fbpx

ปัจจุบันเราเป็นนักลงทุนกลุ่มไหนกัน?

June 9, 2023

การลงทุนปัจจุบันมีความซับซ้อนมายิ่งขึ้นและมีผลิตภัณฑ์ให้เราลงทุนได้อย่างหลากหลาย บางผลิตภัณฑ์ก็มีการกำหนดให้อย่างชัดเจนว่าต้องเป็นนักลงทุนกลุ่ม HNW UHNW เท่านั้น หรือเฉพาะนักลงทุนสถาบันเท่านั้น วันนี้เราจะมาดูกันว่ากลุ่มของนักลงทุนมีเกณฑ์ในการแบ่งอย่างไรบ้าง

เกณฑ์ปัจจุบันของก.ล.ต.ได้แบ่งกลุ่มของนักลงทุนเป็น 4 กลุ่ม จากคุณสมบัติทางด้านการเงินและคุณสมบัติด้านความรู้หรือประสบการณ์ของผู้ลงทุนครอบคลุมไปจนถึงการพิจารณาเรื่องการมีใบอนุญาณวิชาชีพที่กำหนดได้แก่ CFA, CISA, CAIA และ CFP โดยรายละเอียดของแต่ละกลุ่มมีดังนี้

  • นักลงทุนรายย่อย (Retail Investor)

นักลงทุนรายย่อยจะเป็นนักลงทุนรายบุคคลที่ทำการซื้อ-ขายหลักทรัพย์และผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ด้วยตนเองซึ่งจะเป็นการที่เข้าไปเปิดพอร์ตการลงทุนและวางแผนในการลงทุนด้วยตนเอง

ฐานะทางการเงิน

สินทรัพย์สุทธิ < 30 ล้านบาท

ตัวอย่างคุณสมบัติ

อาชีพค้าขาย

ข้าราชการ

พนักงานบริษัท

Full Time trader

อื่นๆ

ความเชี่ยวชาญในการลงทุน

นักลงทุนมือใหม่

นักลงทุนทางปัจจัยพื้นฐาน

นักลงทุนวิเคราะห์ทางเทคนิค

  • นักลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth: HNW)

นักลงทุนกลุ่มนี้จะเป็นคนที่มีความรู้และประสบการณ์ต่อเนื่องในการลงทุนอีกทั้งยังมีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่านักลงทุนทั่วไป

ฐานะทางการเงิน (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

1. สำหรับบุคคลธรรมดา

รายได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท

สินทรัพย์สุทธิไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท

เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 8 ล้านบาทหรือไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท กรณีนับรวมเงินฝาก

2. สำหรับนิติบุคคล

ส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 75 ล้านบาท

เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 8 ล้านบาทหรือไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท กรณีนับรวมเงินฝาก

ความเชี่ยวชาญในการลงทุน

เป็นผู้ที่มีความรู้ในการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงเป็นประจำและต่อเนื่อง

  • นักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth: UHNW)

นักลงทุนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักลงทุนรายใหญ่แต่จะแตกต่างกันตรงที่สินทรัพย์สุทธิที่จะต้องมีจำนวนที่มากกว่า

ฐานะทางการเงิน (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

1. สำหรับบุคคลธรรมดา

รายได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 6 ล้านบาท

สินทรัพย์สุทธิไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท

เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาทหรือไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท กรณีนับรวมเงินฝาก

2. สำหรับนิติบุคคล

ส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท

เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทหรือไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท กรณีนับรวมเงินฝาก

ความเชี่ยวชาญในการลงทุน

เป็นผู้ที่มีความรู้ในการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงเป็นประจำและต่อเนื่อง

สามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนที่สูงและผันผวนได้มาก โดยสามารถลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงมากได้

  • นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investor: II)

ส่วนใหญ่จะเป็นนิติบุคคลเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย, ธนาคารพาณิชย์, บริษัทหลักทรัพย์, บริษัทประกัน, กองทุนรวม, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, สถาบันการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น

ความเชี่ยวชาญในการลงทุน

เป็นสถาบันทางการเงินรวมไปถึงนิติบุคคลขนาดใหญ่ที่มีผู้ดูแลการลงทุนโดยเฉพาะ

กลุ่มที่เข้าข่ายเพิ่มเติม

1.ผู้ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการลงทุน ได้แก่

1.1. ผู้จัดการกองทุนหรือผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

1.2.นักวิเคราะห์การลงทุน

1.3.นักลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ (angle investor)

2.กิจการเงินร่วมลงทุน (Private equity) นิติบุคคลร่วมลงทุน (venture capital)

3.คนคุ้นเคยกิจการ*

*ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ถือหุ้นใหญ่ และบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของกิจการ

จากข้อมูลที่แบ่งกลุ่มของนักลงทุนออกเป็น 4 กลุ่ม ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นนักลงทุนรายย่อยที่มีการเก็งกำไรกันแบบกลุ่มก้อนการเทรดไม่ว่าจะเป็นพนักงานทั่วไปไปจนถึง Full Time trader ก็ยังคงเป็นนักลงทุนรายย่อยเช่นกัน เว้นแต่จะมีสินทรัพย์ที่มากกว่า 30 ล้านบาท หรือมีเงินลงทุนมากกว่า 8 ล้านบาทที่ไม่รวมเงินฝากธนาคาร ถึงจะมีเกณฑ์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งนักลงทุนรายย่อยนี้จะเป็นส่วนใหญ่ของตลาดการลงทุน

ที่มา: กลต.

นักลงทุนกลุ่มต่างๆ