fbpx

ครบจบ! ทุกความเสี่ยงของการเทรด DW ที่นักลงทุนต้องรู้

June 2, 2023

แม้ทุกการลงทุนจะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการ แต่นักลงทุนทั้งมือใหม่และมากประสบการณ์ต่างลงความเห็นว่า การเทรด DW จัดเป็นหนึ่งในการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งยังมีรายละเอียดเฉพาะตัวที่ต้องคิดและวิเคราะห์เฉพาะหน้าในขณะที่กำลังซื้อขายด้วย อย่างไรก็ดี ถึงแม้การเทรด DW จะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูง แต่นักลงทุนก็สามารถบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพได้ เพียงทำความเข้าใจกับทุกปัจจัยเสี่ยงของ DW และรู้จักวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นในการเทรด DW เบื้องต้นที่นำมาฝากในวันนี้

เทรด DW เสี่ยงแค่ไหน

4 ความเสี่ยงในการเทรด DW

นักลงทุนมากมายต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า DW เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่สำหรับนักลงทุนมือใหม่แล้ว อาจจะสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า การลงทุน DW นั้นจะมีความเสี่ยงได้ถึงแค่ไหน และมีปัจจัยใดที่สร้างความเสี่ยงให้กับการเทรด DW บ้าง ดังนั้น หากใครที่รู้จักแล้วว่า DW คืออะไร มีกี่ประเภท ตลอดจนทราบถึงการดูตารางราคาและสถานะต่าง ๆ ของ DW แล้ว แต่ยังไม่รู้ถึงความเสี่ยงของการลงทุน ลองมาทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 5 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุน DW มีความเสี่ยงสูงกันหน่อย เพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1. การเคลื่อนไหวของ DW

นอกจากจะช่วยให้นักลงทุนบริหารความเสี่ยงในช่วงตลาดขาขึ้นผ่าน Call DW และช่วงตลาดขาลงผ่าน Put DW แล้ว การเทรด DW ยังมีความเฉพาะตัวในเรื่องของการเคลื่อนไหวราคา ซึ่งถือเป็นปัจจัยแรก ๆ ที่ทำให้การลงทุน DW มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบได้หากมีการเลือกไม่เหมาะสม

แม้ DW แต่ละตัวจะมีการอ้างอิงราคากับสินทรัพย์อ้างอิงอย่าง “หุ้น” หรือ “ดัชนี” อีกทั้งยังมีค่า Sensitivity ที่คอยช่วยจับจังหวะลงทุนได้

2. ความผันผวนของสินทรัพย์อ้างอิง

หลายคนได้รู้จักแล้วว่า DW นั้นเป็นการลงทุนที่จะมีการอ้างอิงราคากับหุ้นและดัชนีทั้งจากไทยและต่างประเทศ โดยทั่วไปแล้ว ทั้งหุ้นและดัชนีเองก็จัดเป็นการลงทุนที่มาพร้อมกับความเสี่ยงรอบด้าน ทั้งจากสภาวะตลาด เศรษฐกิจ การเมือง และเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทำให้การลงทุนอย่างหุ้นและดัชนีมีความผันผวนค่อนข้างสูง ซึ่ง DWสามารถเลือกลงทุน Call DW และ Put DW ได้ แต่นักลงทุนอาจต้องแบกรับความผันผวนทางราคาและความเสี่ยงในลักษณะเดียวกับสินทรัพย์อ้างอิง

3. อัตราทด

อัตราทด หรือ Effective Gearing เปรียบเสมือนดาบสองคมสำหรับการลงทุน DW เนื่องจากอัตราทดนี้สามารถเป็นได้ทั้งตัวคูณกำไรและการขาดทุน 

ในจุดนี้ แม้จะไม่มีคำตอบตายตัวว่าควรเลือกเทรด DW ที่อัตราทดเท่าไหร่ แต่จากข้อมูลทางสถิติย้อนหลังพบว่า หากเป็น DW อ้างอิงหุ้นรายตัว นักลงทุนมักเลือกลงทุนใน DW ที่มีอัตราทดที่ 3 – 7 เท่า หากเป็น DW ที่อ้างอิงกับดัชนี นักลงทุนส่วนใหญ่มักเลือกลงทุนใน DW ที่มีอัตราทดมากกว่า 7 เท่า 

อย่างไรก็ดี การเลือกอัตราทดนี้ควรคำนึงเป้าหมายทางการลงทุนที่ต้องการ ซึ่งจะสอดคล้องไปกับความเสี่ยงที่รับไหว ไปจนถึงประสบการณ์ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ทิศทางของหุ้นและดัชนีอ้างอิง

4. เวลา

DW เป็นหนึ่งในการลงทุนที่มีต้นทุนด้านเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจาก DW มีสิ่งที่เรียกว่า “ค่าเสื่อมเวลา” หรือ Time Decay ที่ทำให้มูลค่าของ DW ลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป 

โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการถือครอง DW ที่มี Time Decay สูงเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจมีปัจจัยเสี่ยงด้านราคาที่เคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับสินทรัพย์อ้างอิง หรือ DW อาจมีราคาลดลงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถขายเพื่อสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพได้

ดังนั้นการเลือก DW ที่มี Time decay ต่ำก็เป็นส่วนช่วยให้ความเสี่ยงลดต่ำลงได้เช่นกัน

บริหารความเสี่ยงจากการเทรด DW อย่างไร

5 วิธีบริหารความเสี่ยงการเทรด DW เบื้องต้น

แม้จะมีหลากหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา แต่นักลงทุนยังสามารถวางแผนบริหารความเสี่ยงจากการเทรด DW แบบเบื้องต้นได้ด้วย 5 วิธี ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายการลงทุนก่อน

ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายแบบใด แต่การกำหนดเป้าหมายก่อนเทรด DW ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนเลือกลงทุนใน DW ตัวที่เหมาะสมมากที่สุด ทั้งในด้านของความเสี่ยง เงินลงทุน รวมไปถึงเทคนิคในการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกลงทุนแบบ Day Trade ไปจนถึงแบบ Run Trend 

นอกจากนี้ การกำหนดเป้าหมายการลงทุนยังเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนลงทุน รวมถึงสร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้อีกด้วย

2. เข้าซื้อขายให้ถูกจังหวะ

นักลงทุนสามารถเทรด DW ได้ทั้งแบบ Call DW และ Put DW เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงทั้งในช่วงตลาดขึ้นและลง ซึ่งการเลือกซื้อขาย DW ทั้ง 2 ประเภทนี้จะต้องพิจารณาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ ควบคู่ไปกับการพิจารณาปัจจัยเฉพาะของ DW เช่น อัตราทด ค่าเสื่อมเวลา สถานะของ DW ไปจนถึงการเทียบตารางราคาซื้อขายที่มีประสิทธิภาพ

3. อย่าลืมตั้ง Stop Loss

Stop Loss หรือ จุดตัดการลงทุน เป็นคำสั่งที่นักลงทุนสามารถตั้งค่าให้หยุดการลงทุน DW เพื่อป้องกันการขาดทุนไปมากกว่าที่รับไหว เช่น เลือกตั้งจุดตัดการลงทุนที่ราคาต่ำสุดของการลงทุนรอบก่อน หรือจะตั้งค่าตามความผันผวนของ DW ไปจนถึงการเลือกจุดตัดการขาดทุนโดยการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์  นักลงทุนควรเลือกตั้งค่า Stop Loss ก่อนที่จะเริ่มต้นเทรด DW หรือแม้แต่ในช่วงที่ได้กำไร ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ดี เมื่อวิเคราะห์ตลาดจนมั่นใจว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็สามารถปรับการตั้งค่า Stop Loss ใหม่ได้

4. กระจายการเทรด DW

DW เป็นสินทรัพย์ที่มีการอ้างอิงราคากับหุ้นและดัชนีอ้างอิงมากมาย เลือกลงทุนได้ทั้งจากตลาดไทยและต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการกระจายการสร้างผลตอบแทนและบริหารความเสี่ยงที่มาจากตลาดใดตลาดหนึ่ง นักลงทุนจึงควรกระจายการลงทุน DW อย่างหลากหลาย

5. ติดตามข่าวสารรอบด้านอย่างใกล้ชิด

การลงทุน DW มีการอ้างอิงราคากับสินทรัพย์ ทั้งยังมีมูลค่าและความต้องการในตลาดที่เฉพาะตัว ดังนั้น นักลงทุนจึงควรติดตามข่าวสาร ทั้งเศรษฐกิจ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสินทรัพย์อ้างอิง ไปจนถึงการอัปเดตต่าง ๆ จากทางผู้ออก DW เพื่อเป็นการวางแผนการลงทุนและบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาเช่นกัน

จบลงไปแล้วกับทุกรายละเอียดเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเทรด DW หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกรายละเอียดที่นำมาฝากนี้จะช่วยให้นักลงทุนทั้งมือใหม่และมากประสบการณ์ได้วางแผนบริหารความเสี่ยงการลงทุน DW ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ต้องการได้ 

เมื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงและรู้จัก DW แบบครบถ้วนแล้ว ลองมาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ พร้อมสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพด้วยการเทรด DW จาก DW24 ที่ตอบโจทย์ทั้ง DW ที่มี Gearing สูงและ Time Decay ที่ลงตัวกับทุกเป้าหมายการลงทุน