นักลงทุนเกือบทั้งหมดจะต้องเคยได้ยินปรากฏการณ์ Sell in May มาไม่มากก็น้อยเนื่องจากทุกปีเมื่อวนกลับมาถึงเดือนพฤษภาคมก็จะมีคำนี้กลับเข้ามาในตลาดหุ้นอีกครั้งหนึ่ง และปีนี้ก็เป็นไปอย่างเช่นทุกปี ดังนั้นเราควรจะวางแผนพอร์ตของเราให้รับกับปรากฏการณ์นี้อย่างไรดี วันนี้ DW24 จะมาเล่าให้ฟัง
ทำไมถึงเกิดภาวะตลาดเช่นนี้ ?
นักลงทุนอาจจะสงสัยว่าสาเหตุใดถึงเรียกปรากฏการณ์ช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ว่า Sell in May ต้องบอกว่าจริงๆ แล้วที่มามีอยู่ 3 ปัจจัยหลักๆ ที่เกิดขึ้นนั่นเอง
- หากนักลงทุนที่ติดตามตลาดมานานจะทราบว่าช่วงเวลาเดือนพฤษภาคมจะอยู่ในช่วงของการประกาศงบการเงินไตรมาสที่ 1 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ดังนั้นการเก็งกำไรก็จะลดลง การขายทำกำไรมีมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของตลาดในช่วงนี้
- เมื่อมีการประกาศงบการเงินปีที่ผ่านมาและไตรมาส 1 ปีนี้ออกมา สิ่งที่ประกาศออกมาควบคู่กันก็คือปันผลนั่นเอง เกือบทุกบริษัทส่วนใหญ่ที่มีกำไรจะมีการประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงนี้เช่นเดียวกันจนเรียกกันติดปากว่า “เทศกาลจ่ายปันผล” (ราคาเกิดการ Dilute)
- หากย้อนกลับไป 11 ปีที่ผ่านมาตามสถิติส่วนใหญ่ช่วงเดือนพฤษภาคม นักลงทุนต่างชาติจะมีการขายหุ้นเพื่อนำเงินทุนออกไปยังต่างประเทศ สามารถดูได้จากภาพข้างล่างที่เราได้สรุปปริมาณการซื้อ-ขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติย้อนหลังมาให้แล้ว

ภาพที่ 1 ปริมาณการซื้อ-ขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติย้อนหลัง 11 ปี (ที่มา: SET)
จากภาพจะพบว่าใน 11 ปีย้อนหลัง มีจำนวน 6 ปี มีปริมาณการขายสุทธิออกมาค่อนข้างมาก และ มีจำนวน 5 ปี ที่เป็นการซื้อสุทธิ หากเทียบปริมาณการซื้อทั้ง 5 ปีนี้จะเห็นได้ว่ามีปริมาณเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการขายออกใน 6 ปี ตามที่แสดงไว้ข้างต้น นี่จึงเป็นภาพจำของนักลงทุนเมื่อถึงเดือนพฤษภาคมความเสี่ยงที่จะมีการขายออกเพื่อทำกำไรของนักลงทุนต่างชาติจะมีปริมาณที่มาก
ข้อมูลล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2566
วางแผนเทรดหุ้นอย่างไรภาวะตลาดแบบนี้?
สิ่งที่สำคัญระหว่างการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเช่น หุ้น ฟิวเจอร์ส เป็นต้น คือการจัดพอร์ตการลงทุนให้ Balance ไปตามสภาวะตลาด อย่างในสภาวะที่ตลาดมีความผันผวนดังเช่น Sell in May ที่เกิดขึ้น
- อาจปรับลดพอร์ตการลงทุนลงเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากความผันผวนนี้ลดต่ำลงก็อาจจะปรับเพิ่มพอร์ตกลับขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
- ควบคุมความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือทางการเงินอื่นๆ เช่น Futures หรือ DW เป็นต้น ในสภาวะตลาดขาลงการ Short ในตลาด Futures ก็อาจจะเป็นการลดความเสี่ยงในอีกทางหากยังไม่ต้องการขายหุ้นที่มีอยู่ออกไป หรือจะเป็นการเทรด DW ฝั่ง Put ที่ยังสามารถทำกำไรในตลาดขาลงได้
- ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดทั้งในและต่างประเทศและไม่ควรเทรดแบบ all-in ถ้าหากผิดทางก็ยังมีพอร์ตเงินสดเหลืออยู่ในการควบคุมความเสี่ยง
ถ้าปิดจอช่วง Sell in May เพื่อไม่ให้เห็นขาดทุนดีจริงมั้ย?
หลายคนอาจจะบอกว่าตลาดลงแบบนี้ก็ปิดจอเทรดไปเลยสิไม่ต้องดูก็ไม่เห็นขาดทุนแล้วจริงๆ วิธีนี้ก็ไม่ได้ผิดอะไรแต่ก็ไม่ได้ถูก 100 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากการที่เราไม่ได้มีการเข้าไปอัพเดทตัวหุ้นที่เราถืออยู่ก็อาจจะมีการเสียโอกาสในการทำกำไรหรือการควบคุมความเสี่ยงในพอร์ตของเราหลังจากที่ปรากฎการณ์นี้จบลงไปแล้ว รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยงโดยการใช้เครื่องมืออื่นๆระหว่างที่เกิดภาวะตลาดเช่นนี้ก็ย่อมได้เช่นกัน ถึงจะเป็น VI ยังไงก็ต้องมีการอัพเดทพอร์ตเราอยู่เสมอนะครับ เพื่อที่จะไม่พลาดโอกาสในการทำกำไรในทุกสภาวะตลาด
Post Views: 2,695