ถึงการเทรด DW จะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูง แต่หากนักลงทุนมีพื้นฐานและความเข้าใจที่ถูกต้อง การปรับแผนการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อบริหารความเสี่ยงก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด ซึ่งสำหรับใครที่เป็นนักลงทุนมือใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่สนามการลงทุน DW ได้ไม่นาน วันนี้เราจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับ 5 ปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จำเป็นต่อการวางแผนและปรับกลยุทธ์การเทรด DW ในแต่ละสถานการณ์เพื่อบริหารความเสี่ยงได้อยู่หมัด
1. ความผันผวนของดัชนีและหุ้นแม่ที่เลือกลงทุน
โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนสามารถเลือกได้ว่าจะเทรด DW ที่อ้างอิงราคากับหุ้นรายตัว หรือ อ้างอิงราคากับดัชนี ซึ่ง DW แต่ละประเภทเองก็จะมีความผันผวน รวมถึงข้อมูลเฉพาะที่นักลงทุนควรรู้ก่อนเทรดที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น
- หากเป็นการลงทุนกับ DW ที่อ้างอิงดัชนี
ราคาของดัชนีอ้างอิงจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และ DW นั้นจะมีอัตราทดที่สูงกว่าหุ้นรายตัวหลายเท่า ดังนั้น การเทรด DW ที่อ้างอิงกับดัชนีจึงเหมาะกับการเก็งกำไรระยะสั้นตามความผันผวนของสภาวะตลาด อีกทั้งต้องมีการวางแผนรับมืออย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
- แต่ในทางกลับกัน หากเลือกเทรด DW ที่อ้างอิงราคากับหุ้นรายตัว
การเทรดหุ้นรายตัวส่วนใหญ่จะมีราคาที่ขึ้น-ลงตามภาพรวมตลาด แต่บางครั้งจะมีปัจจัยเสริมของหุ้นตัวนั้น ๆ ที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวสวนทางกับตลาดได้ เช่น ผลประกอบการโดดเด่นสวนทางกับธุรกิจกลุ่มอื่น หรือหุ้นได้รับประโยชน์จากปัจจัยที่กดดันตลาด เป็นต้น ดังนั้น การวางแผนเทรด DW ที่อ้างอิงหุ้นรายตัวสามารถวางแผนได้ในระยะกลาง-ยาว ตามปัจจัยเด่นของหุ้นตัวนั้น ๆ
2. อัตราทด (Effective Gearing)
อัตราทด หรือ Effective Gearing เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดีในการเทรด DW โดยอัตราทดนี้จะเป็นตัวบอกว่า นักลงทุนจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้เท่าไหร่เมื่อราคาดัชนีหรือหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป 1%
ในจุดนี้ นักลงทุนมือใหม่อาจเข้าใจว่า การลงทุน DW ที่ดีและได้รับผลตอบแทนสูง คือ การเลือก DW ที่มีอัตราทดสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว อัตราทดนี้ไม่เพียงแต่เป็นตัวคูณผลตอบแทนเท่าไหร่ แต่ยังเป็นตัวคูณของการขาดทุนด้วย
ตัวอย่างเช่น
สมมติว่า ตอนนี้ลงทุน Call DW ที่มีอัตราทดเท่ากับ 5 ในช่วงตลาดขาขึ้น หากหุ้นแม่ หรือ ดัชนีอ้างอิงมีการปรับตัวขึ้น 1% ราคา DW ก็จะปรับเพิ่มเป็น 5% ซึ่งหากจับจังหวะถูกก็สามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มได้ถึง 5 เท่า แต่หากจับจังหวะพลาด เราก็จะขาดทุนได้ถึง 5 เท่าเช่นกัน
ดังนั้น เพื่อบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่าลืมศึกษาและพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมกับอัตราทด หรือ Effective Gearing ด้วย
3. ค่าการเปลี่ยนแปลง (Sensitivity)
ค่าการเปลี่ยนแปลง หรือ Sensitivity เป็นตัวช่วยสำคัญในการวางแผนเทรด DW เลยก็ว่าได้ โดยค่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะบอกถึงราคา DW ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อราคาหุ้นรายตัว หรือ ดัชนีอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง 1 ช่วงราคา (ช่อง)
ตัวอย่างเช่น
หาก DW ที่สนใจมีค่า Sensitivity เท่ากับ 2 เมื่อราคาหุ้นหรือดัชนีเปลี่ยนแปลงไป 1 ช่อง (หรือ 1 จุดกรณีเป็นดัชนี) ก็จะทำให้ราคา DW เปลี่ยนไป 2 ช่อง แต่หาก DW มีค่า Sensitivity ใกล้ 1 ก็จะทำให้เทียบ ราคาหุ้นหรือดัชนีอ้างอิง กับ ราคา DW ที่เปลี่ยนแปลงไปได้แบบช่องต่อช่อง
ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่จึงเลือกเทรด DW ที่มีค่า Sensitivity ใกล้ 1 เพื่อทำให้สามารถวางแผนลงทุนและปรับกลยุทธ์รับความเสี่ยงได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ ราคาของหุ้นและดัชนีอ้างอิงก็จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับค่าความอ่อนไหว ดังนี้
- หากค่า Sensitivity เป็นบวก
- ราคาของหุ้นและดัชนีอ้างอิงก็จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับราคา DW
- หากค่า Sensitivity เป็นลบ
- ราคาของหุ้นและดัชนีอ้างอิงก็จะเคลื่อนไหวสวนทางกันกับราคา DW
อย่างไรก็ดี ค่า Sensitivity นั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามราคาหุ้นหรือดัชนีอ้างอิง เช่น หาก Put DW ปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่ตลาดขาลง ค่า Sensitivity ก็จะปรับตัวสูงขึ้น หรือ หาก Call DW ปรับตัวลดลงในขณะตลาดขาลง ค่า Sensitivity ก็จะปรับตัวลดลงเช่นกัน
4. ค่าเสื่อมเวลา (Time Decay)
นักลงทุนบางส่วนสับสนว่า การลงทุน DW กับหุ้นเป็นการลงทุนชนิดเดียวกัน จึงทำให้หลายคนเลือกเก็บ DW ไว้นานเหมือนกับหุ้น จนสุดท้ายลืมขายและพลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ถึงจะมีการอ้างอิงราคาจากหุ้นหรือดัชนี แต่การเทรด DW ก็มาพร้อมกับค่าเสื่อมเวลา หรือ Time Decay ที่ทำให้ถือนานแบบหุ้นไม่ได้ เนื่องจากค่าเสื่อมเวลานี้จะส่งผลให้ราคาของ DW ลดลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป
โดยปกติแล้ว ค่าเสื่อมเวลาจะแสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์ราคาที่ลดลงใน 1 วัน ดังนั้น เพื่อบริหารความเสี่ยงและวางแผนสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักลงทุนควรเลือกเทรด DW ที่มีค่า Time Decay ต่ำ เพื่อหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น แต่อย่าลืมติดตามราคาของหุ้นและดัชนีอ้างอิงอย่างใกล้ชิดเพื่อพิจารณาความผันผวนและหากลยุทธ์รับมือด้วย
5. ความน่าเชื่อถือของ Market Maker
นักลงทุนมือใหม่หลายคนอาจเข้าใจว่า การเทรด DW กับผู้ออก หรือ Market Maker เจ้าไหน ๆ ก็เหมือนกัน เพราะสุดท้ายก็ทำการซื้อขายได้อยู่ดี แต่แท้ที่จริงแล้ว Market Maker นี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการลงทุน DW เลยก็ว่าได้ เพราะ Market Maker นี้จะเป็นทั้งผู้รักษาสมดุลปริมาณ DW เพื่อป้องกันความผันผวนที่ยากจะรับมืออย่าง “ราคาลอย” หรือภาวะที่ DW เป็นที่ต้องการของตลาดจนควบคุมราคาไม่ได้
นอกจากนี้ ผู้ออก DW แต่ละเจ้ายังมาพร้อมเงื่อนไข นโยบายในการดูแลสภาพคล่อง รวมถึง DW ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผู้ออกบางค่ายอาจมี Time Decay ที่สูงและอัตราทดที่สูงเพื่อเน้นการลงทุนระยะสั้น แต่ผู้ออกบางเจ้าอาจออก DW ที่สามารถถือครองในระยะยาว ทำให้ตอบโจทย์สไตล์การลงทุนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เพื่อเลือก DW ให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด อย่าลืมเช็กสไตล์ DW ของผู้ออกแต่ละค่ายเพื่อวางแผนลงทุนและรับมือความเสี่ยงให้ดีด้วย
จะเห็นได้ว่า การวางแผนเพื่อบริหารความเสี่ยงในการเทรด DW นั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพียงเข้าใจปัจจัยพื้นฐานอย่างถูกต้องก็พร้อมลุยสนาม DW ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากใครต้องการเพิ่มโอกาสในการลงทุนไปอีกขั้น ผู้ออก DW อย่าง Finansia Syrus ก็พร้อมตอบโจทย์นักลงทุนทุกคนด้วย DW24 ที่มาพร้อม Effective Gearing ที่สูง Time decay เป็นมิตรต่อนักลงทุน พร้อมมีการออกแบบสเปคให้เหมาะสมกับนักลงทุนที่ชอบโลดแล่นอยู่ในตลาด SET50 DW โดยเฉพาะ
Post Views: 1,829