ไม่ว่าจะมีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหน การลงทุนก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่ทำให้ขาดทุนได้เสมอ เช่นเดียวกับการลงทุนอื่น การลงทุน DW เองก็มาพร้อมความเสี่ยงและโอกาสในการขาดทุนจากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการจับจังหวะพลาด หรือแม้แต่การตัดสินใจเทรดผิดทาง
แต่หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว นักลงทุนควรจะถัวเฉลี่ย หา DW ตัวใหม่ หรือแก้ปัญหาเทรด DW ผิดทางควรทำไงดีอย่างตรงจุด ลองมาทำความรู้จัก 5 เช็กลิสต์ที่ต้องพิจารณาให้ดีหากต้องการกลับตัวในสนามการลงทุน DW แห่งนี้กัน
เช็กลิสต์ 1: วางแผนเลือกหุ้น หรือดัชนีที่ DW อ้างอิงราคาไว้
เพราะการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพต้องเริ่มที่ต้นตอ ดังนั้น หากต้องการจะวางแผนเอาผลตอบแทนคืนจากการเทรด DW ที่ผิดพลาด นักลงทุนจะต้องมาพิจารณาว่า ก่อนเริ่มเทรด DW ควรจะรู้อะไรบ้าง
โดยทั่วไปแล้ว ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเป็นอย่างแรกก่อนเทรด DW คือ การเลือกหุ้น หรือดัชนีที่ DW อ้างอิงราคาเอาไว้ เพราะ DW จะมีการอ้างอิงราคาซื้อขายกับราคาของสินทรัพย์อ้างอิงอย่างหุ้นรายตัว หรือ ดัชนีต่าง ๆ แปลว่า ราคาของหุ้นรายตัว และดัชนีที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลต่อราคาของ DW โดยตรง
ดังนั้น หากตอนนี้ใครกำลังเจอปัญหาเทรด DW ผิดทางและต้องการปรับแผนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้น ขอแนะนำให้ลองหันกลับมาพิจารณาถึงรายละเอียดในแง่มุมต่าง ๆ ของหุ้น หรือดัชนีที่สนใจอีกครั้ง โดยสามารถพิจารณาได้จากทั้งผลประกอบการ เศรษฐกิจ ปัจจัยรอบด้านที่ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ ตลอดจนสัญญาณซื้อขาย และความต้องการซื้อขายของนักลงทุนในตลาด (Demand and Supply)
เช็กลิสต์ 2: พิจารณาเลือกสเปก DW
เมื่อติดกระดุมเม็ดแรกอย่างการเลือกหุ้นและดัชนีได้อย่างเหมาะสมแล้ว กระดุมเม็ดต่อไปที่จะช่วยแก้ไขการเทรด DW ผิดทาง คือ การหันกลับมาพิจารณาสเป็ก DW ตัวที่มีอยู่ หรือตัวใหม่ที่สนใจ และเทียบกับทิศทางของตลาดเพื่อพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสการสร้างผลตอบแทน ตามขั้นตอน ดังนี้
- ดูเทรนด์ตลาดเพื่อเลือก DW ให้เหมาะสม
เช่น หากสังเกตเห็นแล้วว่าตลาดหุ้น หรือดัชนีมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นก็ให้เลือกลงทุน Call DW แต่หากตลาดมีแนวโน้มจะปรับตัวลงก็ให้พิจารณาเลือก Put DW แทน
- พิจารณารายละเอียดเฉพาะ หรือสเป็กของ DW ที่สนใจ
การพิจารณาในส่วนนี้จะสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
เช่น พิจารณาเลือก DW ที่มีค่า Sensitivity ใกล้ 1 เพื่อเพิ่มความสะดวกในการลงทุนและลดโอกาสผิดพลาดในการดูตารางราคา หรืออาจเลือก DW โดยพิจารณาจากอัตราทด หรือ Effective Gearing บนพื้นฐานความเสี่ยงที่รับได้ ซึ่งหาก DW มีอัตราทดสูงมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น
- การเลือก DW ตามต้นทุนการลงทุน
พิจารณาได้จากหลายปัจจัย เช่น Time Decay ที่ส่งผลต่อการถือในระยะสั้นหรือยาว และหาก Time Decay เหลือน้อยเท่าไหร่ ถึงแม้จะมีราคาถูกแต่ราคาซื้อขายก็จะยิ่งลดลงเร็วเช่นกัน นอกจากนี้ นักลงทุนยังต้องพิจารณาถึงความผันผวนย้อนหลังและค่า All-in-Premium ที่แสดงให้เห็นจุดคุ้มทุนของ DW ตัวที่สนใจ ซึ่งหากสองค่านี้สูงมากเท่าไหร่ ราคาซื้อขาย DW ก็จะยิ่งสูงตาม อย่างไรก็ดี ราคาถูกแพงนี้จะส่งผลต่อทั้งต้นทุนในการลงทุน รวมไปถึงความเสี่ยงที่แตกต่างกันอีกด้วย
เช็กลิสต์ 3: กำหนดจุดเข้า – ออก – ให้เรียบร้อย
เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาเทรด DW ผิดทางให้มีประสิทธิภาพ นักลงทุนยังต้องกำหนดจุดเข้า ออก และจุดหนีในแต่ละช่วงของการลงทุน DW ให้ชัดเจนเช่นกัน เพราะการตัดสินใจที่แตกต่างกันเพียงไม่กี่นาทีก็อาจทำให้ผลกำไรพลิกกลับมาขาดทุนได้เช่นกัน
“จุดเข้า” ที่เหมาะสม
โดยการเลือก “จุดเข้า” หรือ “จุดซื้อ” ของ DW นั้นจะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การลงทุน ตลอดจนการกำหนดจุดกำไรและขาดทุนที่รับได้ ไม่เข้าซื้อ DW เพียงเพราะเห็นว่าได้ผลตอบแทนสูง แต่ให้เข้าซื้อด้วยเหตุผลที่เป็นไปตามราคาที่ตั้งเอาไว้ในแผนการลงทุนและความเสี่ยงที่รับไหว เช่น DW ที่มี Time Decay น้อยกว่า 2 สัปดาห์อาจมีราคาซื้อถูก แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงที่สูงมากจากการที่ราคาสินทรัพย์อ้างอิงไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์
“จุดออก” ที่ต้องพิจารณาให้ดี
ในทางกลับกัน เมื่อราคา DW ที่ถือเอาไว้ขึ้นไปถึงจุดกำไรที่ต้องการแล้ว นักลงทุนควรพิจารณาตัดสินใจขาย หรือมองหา “จุดออก” เพื่อป้องกันความผันผวนทางราคาที่อาจขึ้นจนทำให้ขาดทุนโดยไม่ทันตั้งตัว และนอกเหนือจากราคาแล้ว นักลงทุนยังสามารถพิจารณา “จุดออก” จากค่า Time Decay อีกด้วย เพราะในหลาย ๆ ครั้ง การถือ DW ที่นานเกินไปก็มาพร้อมโอกาสขาดทุนที่สูงขึ้นเช่นกัน
“จุดหนี” ที่ต้องเช็กให้รอบคอบ
แต่สำหรับใครที่เทรด DW มาผิดทาง และผลตอบแทนเริ่มขาดทุนในจุดที่เกินจะรับไหวแล้ว นักลงทุนควรเริ่มมองหา “จุดหนี” เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดทุนไปมากกว่านี้อีกด้วย
เช็กลิสต์ 4: ตั้ง Stop Loss และ Cut Loss พร้อมทำตามแผนอย่างเคร่งครัด
เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้แล้ว หลายคนคงเริ่มสงสัยแล้วว่า นักลงทุนควรจะตั้งจุดเข้า – ออก – อย่างไรให้แก้ปัญหาการเทรด DW ผิดทางให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งคำตอบง่าย ๆ ของคำถามนี้ คือ การกำหนดจุด Stop Loss และ Cut Loss พร้อมทำตามอย่างเคร่งครัดนั่นเอง
จุด Stop Loss คือ จุดตัดการลงทุนที่จะตัดเมื่อการลงทุน DW ลดลงไปจนถึงจุดที่ตั้งไว้ อาจเป็นการขาดทุน หรือได้กำไรขณะขายก็เป็นได้ โดยนักลงทุนสามารถตั้งค่า Stop Loss ได้โดยพิจารณาตามแผนการลงทุน ตลอดจนความเสี่ยงที่รับไหว และควรตั้งค่าเอาไว้ให้เรียบร้อยก่อนตัดสินใจซื้อขาย DW ในทางเดียวกัน Cut Loss จะเป็นจุดตัดการขาดทุนที่นักลงทุนจะต้องขาย DW ออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดทุนไปมากกว่านี้ และมักจะใช้ในกรณีที่เกิดการขาดทุนแล้วเท่านั้น
โดยการตั้งค่า Stop Loss และ Cut Loss นั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น อาจเลือกตั้งค่าโดยใช้ราคาต่ำสุดของการลงทุนรอบก่อนหน้า หรืออาจตั้งตามความผันผวน (Volatility Stop Loss) หรือเป็นเปอร์เซ็นต์การขาดทุน (Percentage Stop Loss) เป็นต้น
ข้อควรระวัง! แม้จะการตั้ง Stop Loss จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาเทรด DW ผิดทางควรทำไงดี แต่เมื่อตั้งค่า Stop Loss แล้ว นักลงทุนยังต้องติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิดเช่นกัน เพราะบางครั้งการตั้ง Stop Loss อาจไม่ได้หยุดการขาดทุนเนื่องจาก 2 เหตุผลหลัก คือ 1. ราคาหุ้น หรือ ดัชนีที่ผันผวนสูงมาก ๆ จนจับจังหวะการลงทุนพลาด และขาดทุนสูงกว่า Stop Loss2. DW นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราทด และหากราคาสินทรัพย์อ้างอิงตกลงไปอยู่ในจุดเดียวกับ Stop Loss เมื่อคูณเข้ากับอัตราทดก็เท่ากับว่า นักลงทุนจะขาดทุนมากกว่าจุด Stop Loss ตัวอย่างเช่น DW A มีอัตราทด 15 เท่า นักลงทุนตั้ง Stop Loss ที่ 10 บาท หากราคาหุ้น หรือดัชนีตกลงมาอยู่ที่ 10 บาท นักลงทุนอาจขายได้ในราคา 9.95 บาท หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว นักลงทุนจะขาดทุนอยู่ที่ 0.05 บาท หรือคิดเป็น 0.5% และเมื่อรวมกับอัตราทดเข้าไป 15 เท่า นักลงทุนสามารถขาดทุนได้มากถึง 0.5 x 15 = 7.5% ซึ่งสูงกว่า Stop Loss ที่ตั้งเอาไว้ ดังนั้น ไม่เพียงแต่จะพิจารณาความเสี่ยงและแผนการลงทุนเท่านั้น การตั้ง Stop Loss ในการลงทุน DW ยังต้องคำนึงถึงอัตราทดของ DW ด้วยเช่นกัน |
เช็กลิสต์ 5: กลับพิจารณาดู DW อีกรอบ
เมื่อทำการตั้ง Stop Loss และ Cut Loss เรียบร้อย นักลงทุนก็สามารถวางแผนเอาทุนคืนจาก DW ตัวเดิม หรือตัวใหม่ได้อีกครั้ง โดยการวางแผนลงทุนในรอบนี้ นอกจากจะลดข้อผิดพลาดจากเช็กลิสต์ที่นำมาฝากแล้ว นักลงทุนยังควรกำหนดจุด Stop Loss ที่ใกล้ขึ้น พร้อมหา “จุดเข้า” DW ที่ได้เปรียบ โดยทำได้จากการเข้าเก็งกำไรในบริเวณแนวรับ และสร้างกำไรในบริเวณแนวต้าน ซึ่งหากหลุดแนวรับเมื่อไหร่ นักลงทุนก็สามารถขาย DW เพื่อ Stop Loss ไปก่อนได้
จะเห็นได้ว่า “5 เช็กลิสต์ก่อนเริ่มเทรด DW ควรจะรู้อะไรบ้าง” ที่นำมาฝากนี้สามารถช่วยปรับแผนการลงทุน DW ให้นักลงทุนที่เทรด DW ผิดทางแต่ต้องการทุนคืนได้อย่างเป็นระบบและรัดกุมมากยิ่งขึ้นแล้ว แต่จะมีเทคนิคใดที่จะช่วยให้ตอบโจทย์ “เทรด DW ผิดทางควรทำไงดี” ให้ครอบคลุมและรับมือกับทุกสถานการณ์การลงทุนได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม DW24 มาพร้อมกับคลังความรู้เรื่องการลงทุน DW แบบครบจบในที่เดียว พร้อม DW24 ที่พร้อมเปิดโอกาสให้นักลงทุนสร้างผลตอบแทนด้วย Gearing สูง Time Decay ที่เป็นมิตรต่อนักลงทุนทุกระดับ และตารางราคาที่เทียบสเป็กได้ทุกค่าย
Post Views: 1,104