fbpx

คลังความรู้ DW แบบถามมา-ตอบไป 10 คำถาม

May 19, 2023

ในการลงทุน ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม ถ้าหากหวังผลในการทำกำไร สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องศึกษาหาความรู้ให้กระจ่าง เพราะยิ่งมีความรู้มากเท่าไรก็ยิ่งได้เปรียบเท่านั้น การลงทุน DW เองก็ไม่มีข้อยกเว้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายังมีคนจำนวนไม่น้อยที่สนใจที่จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ แต่ยังไม่กระจ่างนักว่า DW คืออะไรกันแน่ รวมถึงอีกหลากหลายคำถามที่ยังสงสัย 

บทความนี้จึงจะมาตอบ 10 คำถามที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับ DW เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ DW เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลกำไรให้กับเหล่านักลงทุนยามที่เข้าสู่สนามเทรดจริง ติดตามได้เลย

DW คืออะไร

คำถามที่ 1: DW คืออะไร?

DW หรือ Derivative Warrant คือ ตราอนุพันธ์ที่ใช้แสดงสิทธิในอนุพันธ์ เป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET) โดยความแตกต่างประการสำคัญระหว่างหุ้นทั่วไปกับหุ้น DW คือ หุ้น DW ผู้ออกจะไม่ใช่บริษัทเจ้าของหุ้นอ้างอิงแต่เป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารที่ได้รับอนุญาตจากก.ล.ต.
ถึงแม้ DW คือการเพิ่มผลตอบแทนจากการเก็งกำไรตามทิศทางของหุ้นอ้างอิงในแง่ราคา ทว่าสิ่งที่นักเทรดจะได้รับไม่ใช่หุ้นที่แท้จริง และจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อย่างสิทธิเข้าร่วมประชุม แต่จะเป็นเพียงตราสารอนุพันธ์ที่ใช้แสดงสิทธิในหุ้นเท่านั้น เพื่อนำไปขายทำกำไรตามการเคลื่อนไหวของหุ้นอ้างอิง โดยมูลค่าของ DW นั้นเกิดขึ้นจากมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) รวมกับมูลค่าทางเวลา (Time Value)

คำถามที่ 2: สภาพคล่องของ DW คืออะไร?

สำหรับหุ้นทั่วไป คนที่พอมีประสบการณ์ในการเทรดมาบ้างน่าจะเข้าใจหลักสภาพคล่องอยู่แล้ว โดยจะต้องพิจารณาที่หุ้นตัวดังกล่าวโดยตรง ทั้งปริมาณการเทรด ความมั่นใจในหุ้นตัวนั้น และภาพรวมของบริษัทผู้ออกหุ้น ในขณะที่ DW ผู้ที่ดูแลสภาพคล่องจะเป็นบริษัทผู้ออก DW ที่เราทำการเทรดด้วย ด้วยเหตุนี้สภาพคล่องของ DW จึงสำคัญมาก ไม่ต่างจากสภาพคล่องของหุ้นทั่วไป เนื่องจากถ้าสภาพคล่องต่ำ ก็ย่อมส่งผลในการลงทุน DW อาจจะเกิดการติดขัดไม่ลื่นไหลได้

คำถามที่ 3: DW อ้างอิงดัชนีคืออะไร?

เรื่องการอ้างอิงของ DW เป็นความรู้เกี่ยวกับ DW ที่ควรทราบไว้เช่นกัน สำหรับ DW อ้างอิงดัชนี ดัชนีที่นิยมใช้อ้างอิงกับ DW ในประเทศไทยคือ SET50 ซึ่งเป็นดัชนีราคาหุ้นที่ใช้แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูงที่สุด รวมถึงการซื้อขายมีสภาพคล่องสูงอย่างสม่ำเสมอ และมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยผ่านเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) กำหนดไว้

คำถามที่ 4: DW อ้างอิงหุ้นคืออะไร?

อธิบายให้เข้าใจโดยง่าย DW อ้างอิงหุ้นคือการเปลี่ยนแปลงราคาของ DW จะสอดล้องไปกับราคาของหุ้นอ้างอิงตัวนั้นๆ  เรียกได้ว่าการเทรด DW อ้างอิงหุ้นมีทั้งมุมที่เหมือนกับการเทรดหุ้น คือราคาที่เคลื่อนไหวไปตามกันส่วนมุมที่ต่างกับการเทรดหุ้นคือ DW สามารถเลือกซื้อแบบ Call และ Put ที่ทำให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้จากทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง

คำถามที่ 5: มูลค่าของ DW มีกี่ประเภท?

แม้ว่า DW จะมีราคาซื้อขายที่ขยับตามสินทรัพย์อ้างอิง แต่ DW เองก็เป็นสินทรัพย์การลงทุนที่มีมูลค่าเป็นของตัวเอง โดยมูลค่าของ DW ดังกล่าวนี้จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ดังต่อไปนี้

  • มูลค่าที่แท้จริง หรือ Intrinsic Value คือ ส่วนต่างระหว่างราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) และ ราคาของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Price) ซึ่งมูลค่าที่แท้จริงจะเกิดขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อ DW ที่ต้องการใช้สิทธินั้นอยู่ในสถานะ In-the-Money (ITM) เท่านั้น 
  • มูลค่าทางเวลา หรือ Time Value โดย DW คือสินทรัพย์การลงทุนที่มีค่าเสื่อมเวลา (Time Decay) ที่จะแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสเปกที่กำหนดโดยผู้ออก อายุคงเหลือของสัญญา นอกจากนี้ ความเสี่ยงและความผันผวนของสินทรัพย์อ้างอิงยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางเวลานี้ด้วยเช่นกัน 

คำถามที่ 6: ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา DW มีอะไรบ้าง?

อีกหนึ่งความรู้เกี่ยวกับ DW ที่ควรทราบคือปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยงแปลงของราคา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทหลักๆดังต่อไปนี้ 

  1. ราคาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง
  2. ราคาใช้สิทธิ 
  3. ความผันผวนของสินทรัพย์อ้างอิง 
  4. อายุคงเหลือในสัญญา
  5. อัตราดอกเบี้ย
  6. การเปลี่ยนแปลงเงินปันผลของสินทรัพย์อ้างอิง

คำถามที่ 7: อัตราทดในการเทรด DW มีกี่แบบ?

อัตราทดในการเทรด DW มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ดังต่อไปนี้

1.อัตราทดเท่า หรือ Effective Gearing คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา DW เทียบกับราคาหุ้นอ้างอิงที่เปลี่ยนแปลงไป 1% เปรียบเสมือนตัวคูณผลตอบแทน

2.อัตราทด Tick หรือค่า Sensitivity คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา DW (ช่องราคา) เทียบกับราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1 ช่องราคา โดยที่ Sensitivity ใกล้เคียง 1 เป็นที่นิยมในหมู่นักเทรดระยะสั้น จะควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวของหุ้นอ้างอิง

คำถามที่ 8: การลงทุน DW แบบ Run Trend คืออะไร?

การเทรด DW แบบ Run Trend คือการเทรดให้จบเป็นรอบของหุ้นหรือดัชนี มักเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนแบบเป็นรอบของหุ้น การวางแผนเทรด DW แบบนี้ไม่ต้องมานั่งกังวลการผันผวนของราคาในระยะสั้น เพียงแค่วางแผนจุดเข้าจุดออก จากนั้นเริ่มต้นการเทรดตามแผนที่วางไว้ ดังนั้น การลงทุน DW สไตล์ Run Trend นี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ระดับหนึ่งในการดูเทรนด์ของหุ้น และไม่ชอบการเฝ้าหน้าจอตลอดทั้งวัน

ความรู้เกี่ยวกับ DW ที่ควรรู้ก่อนเทรด

คำถามที่ 9: จุดเข้า-จุดออก คืออะไร?

จุดเข้าจุดออก หรือ Stop Loss ในการเทรด DW คือจุดตัดการลงทุนที่จะตัดขายเมื่อราคาDW ลดลงไปจนถึงจุดที่ตั้งไว้ อาจเป็นการขาดทุน หรือได้กำไรขณะขายก็เป็นได้ โดยนักลงทุนสามารถตั้งค่า Stop Loss ได้โดยพิจารณาตามแผนการลงทุน ตลอดจนความเสี่ยงที่รับไหว และควรตั้งค่าเอาไว้ให้เรียบร้อยก่อนตัดสินใจซื้อขาย DW ในขณะเดียวกัน Cut Loss จะเป็นจุดตัดการขาดทุนที่นักลงทุนจะต้องขาย DW ออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายไปมากกว่าที่ยอมรับได้และมักจะใช้ในกรณีที่เกิดการขาดทุนแล้วเท่านั้น

คำถามที่ 10: เลือกลงทุน DW ที่ไหนดี?

เมื่อได้ความรู้เกี่ยวกับ DW พอสมควรแล้ว ก็ถึงเวลาเข้าสู่สนามเทรดจริง และเพื่อความปลอดภัยและมั่นใจก็ควรเลือกเทรดกับสถาบันที่น่าเชื่อถือ ที่เปิดให้บริการมาอย่างยาวนาน ซึ่ง DW24 คือทางเลือกที่ตอบโจทย์ เนื่องจากเราออกและดูแลสภาพคล่องโดยบริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus ดังนั้นจึงมั่นใจได้ในประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ DW24 ยังมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเทรด DW ให้ได้ศึกษาแบบฟรี ๆ ช่วยเปิดโอกาสให้นักลงทุนทุกระดับสามารถสร้างผลตอบแทนและทำกำไรในสนาม DW ได้ตามสไตล์การลงทุนของตัวเอง พร้อมยังสามารถเปรียบเทียบสเปคDW ได้ทุกค่าย นักลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถหา DW ที่เหมาะแก่การเก็งกำไรได้ตลอดเวลา