fbpx

โครงสร้างราคา DW ที่นักลงทุนจะต้องรู้

March 3, 2023

นักลงทุนหลายคนที่เทรด DW อาจจะยังไม่ทราบว่าจริงๆแล้วราคาของ DW ประกอบไปด้วยอะไรบ้างแต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เราจะมาดูกันว่าโครงสร้างจริงๆ ของราคา DW มีอะไรบ้างเพื่อรู้เท่าทันการลงทุนใน DW

จุดเริ่มต้นราคา DW

ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าจริงๆ แล้ว DW นั้นเป็น Options ประเภทหนึ่งที่ราคา DW เกิดขึ้นจากสูตรคำนวณราคา Options ของ Black-Scholes model หลายคนอาจรู้สึกว่าสูตรที่ว่านี้คืออะไรเป็นการคำนวณง่ายๆ หรือไม่ ก่อนอื่นเราจะมาดูสูตรการคำนวณราคากันก่อน

สูตร backshore

c = ราคา Call option

p = ราคา Put option

X = ราคาใช้สิทธิของ options

r = อัตราดอกเบี้ยปราศจากความเสี่ยง

t = Time to Maturity

S = ราคาหุ้นอ้างอิงปัจจุบัน

σ = ค่าความผันผวนของราคาหุ้นอ้างอิง (Volatility)

q = อัตราเงินปันผลของสินค้าอ้างอิง (%)

นักลงทุนแค่เห็นสูตรคำนวณราคา DW ก็เริ่มท้อกันแล้วเพราะกว่าจะมาเป็นราคา DW ให้นักลงทุนเทรดกันต้องผ่านขั้นตอนการคำนวณมาอย่างมากมาย ดังนั้นเบื้องหลังกว่าจะมาเป็น DW 1 ตัวที่เราได้เทรดกันต้องบอกว่าไม่ง่ายเลย

โครงสร้างราคา DW

จากการสูตรคำนวณราคาของ DW ที่ได้เห็นก่อนหน้า นักลงทุนหลายคนอาจจะปิดบทความนี้ทิ้งกันไปแล้ว แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่นักลงทุนควรเข้าใจและเป็นสิ่งที่ไม่ยากในการดูเพื่อประกอบการเทรด DW นั้นก็คือ “โครงสร้างของราคา DW” โครงสร้างที่ว่านี้ประกอบกัน 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ มูลค่าที่แท้จริง และมูลค่าทางเวลา ก่อนอื่นเรามาดูกันว่ามูลค่าที่แท้จริงคืออะไร

มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) คือ ส่วนต่างของราคาหุ้น/ดัชนีอ้างอิงและราคาใช้สิทธิของ DW ซีรีส์นั้นๆ Call DW จะมีการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงดังนี้ (ราคาหุ้นอ้างอิง – ราคาใช้สิทธิ) X อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วย

Put DW จะมีการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงดังนี้ (ราคาใช้สิทธิ – ราคาหุ้นอ้างอิง) X อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วยโดยมูลค่าที่แท้จริงต่ำที่สุดที่จะเป็นไปได้คือ “0”

มูลค่าทางเวลา (Time Value) คือ ราคา DW หักลบกับ มูลค่าที่แท้จริง โดยที่มูลค่าทางเวลานั้นจะขึ้นอยู่กันระยะเวลาคงเหลือของ DW ยิ่งมีอายุคงเหลือมากมูลค่าทางเวลาก็จะมากตาม

โครงสร้างราคา DW

สถานะของ DW

เพื่อความง่ายในการดูมูลค่าที่แท้จริงของ DW จึงเกิดสถานะของ DW ขึ้น โดยที่สถานะของ DW มี 3 ประเภท

  1. In the Money (ITM) เป็นสถานะที่บอกว่า DW ซีรีส์นั้นมีมูลค่าที่แท้จริงอยู่
  2. At The Money (ATM) เป็นสถานะที่บอกว่ามูลค่าที่แท้จริงเป็น 0 เนื่องจากราคาใช้สิทธิกับราคาหุ้นอ้างอิงเท่ากัน
  3. Out of The Money (OTM) เป็นสถานะที่บอกว่า DW ซีรีส์นั้นมีมูลค่าที่แท้จริงเป็น 0 เนื่องจากราคาหุ้นอ้างอิงราคาต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ (สำหรับ Call DW) และ ราคาหุ้นอ้างอิงราคาสูงกว่าราคาใช้สิทธิ (สำหรับ Put DW)

ดังนั้นทางเลือกในการศึกษาข้อมูลประกอบการเทรดมีค่อนข้างมากเริ่มต้นจากที่มาของราคา DW ไปจนถึงโครงสร้างของราคา DW สุดท้ายวิธีการดูมูลค่าที่แท้จริงของ DW แบบรวดเร็วเพื่อตัดสินใจก่อนเริ่มเทรด DW อย่างไรก็ตามก่อนที่ตัดสินใจลงทุนใน DW นักลงทุนควรเปรียบเทียบสเปค DW รวมถึงการดูตารางราคา DW เพื่อวางแผนก่อนการเทรด DW ทุกครั้ง