Derivative Warrant หรือ DW คือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือหลักทรัพย์ที่ราคาซื้อขายเปลี่ยนไปตามหลักทรัพย์ที่ DW นั้นไปอ้างอิงอยู่ ซึ่งหลักทรัพย์อ้างอิงจะถูกกำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์และกลต. นั่นเอง และหลักทรัพย์อ้างอิงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันจะมี หุ้นรายตัว หรือคำที่ใช้เรียกติดปากนักลงทุนคือ “หุ้นแม่” รองลงมาเป็นดัชนีหลักทรัพย์ SET50 และดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศ เป็นต้น
DW มีกี่ประเภท?
DW แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ
1. Call DW หรือสิทธิในการซื้อ โดย DW ประเภทนี้จะมีราคา DW ที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับหุ้นแม่
2. Put DW หรือสิทธิในการขาย โดย DW ประเภทนี้จะมีราคา DW ที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับหุ้นแม่

Tips: จากการที่ DW มีทั้ง Call และ Put จะเห็นว่าการลงทุนใน DW จึงสามารถสร้างโอกาสทำกำไรได้ทั้งหุ้นขาขึ้น และขาลง โดยวางกลยุทธ์ มองหุ้นขึ้น ซื้อ Call DW มองหุ้นลง ซื้อ Put DW |
ลงทุนใน DW แตกต่างอย่างไรกับการลงทุนในหุ้นโดยตรง?
การลงทุนใน DW จะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นโดยตรง ทำให้นักลงทุนสามารถประหยัดเงินลงทุนลงได้ อีกทั้ง DW มีตัวคูณผลตอบแทน (Gearing) ซึ่งง่ายต่อการทำ Money Management รวมถึงการที่ใช้เงินลงทุนน้อยกว่านี่เอง ทำให้สามารถเพิ่มโอกาสทำกำไรได้มากกว่า แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่าง DW กับหุ้นรายตัว ก็คือ DW จะมีวันหมดอายุ และค่าเสื่อมเวลา (Time Decay) ทำให้ DW อาจไม่เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาติดตามพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
รู้ได้อย่างไรว่าหุ้นตัวไหนคือ DW ?
ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกับชื่อของ DW กันก่อน โดยประกอบด้วย 5 ส่วนด้วยกัน เช่น

ส่วนที่ 1 : “XYZT” หมายถึง DW รุ่นนี้อ้างอิงบนหุ้น XYZT (จะนำอักษร 6 ตัวแรกสุดของหุ้นอ้างอิงมาใช้)
ส่วนที่ 2 : “24” หมายถึง เลขผู้ออก ในที่นี้คือ DW จาก ค่าย 24 หรือ DW ออกโดย บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
ส่วนที่ 3 : “C” หมายถึง DW รุ่นนี้เป็น Call DW หรือ “P” หมายถึง DW รุ่นนี้เป็น Put DW
ส่วนที่ 4 : เลข 2 ตัวแรกได้แก่ “23” หมายถึง DW รุ่นนี้หมดอายุในปีค.ศ. 2023 เลข 2 ตัวถัดไป “12” หมายถึง DW รุ่นนี้สามารถซื้อขายได้ถึงเดือน 12 หรือเดือนธันวาคม
ส่วนที่ 5 : “A” หมายถึง รุ่นของ DW ซึ่งผู้ออกจะเป็นผู้กำหนด
ความเสี่ยงในการเทรด DW ที่ควรระวังมีอะไรบ้าง?
องค์ประกอบของ DW จะมี อัตราทด (Gearing) และ วันหมดอายุ ทำให้เกิดความเสี่ยงได้ดังนี้
1. อัตราทด (Gearing) ทำให้ผลตอบแทนมีความผันผวนสูงกว่าการลงทุนในหุ้นปกติ จึงมีโอกาสกำไรและขาดทุนได้มากกว่าหุ้นทั่วไป
2. วันหมดอายุ จะเป็นปัจจัยในการกำหนดระยะเวลาในการลงทุน DW ทำให้เกิดความเสี่ยงในการถือครอง DW ระยะยาว หรือ DW ไม่สามารถถือครองได้ระยะเวลาเป็นปีเหมือนหุ้นทั่วไป
เทรด DW จำเป็นต้องดูตารางราคา
หลังจากที่เราจะได้รู้แล้วว่า DW คืออะไรและดูความหมายต่างๆของชื่อไปแล้วสิ่งที่เราควรทราบอีกหนึ่งอย่างก็คือ เทรด DW จำเป็นต้องดูตารางราคาเพื่อที่จะสามารถวางแผนเทรด DW โดยตารางราคานั้นจะมีทั้งราคาหุ้นอ้างอิงและราคา DW เทียบกันให้เห็นตามวันเพื่อที่จะได้วางแผนจุดเข้าซื้อพร้อมกับวางแผนจุดขายทำกำไรได้พร้อมกันไม่ต้องเสียเวลาในการเปรียบเทียบกันในกระดานเทรด
ตัวอย่างตารางราคา DW

จากภาพจะเห็นได้ว่าตารางราคาจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ราคาหุ้นอ้างอิง และราคา DW นักลงทุนสามารถวางแผนการเทรด DW กันได้ข้ามสัปดาห์ พร้อมทั้งเห็นว่าเมื่อราคาหุ้นแม่ขยับขึ้นลงแล้วราคา DW จะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด
ใครสามารถออก DW มาขายในตลาดหลักทรัพย์ได้?
ถึงแม้ว่ากลต. กำหนดให้สถาบันการเงินอื่นบางสถาบัน ที่ไม่ใช่บริษัทหลักทรัพย์ สามารถออกเสนอขาย DW ได้ แต่ผู้ออก DW ในปัจจุบันมีเพียงบริษัทหลักทรัพย์ 12 แห่งเท่านั้น ความแตกต่างของแต่ละผู้ออกก็จะมีหลากหลายประการ เช่น แนวทางการทำการตลาด การออกแบบสเปค DW ความครอบคลุมของหลักทรัพย์อ้างอิง เป็นต้น ส่วน DW24 จากบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ออก DW ที่ให้บริการนักลงทุนอย่างต่อเนื่องหลายปีมาแล้วเช่นกัน ปัจจุบัน DW24 เน้นการออกแบบสเปคให้ตอบโจทย์นักลงทุนให้ได้มากที่สุด และมีเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนซึ่งสามารถเปรียบเทียบสเปค DW ทุกค่ายแบบครบจบในเว็บเดียว ผ่านทาง www.dwarrant24.com
แต่ถ้าใครอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมแบบเจาะลึกสามารถอ่านได้ที่นี่เลย 👉 https://www.dwarrant24.com/pages/view/knowledge
Post Views: 4,461