ราคา DW เกิดขึ้นมาได้อย่างไร หาคำตอบกันได้ที่นี้

6 ตัวแปรที่กำหนดราคา DW
ในตลาดหุ้นทั่วไปผู้กำหนดราคาเสนอซื้อเสนอขายก็จะมาจากนักลงทุนในตลาดด้วยกันเองตามสภาวะ Demand Supply ของตลาดเพื่อให้ราคาเป็นไปตามความเหมาะสมในช่วงนั้นๆ แต่สำหรับ DW แล้วการกำหนดราคา รวมทั้งคุณสมบัติต่างๆของ DW ที่เราเรียกรวมๆกันว่า Feature เช่น Effective Gearing, Sensitivity หรือ Time Decay นั้นล้วนแล้วแต่ผ่านการคำนวณในสมการที่ประกอบไปด้วย 6 ตัวแปรเหล่านี้
- Underlying Price: ราคาหลักทรัพย์อ้างอิง
ความหมายของข้อนี้ชัดเจนอยู่แล้วนั่นคือราคาของหลักทรัพย์อ้างอิงที่ DW นั้นอ้างอิงอยู่ ซึ่งแน่นอนถ้าเป็น Call DW เมื่อราคาหลักทรัพย์อ้างอิงสูงขึ้น ราคา Call DW ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ Put DW นั่นเอง
- Strike Price: ราคาใช้สิทธิ
ตัวแปรนี้จะมีผลโดยตรงกับนักลงทุนเมื่อถึงวันหมดอายุของ DW ที่จะต้องไปทำการคำนวณเงินสดส่วนต่าง ซึ่ง Strike Price จะมีผลต่อค่า Effective Gearing ของ DW โดย Strike Price ขึ้นอยู่กับผู้ออกแต่ละค่ายว่าจะมีกลยุทธ์แบบใด ถ้ากำหนดให้ Strike Price ไกลจากราคาปัจจุบันของหลักทรัพย์อ้างอิงมากๆ แสดงว่าผู้ออกกำลังเน้นให้ DW Series เป็นสายเก็งกำไร ที่มี Effective Gearing สูงๆ แต่ก็ต้องแลกมากับการที่ Feature ของ DW Series นี้จะมีโอกาสที่จะแย่ลงเมื่อ DW ใกล้หมดอายุนั่นเอง
- Risk Free Rate: อัตราดอกเบี้ย
เป็นดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับ DW แต่ตัวเลขนี้ผู้ออกแต่ละค่ายใส่ไม่เท่ากันนะครับขึ้นอยู่กับผู้ออกจะเลือกอ้างอิงนั่นเอง ซึ่งอาจเป็นดอกเบี้ยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ หรืออาจใช้ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลก็ได้
- Dividend Yield: อัตราเงินปันผล
โดยปกติแล้วผู้ออกน่าจะใส่เป็น 0 แทบทั้งหมด หมายถึงไม่มีผลกระทบต่อราคาของ DW ในจุดที่เริ่มซื้อขาย ส่วนในระหว่างที่ DW นั้นซื้อขายอยู่ ผู้ออกสามารถปรับสิทธิ์ DW ได้ตามกรณีที่ได้ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธินั่นเอง สามารถศึกษาเรื่อง XD บน DW เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2VkT44v
- Time to Maturity: อายุของ DW
อายุของ DW ที่ลดน้อยลงส่งผลกระทบใน Feature ของ DW นั้นแย่ลงไปด้วยเช่นกัน เช่น
- ราคาของ DW: ยิ่งอายุของ DW เหลือน้อยลง ก็ยิ่งทำให้ค่า Time Value ลดลงตามไปด้วย ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ราคา DW นั้นลดลงนั่นเอง
- ค่า Sensitivity: หากราคาหลักทรัพย์อ้างอิงอยู่กับที่ ไม่ขยับไปไหนเลย เป็นระยะเวลานานๆ ทำให้อายุของ DW นั้นเหลือน้อยลง ค่า Sensitivity ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
- ค่า Effective Gearing: หากราคาหลักทรัพย์อ้างอิงอยู่กับที่ ไม่ขยับไปไหนเลย เป็นระยะเวลานานๆ ทำให้อายุของ DW นั้นเหลือน้อยลง ค่า Effective Gearing ก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
- Volatility: ความผันผวน
ค่า Volatility นี้ เกิดจากความผันผวนของหลักทรัพย์อ้างอิงแต่ละตัวที่ไม่เท่ากัน ในทางปฏิบัติแล้วเราจะไม่สามารถทราบค่าความผันผวนล่วงหน้าได้ ดังนั้นผู้ออกจึงนิยมใช้ความผันผวนแฝง (Implied Volatility) ซึ่งแปลออกมาในเชิงตัวเลขก็คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของราคาหลักทรัพย์อ้างอิงในอดีตช่วงหนึ่ง (Historical Volatility) โดยแทนค่าให้อยู่ในรูป %ต่อปี โดยผู้ออกแต่ละค่ายก็จะมีการกำหนดค่า Implied Volatility นี้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการป้องกันความเสี่ยงของค่ายนั้นๆ ซึ่งผู้เล่นเก็งกำไรสามารถเช็คได้ว่า DW ตัวไหนคุ้มค่ากว่า โดยการดูค่านี้นั้นเอง แต่การจะดูจุดนี้ต้องอย่าลืมว่าต้องเทียบกับ หุ้นอ้างอิงตัวเดียวกัน และ ซีรีย์วันหมดอายุเดียวกัน จึงจะเปรียบเทียบกันได้ สามารถศึกษาเรื่อง Implied Volatility เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2XLHf9b
จากตัวแปรทั้ง 6 ตัวนี้เองที่ผู้ออกเอามาเข้าสมการแล้วได้ออกมาเป็นราคา DW นั่นเอง ใครอยากของทำราคา Option แบบนี้สามารถเข้าไปลองได้ที่ https://bit.ly/2VKYeFJ แต่คำนวณออกมาแล้วอาจจะตกใจนิดๆเพราะว่าจะได้ราคาที่สูงกว่าที่ผู้ออกขายอยู่มาก เนื่องจากผู้ออกมีการใส่ Conversion Ratio มาช่วยให้ราคานั้นถูกลงและเทรดได้สนุกขึ้น หากใครหาตัวเลขได้แล้วลองเอาไปเทียบกับ DW ตัวใดตัวหนึ่งในตลาดโดยเอา Conversion Ratio (DW/UL) มาหารดู จะได้ตัวเลขใกล้เคียงกับที่ผู้ออกเสนอขายอยู่นั่นเอง ใครอ่านมาถึงตรงนี้คงจะพอเข้าใจการกำหนดราคา DW กันพอสมควรแล้ว สามารถเช็คราคา DW แต่ละตัวกันได้ที่ http://www.dwarrant24.com/search
หากชอบบทความนี้สามารถแชร์ไปให้เพื่อนๆนักลงทุนอ่านได้เลยน้า และ DW24 ยังมีบทความดีๆแบบนี้ต่อเนื่อง สามารถติดตามข่าวสารดีๆจาก DW24 ได้ที่
Website: www.dwarrant24.com
Line: @DW24 >> https://lin.ee/zGyIRGe
Facebook : Dwarrant24 >> https://www.facebook.com/Dwarrant24/
Intragram : dwarrant24 >>https://www.instagram.com/dwarrant24/?hl=th
กลุ่ม Open Chat DW24 >> https://line.me/ti/g2/mMMCqkLA8jf1I-bwKAwIbw
Post Views: 4,892