จากครั้งที่แล้วเราได้ทราบกันไปแล้วว่า ราคาน้ำมันมีผลต่อเงินเฟ้ออย่างไร? ซึ่งเราเข้าใจตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อแล้ว ในส่วนถัดไปเราจะศึกษากันว่าหลังจากเงินเฟ้อเกิดขึ้นทางหน่วยงานที่ดูแลเศรษฐกิจต่างๆของแต่ละประเทศจะมีมาตรการอะไรออกมาเพื่อควบคุมเงินเฟ้อบ้างพร้อมกับรู้ถึงผลกระทบที่จะตามมา
ทางไหนที่สามารถช่วยกดเงินเฟ้อลงได้?
พื้นฐานเงินเฟ้อเงินฝืดทุกคนน่าจะทราบกันเบื้องต้นแล้วว่าสาเหตุนั้นเกิดจาก Demand และ Supply ที่ไม่สมดุลกันทำให้เกิดปัญหาทางการเงินขึ้น บางคนอาจจะบอกว่าถ้า Demand สูงขึ้นก็ให้ Supply ผลิตเพิ่มขึ้นสิ หรือถ้า Demand ลดลงก็ให้ Supply ผลิตลดลงแบบนี้ก็ไม่เห็นยาก แต่!!! อย่าลืมว่าการผลิตของอย่างนึงขึ้นมานั้นไม่ใช่จะทำการให้เสร็จภายในวันเดียวการที่จะเพิ่มลดกำลังการผลิตทันทีเป็นไปได้ยากมาก ดังนั้นเราจึงต้องใช้วิธีอื่นที่คุมได้ง่ายกว่าก็คือปริมาณเงินที่ไหลอยู่ในระบบ ถ้าเกิดเงินเฟ้อขึ้นหมายถึงปริมาณเงินในระบบมีสูงก็จะใช้วิธีดึงเงินออกจากระบบ และ เงินฝืดหมายถึงปริมาณเงินในระบบมีน้อยก็จะใช้วิธีอัดเงินเข้าสู่ระบบ และสิ่งที่สามารถคุมการไหลของเงินได้ก็คือ ดอกเบี้ยนั่นเอง
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อค่าเงินอย่างไร?
เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันเป็นช่วงของดอกเบี้ยขาขึ้นเพื่อที่จะควบคุมเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยที่ขึ้นนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นดอกเบี้ยเงินกู้หรือเงินฝาก แต่รวมไปถึงผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลนั่นเอง สิ่งเหล่านี้เองจะเป็นปัจจัยผลักดันปริมาณเงินของนักลงทุนทั่วโลกที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้ไหลเข้าสู่ประเทศเหล่านั้นที่มีการขึ้นดอกเบี้ยในอัตราสูง และประเทศไหนที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่า ความต้องการลงทุนต่างๆก็จะลดลงทำให้เกิดการไหลออกของปริมาณเงินลงทุนซึ่งส่งผลให้สกุลเงินประเทศเหล่านั้นมีความต้องการน้อยลงยิ่งความต้องการน้อยลงมูลค่าก็จะลดต่ำลงเมื่อเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่งที่มีความต้องการสูงกว่า เพื่อให้มองเห็นภาพมากขึ้นไปดูที่ตัวอย่างกันได้เลย
ตัวอย่าง
- เริ่มต้นประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0.25% และประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0% ค่าเงินเท่ากับ 30.00 บาท/ดอลลาร์
- เฟ้อสูงขึ้นมากประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0.50% แต่ประเทศไทยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0% ดังนั้นผลต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทั้งสองประเทศเริ่มห่างกันมากขึ้น นักลงทุนบางส่วนจึงเริ่มหันไปลงทุนในสหรัฐฯกันมากขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าและช่วยให้ความต้องการเงินดอลลาร์มีมากขึ้น ทำให้ค่าเงินเท่ากับ 31.00 บาท/ดอลลาร์
- เงินเฟ้อยังไม่สามารถควบคุมได้ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1.50% แต่ประเทศไทยเพิ่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0.25% แต่ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทั้งสองประเทศยังคงห่างมากขึ้น นักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มหันไปลงทุนในสหรัฐฯกันมากกว่าเดิมและช่วยให้ความต้องการเงินดอลลาร์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ค่าเงินเท่ากับ 33.00 บาท/ดอลลาร์
ภาพการไหลของเงินจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย
หลายคนอาจจะพอเข้าใจกันมากขึ้นแล้วกับความสัมพันธ์ระหว่างดอกเบี้ยกับค่าเงินต่างๆมีผลต่อกันอย่างไรและดอกเบี้ยไม่เพียงแต่คุมเงินเฟ้อได้แต่ยังคงควบคุมประมาณเงินลงทุนจากต่างประเทศไหนไหลเข้าสู่ประเทศตนเองได้อีกทางหนึ่ง
ยิ่งค่าเงินอ่อนค่ายิ่งทำให้ตลาดหุ้นลงใช่มั้ย?
จะตอบว่าใช่ก็ไม่ถูกซะทีเดียวถ้าไปดูฝั่งสหรัฐฯที่มีค่าเงินที่แข็งค่ากว่าประเทศอื่นๆ ตลาดหุ้นก็ปรับตัวลงหนักเช่นกันเนื่องจากเงินของนักลงทุนที่ไหลเข้าสู่สหรัฐฯนั้นไม่ได้เข้าไปยังตลาดหุ้นแต่เข้าสู่ตลาดพันธบัตรรัฐบาลเนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงและความเสี่ยงต่ำกว่าตลาดหุ้น ไม่เพียงแต่เงินของนักลงทุนต่างประเทศเท่านั้นที่เข้าสู่ตลาดพันธบัตรรัฐบาล แต่เงินของนักลงทุนภายในประเทศที่อยู่ในตลาดหุ้นก็ถูกนำออกจากตลาดหุ้นเพื่อเข้าไปเก็บไว้ในพันธบัตรรัฐบาลเช่นกัน จึงเป็นภาพที่เห็นได้ว่าถึงแม้ค่าเงินนั้นแข็งค่า ตลาดหุ้นก็ไม่ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่สิ่งที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นโดยตรงคืออัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้นักลงทุนต้องการนำเงินลงทุนของตนเองไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยลงแต่ผลตอบแทนสูงพอๆกับตลาดหุ้นได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลนั่นเอง
ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นตลาดหุ้นปรับตัวลงใครยังอยากลงทุนอยู่ในตลาดหุ้นอยู่ก็ไม่ต้องกลัวเพราะตลาดหุ้นขาลงก็สามารถทำกำไรได้ผ่าน Put DW และ DW24 ได้มี SET50 DW ฝั่ง Put มาให้ลงทุนกันหลากหลายซีรีส์ใครสายรันเทรนด์หรือสายเทรดอย่าลืมมองหา DW24 เพื่อทำกำไรตามความผันผวนของตลาดกันครับ
Post Views: 760