Non-Farm payroll หรือ การรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เป็นดัชนีที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จะมีการประกาศในทุกวันศุกร์แรกของเดือน วันนี้เราจะมาดูกันว่าตัวเลขนี้มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
Non-Farm payroll คืออะไร
เป็นที่รู้กันดีว่าตัวเลขหลักทางเศรษฐกิจมีอยู่หลายตัวไม่ว่าจะเป็นตัวเลขเงินเฟ้อ, อัตราการจ้างงาน, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น แต่ตัวเลขทางเศษรฐกิจแรกๆที่ออกมานั่นก็คือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ซึ่งจะมีการประกาศออกมาทุกวันศุกร์แรกของเดือน
ตัวเลขนั้นได้มาจากสถิติการจ้างงานในภาคบริการ, อุตสากหรรม, ก่อสร้าง ไม่รวมการจ้างงานในภาคการเกษตร, ครัวเรือน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ข้อมูลที่ได้นั้นมาจากกรมสถติแรงงานของสหรัฐฯ
สัดส่วนของตัวเลขการจ้างงานที่อยู่ใน Non-Farm payroll มีสัดส่วนสูงถึง 80% ของ GDP สหรัฐ และนี่เองจึงทำให้ตัวเลข Non-Farm payroll มีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินเป็นอย่างมาก
ตัวเลข Non-Farm payroll มีผลอย่างไรบ้าง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ หากตัวเลข Non-Farm payroll ลดลงหมายถึง ปริมาณการจ้างงานลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าแนวโน้มของภาคธุรกิจอาจจะหดตัว และถ้าตัวเลข Non-Farm payroll เพิ่มขึ้นหมายถึง ปริมาณการจ้างงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แนวโน้มของภาคธุรกิจอาจจะขยายตัวขึ้น
การขยายตัวและการหดตัวของภาคธุรกิจวัดแนวโน้มได้ดังนี้
- หากมีการจ้างงานเกิดขึ้นในฝั่งของแรงงานจะมีรายได้ที่สามารถนำไปใช้จ่ายในสินค้าและบริการได้ทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้นซึ่งทำให้เศรษฐกิจเกิดการขยายตัวมากขึ้น
- แต่ถ้ากลับกันการจ้างงานลดลง จำนวนแรงงานที่จะมีรายได้น้อยลงส่งผลให้การใช้จ่ายสินค้าและบริการก็ลดลงเช่นกัน การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจก็จะลดลงมีโอกาสทำให้เศรษฐกิจเกิดการหดตัวลง
นักลงทุนจึงมีการติดตามเพื่อนำผลที่ได้มาประเมินทิศทางการกำหนดนโยบายทางการเงินอื่นได้อีกเช่น ทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ไปจนถึงแนวโน้มการทำ QE หรือ QT เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของตัวเลข Non-Farm payroll กับสินทรัพย์อื่น
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าตัวเลข Non-Farm payroll นั้นมีความสำคัญอย่างไร เดี่ยวเราจะมาดูมุมมองของนักลงทุนต่อแนวโน้มของสินทรัพย์อื่นๆ หลังตัวเลข Non-Farm payroll ได้ประกาศออกมาทุกต้นเดือน ทั้งดีกว่าคาดและต่ำคาดเพื่อวางแผนดักทางเก็งกำไรกัน
ตัวเลข Non-Farm payroll | สูง | ต่ำ |
ค่าเงินดอลลาร์ | แข็งค่าขึ้น | อ่อนค่าลง |
ราคาทองคำ | ราคาลดลง | ราคาเพิ่มขึ้น |
ทิศทางตลาดหุ้น | ปรับตัวเพิ่มขึ้น | ปรับตัวลดลง |
โอกาสการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย | โอกาสสูง | โอกาสต่ำ |
สุดท้ายแล้วตัวเลขทางการเงินต่างๆ ย่อมส่งผลต่อนโยบายต่างๆ ทางเศรษฐกิจและการเงินไปจนถึงทิศทางเก็งกำไรในตลาดลงทุน ดังนั้นนักลงทุนควรติดตามข่าวที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศเพื่อวางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดที่สุด สำหรับสายเก็งกำไรเมื่อตลาดปรับตัวขึ้นก็เป็นโอกาสในการเก็งกำไรฝั่ง Call DW และในช่วงที่ตลาดปรับตัวลงนักลงทุนก็สามารถเก็งกำไรในฝั่ง Put DW ได้เช่นกัน
Post Views: 638