DW (Derivative Warrants) หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เป็นเครื่องมือการลงทุนชนิดหนึ่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและมีผู้ออก DW หรือ Market Maker เป็นผู้ควบคุมปริมาณ Bid – Offer ให้นักลงทุนซื้อขายได้ในราคาที่เหมาะสม โดยที่ DW มีลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาที่อ้างอิงตามหุ้นแม่และสามารถเลือกทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรในระยะสั้นหรือป้องกันความเสี่ยงจากตลาดขาลง แต่ด้วยความที่มีผู้ออก DW มากมายหลายค่ายให้นักลงทุนเลือก อย่างนี้แล้ว คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าควรเลือกซื้อขายกับ DW ค่ายไหนดีถึงตรงตามความต้องการที่สุด เราไปดูเคล็ดลับกันเลย

ลงทุนทั้งที เลือก DW ค่ายไหนดี?
1. เลือกผู้ออก DW ที่มีระบบที่ไว
เนื่องจากตลาดหุ้นมีความผันผวนในแต่ละวันมากน้อยไม่เท่ากัน และ DW เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการเก็งกำไรระยะสั้น ระบบที่รวดเร็วจึงมีความสำคัญมากเพื่อที่ผู้ออก DW จะสามารถแสดงราคาและคำนวณการวาง Bid – Offer ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุนในขณะนั้นได้ ดังนั้น หากใครยังไม่รู้จะเลือกเทรด DW กับโบรกไหนดี แนะนำว่าควรเลือกผู้ออกที่ลงทุนกับการพัฒนาระบบให้มีความเสถียร และ match order ได้ไว เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ได้ของไม่ครบแต่ราคาขยับขึ้นไปแล้วจนเสียโอกาสในการเก็งกำไร
2. ซื้อขายกับค่ายที่ราคาขยับตรงตามตาราง
ผู้ออก DW ที่ดีควรมีตารางราคาแสดงไว้บนเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้นักลงทุนเข้าไปตรวจสอบ เปรียบเทียบ และอัปเดตข้อมูล DW ได้สะดวก ป้องกันการซื้อขายในราคาที่ไม่ตรงกัน
โดยราคาที่แสดงในหน้าซื้อ-ขายจะต้องขยับตรงตามตารางราคา เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าข้อมูลนั้นถูกต้องและอัปเดตล่าสุดเสมอ
3. เลือกผู้ออก DW ที่คิดค่า Time Decay ต่อวันถูกกว่า
ปกติแล้วการคิดค่า Time Decay ทางผู้ออกจะคำนวนรวมทั้งสัปดาห์และหารจำนวนวันในสัปดาห์ ดังนั้นสามารถคิดทุกวัน หรือคิดเฉพาะวันทำการก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละแห่ง ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน คือ
- กรณีคิดค่า Time Decay เฉพาะวันทำการ ค่า Time Decay ต่อวันจะแพงกว่า เนื่องจากไม่ได้ถัวเฉลี่ยตลอด 7 วัน
- กรณีที่คิดค่า Time Decay ครบทั้ง 7 วันต่อสัปดาห์จะช่วยให้ค่า Time Decay ต่อวันถูกลง เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรระยะสั้นแบบไม่ข้ามสัปดาห์
ดังนั้น หากนักลงทุนยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อขาย DW กับโบรกไหนดี การเลือกเทรดกับผู้ออกที่คิดค่า Time Decay ทุกวันก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดต้นทุนการถือข้ามวันได้
4. มี DW หลายซีรีส์ให้เลือกซื้อขาย
นักลงทุนแต่ละคนมีสไตล์การลงทุนไม่เหมือนกัน ผู้ออก DW จึงควรออกซีรีส์ต่าง ๆ มารองรับแนวทางในการเทรดและสภาพความผันผวนของตลาดที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ควรมีให้เลือกทั้งซีรีส์ที่มีค่า Time Decay ต่ำเพื่อตอบโจทย์นักลงทุนที่ต้องการเกาะแนวโน้มตลาดนาน ๆ โดยเสียค่าเสื่อมเวลาให้น้อยที่สุด หรือ ซีรีส์ที่เน้น Gearing สูงเพื่อนักลงทุนที่ต้องการโฟกัสที่ผลตอบแทนในระยะสั้น 2-3 วัน

รายชื่อผู้ออก DW มีบริษัทใดบ้าง?
หากนักลงทุนต้องการทราบว่าหุ้นอ้างอิงของ DW มีอะไรบ้าง สามารถดูได้จากหุ้นแม่ที่ลิสต์รายชื่ออยู่ในดัชนี SET50 และ SET100 จากนั้นจึงตรวจสอบ DW ที่ออกโดยผู้ออกจากบริษัทต่าง ๆ ได้ โดยบริษัทที่เป็นผู้ออก DW ในประเทศไทยมีดังนี้
- DW01 จากบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) (ตัวย่อ BLS)
- DW06 จากบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (ตัวย่อ KKPS)
- DW08 จากบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (ตัวย่อ ASPS)
- DW11 จากบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (ตัวย่อ KS)
- DW13 จากบริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ตัวย่อ KGI)
- DW16 จากบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) (ตัวย่อ TNS)
- DW19 จากบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด (ตัวย่อ YUANTA)
- DW24 จากบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) (ตัวย่อ FSS)
- DW28 จากบริษัทหลักทรัพย์ แมคควอรี (ประเทศไทย) จำกัด (ตัวย่อ MACQ)
- DW41 จากบริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด (ตัวย่อ JPM)
- DW42 จากบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ตัวย่อ MST)
นักลงทุนท่านใดสนใจลงทุนใน DW อ้างอิงหุ้นรายตัว หรือ SET50 DW สเปคดี มีซีรีส์ให้เลือกเหมาะสมกับสไตล์การลงทุน แต่ยังไม่รู้จะเลือก DW ค่ายไหนดี สามารถมอง DW24 ไว้เป็นทางเลือกได้เลย นอกจากนี้ เรายังมีเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย และบทความสาระน่ารู้ดี ๆ เกี่ยวกับ DW เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนให้กับคุณ
Post Views: 2,853