fbpx

Jane Tips ตอนที่ 2 Buy on breakout และ Buy on dip ทำอย่างไร

February 22, 2019

 

          ใครเคยเป็นบางคะ ซื้อค่อมจังหวะ ไม่เชิงตกรถแต่แค่ขึ้นมาทีหลัง ก็จะรู้สึกอัดอัดบ้างเล็กน้อย เพราะคนในรถเยอะแล้วววว!! จากนั้นมันก็จะมีคนที่อยากขอลงก่อน เพราะบางทีไม่รู้ว่าย่อลงมาแล้ว จะย่ออีก หรือจะ Rebound กลับคืนมาปัญหาในแนวทางนี้เจนขอแนะนำวิธีทางแก้ไขโดยแบ่งออกเป็น 2 วิธีที่แก้ไขคือซื้อแบบ Buy on breakout และ Buy on dip

 

          เทคนิคนี้ทั้งโค้ชทั้งกูรู นักวิเคราะห์ เทรดเดอร์หน้าใหม่ หน้าเก่า แนะนำกันมากมาย เพราะต่างให้ความเชื่อมั่นว่า การซื้อหุ้นที่ทะลุแนวต้านที่มาพร้อมวอลุ่มสนับสนุน (หลังจากมีการเก็บวอลุ่มหุ้นไว้พอสมควร หุ้น Sideway นานๆ) หุ้นมักจะวิ่งไปต่อและไปได้ไกล ประกอบกับมักจะมีพื้นฐานเปลี่ยน มีข่าวดี มีปัจจัยเด่นของหุ้นนั้นๆ เข้ามาสนับสนุน หรือแม้แต่การออกข่าวเพื่อเรียกแขก ก็มีครบถ้วน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือ การดูพื้นฐานดูนิสัยของหุ้นตัวนั้นด้วย เพราะบางตัวเบรกแนวต้านจริง วิ่งจริง แต่วิ่งไปไม่นาน แล้วร่วงลงทันที หรืออย่างลักษณะนิสัยหุ้นใหญ่ๆ ก็จะวิ่งขึ้นไปแล้ว ย่อกลับลงมาเทสที่แนวต้านเดิมว่า รับอยู่จริงหรือไม่ที่เรียกว่า Throwback ก่อนจะวิ่งไปทดสอบแนวต้านถัดไป อย่าลืมว่า หุ้นไม่ได้วิ่งขั้นเป็นเส้นตรง จะวิ่งขึ้นและลงเสมอ เพราะหุ้นขาขึ้นคนได้กำไร ยังไงก็มีคนขายระหว่างทางเสมอ

          ส่วนการซื้อหุ้นด้วยการ Buy on Dip เราต้องดูพื้นฐานหุ้นตัวนั้นให้ดีก่อน เพราะแนวรับที่เราจะซื้อหุ้นนั้นต้องมีความแข็งแรงในอดีต ที่นักลงทุนนักเก็งกำไรประเมินแล้วว่า น่าเสี่ยงที่จะซื้อที่แนวรับ ประกอบกับมีแรงขายหุ้นลดลง ก็จึงค่อยเข้าซื้อ แต่การซื้อแบบ Buy on Dip ไม่ได้แปลว่า ซื้อแล้วจะเด้งทำกำไรได้ทันที อาจจะต้องรอวันสองวัน หรืออาจจะเป็นสัปดาห์ก็ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากการ Buy on Breakout ที่เป็นอาการ Panic ตื่นตกใจ เช่น สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีประเด็นเรื่องการเมือง เรื่องภัยพิบัติตามธรรมชาติ ไม่ได้มีผลกระทบกับหุ้นโดยตรง แบบนี้ซื้อสวนในจังหวะดีๆ ก็สามารถทำกำไรระหว่างวันได้ทันที แต่การ Buy on Dip หากซื้อในหุ้นขนาดเล็กจะมีความเสี่ยงสูง เพราะปกติจะลงแรงและเด้งแรง และการประเมินกิจการของหุ้นตัวนั้นค่อนข้างทำได้ยากกว่า บางทีแนวรับที่แข็งแกร่งในอดีตอาจจะรับไม่ไหวทะลุลงไปง่ายๆ เลยก็ได้

          สำหรับเจนแล้ว หลายคนที่กลัวการ buy on breakout หรือ buy on dip เพราะว่าไม่มั่นใจฝีมือการอ่านกราฟ ไม่แน่ใจว่าจุดเข้าที่เราจะเข้านั้นถูกต้องหรือไม่ ในบางครั้งจุดที่เคาะไม้แรกอาจคร่อมจังหวะ แต่ factor พวกนั้นไม่ได้แปลว่าเราจะเทรดผิดนะคะ ดีไม่ดีกลายเป็นจุดได้เปรียบก็เป็นได้ แต่เราต้องประเมินทิศทางดัชนีที่ซื้อให้ออกก่อนว่าตอนนี้อยู่สถานะใด ไม่ว่าตลาด SET หรือว่าตลาด TFEX สิ่งสำคัญในการเทรดคือเรื่องของ macroeconomic  กล่าวคือ Factor รอบตัวของเรา เพราะหุ้นพื้นฐานเหมือนเดิม แต่สภาวะตลาดใหญ่ผันผวนหุ้นดีไม่สามารถขึ้นได้ เนื่องจากเจอภาพใหญ่ของตลาดกดเอาไว้

สรุป

          ทั้งสองวิธีก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย การซื้อแบบ buy on breakout ข้อดีคือได้ต้นทุนที่อาจจะดีสุด หุ้นวิ่งไวสุด แต่ข้อเสียคือมันอาจย่อนาน ส่วนการซื้อแบบ buy on dip แน่นอนว่าได้ต้นทุนที่ต่ำ แต่ต้นทุนที่ต่ำก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่ราคาจะลงต่อได้ และราคาหุ้นก็อาจพักตัวนานหลายเดือน

หวังว่าบทความนี้น่าจะสร้างความมั่นใจและสร้างวิธีการเทรดกับนักลงทุนไม่มากก็น้อยนะคะ ใน EP. หน้าเจนจะเอาอะไรมาฝากต้องติดตามต่อนะคะ อย่าลืมนะคะสนใจมาร่วม DW24 Academy กับพวกเรา >> คลิก <<

Jane Tips! ตอนที่ 1 อ่านได้ที่นี่เลย >> Click <<