้าปัจจัยหลักมาจากที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ ไตรมาสนี้รายได้หลักมาจากในประเทศเป็นหลัก ในช่วง Q3/63 มีจำนวนทั้งสิ้น 32.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 5.6 ล้านคนใน Q2/63จากการประกาศให้มีวันหยุดชดเชยสงกรานต์ 4 วัน และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ
– อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 5.8 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 14.4 ในไตรมาสก่อนหน้า
– ภาคเกษตร ลดลงร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของพืชหลักได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา และปาล์มน้ ามัน ขณะที่ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผักและผลไม้ และการผลิตในหมวดปศุสัตว์เพิ่มขึ้น
– ขนส่ง ลดลงร้อยละ 23.6 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 38.9 ในไตรมาสก่อนหน้า หลังกลับมาให้บริการได้อีกครั้งจากการคลายล็อกดาวน์ภายในประเทศ
– มีเพียงด้านการการเงิน และการก่อสร้าง ที่ยังขยายตัวได้

ด้านนำเข้า – ส่งออก
– การนำเข้าสินค้า ใน Q3/63 ลดลงร้อยละ 17.0 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 19.3 ใน Q2/63 จากสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงทั้งประเภทสินค้าคงทนและไม่คงทน จากกำลังซื้อและอุปสงค์ของภาคเอกชนที่ยังคงลดลง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบลดลงจากสินค้าสำคัญ อาทิเชื้อเพลิง ชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามภาคการขนส่ง และสินค้าประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ลดลง ตามการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือภาคเอกชนที่หดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า
-การส่งออกสินค้า ใน Q3/63 ลดลงร้อยละ 7.7 จากการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงจากสินค้าสำคัญคือ ข้าว และยางพารา ประกอบกับการส่งออกผลไม้สำคัญ คือ ทุเรียนและมังคุด ลดลงด้วยเช่นกัน การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญหดตัว โดยสินค้าในกลุ่มยานพาหนะและชิ้นส่วนยังคงลดลงในระดับสูง
จากอุปสงค์ที่ลดลงในเกือบทุกภูมิภาคโดยเฉพาะอาเซียนและตะวันออกกลาง

การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น
การลงทุนภาคเอกชน ใน Q3/63 ลดลงร้อยละ 10.7 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 15.0 ใน Q2/63
– ด้านการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 0.3 ใน Q3/63 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.1ใน Q2/63จากการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยลดลง แต่การก่อสร้างส่วนอื่นๆดีขึ้น
– ด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ใน Q3/63ลดลงร้อยละ 14.0 เป็นการลดลงในทุกหมวดสินค้า อย่างไรก็ตามในไตรมาสนี้เริ่มมีสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวหลังการผ่อนคลายการบังคับมาตรการป้องกันโควิด-19
การลงทุนภาครัฐ ใน Q3/63ขยายตัวร้อยละ 18.5 ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 ใน Q2/63เป็นการขยายตัวทั้งด้านการก่อสร้าง และด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ส่วนหนึ่งมาจากการเร่งเบิกจ่ายในครึ่งหลังของปีงบประมาณเพิ่มขึ้น
-ด้านการก่อสร้าง ใน Q3/63ขยายตัวร้อยละ 18.6ส่วนหนึ่งมาจากการเบิกจ่ายเพื่อการก่อสร้าง ซ่อมแซม และปรับปรุงถนน สะพาน และสิ่งก่อสร้างอื่นของกระทรวงคมนาคม
-ด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ใน Q3/63 ขยายตัวร้อยละ 18.4 ส่วนหนึ่งมาจากการเบิกจ่ายในหมวดครุภัณฑ์ของส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน
ใน Q3/63 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจาก Q2/63 ปัจจัยสนับสนุนมาจากการที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มคลายความวิตกกังวล ขณะที่ภาคธุรกิจเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว
– หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ในขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากการบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปลา นม เนย ไข่ ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆขณะที่การบริโภคอาหารประเภทแป้งและธัญพืชขยายตัว
– ที่อยู่อาศัย ประปา ไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 3.7 ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัย
– หมวดขนส่ง ลดลงร้อยละ 15.8 เป็นการปรับตัวดีขึ้นในทุกกิจกรรม ทั้งการซื้อยานพาหนะของครัวเรือน การซื้ออุปกรณ์ขนส่งส่วนบุคคล และบริการขนส่ง
– หมวดสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 2.0 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายด้านบริการไปรษณีย์ในไตรมาสนี้ลดลง อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายด้านบริการสื่อการ และด้านอุปกรณ์การสื่อสารยังคงเพิ่มขึ้น
– หมวดภัตตาคารและโรงแรม ลดลงร้อยละ 49.6 เป็นการลดลงของการใช้จ่ายทั้งในด้านบริการภัตตาคาร และด้านบริการโรงแรม โดยผลกระทบหลักมาจากมาตรการป้องกันโควิด-19 ของทั้งประเทศไทยและต่างประเทศที่ทำให้ไตรมาสนี้ยังคงไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทย

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ใน Q3/63 ขยายตัวร้อยละ 3.4 เร่งตัวจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ใน Q2/63
– ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 1.6
– ค่าซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
– การโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินขยายตัวร้อยละ 8.0
Post Views: 3,233