เข้าสู่ช่วงเทศกาลหาเสียงเลือกตั้งแต่ละพรรคการเมืองต่างชูนโยบายแก้ปัญหาเศรฐกิจและปากท้องประชาชนประกอบกับช่วงนี้ค่าไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้นโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาค่าไฟแพงเป็นจุดสนใจของประชาชนเป็นอย่างมาก
เปิดนโยบายแก้ “ค่าไฟแพง”
พรรคเพื่อไทย เปิดนโยบายลดราคาพลังงานเพื่อลดภาระเข้าถึงแหล่งพลังงาน อีกทั้งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนเพื่อเพิ่มแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูก และสนับสนุนพลังงานสะอาดส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระดับครัวเรือน
พรรคก้าวไกล เปลี่ยนนโยบายการจัดสรรก๊าซธรรมชาติพร้อมเจรจาสัมปทานก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนอ่าวไทย เพื่อลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้า มีการเปิดเสรีธุรกิจไฟฟ้าให้มีการผลิตซื้อขายอย่างเสรี และสนับสนุนให้บ้านเรือนติดตั้งโซลาร์เซลล์ส่วนเกินสามารถขายกลับได้
พรรคพลังประชารัฐ ปรับเปลี่ยนสัญญาสัมปทานผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยให้เป็นสัญญาแบ่งปันผลผลิตช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้กว่า 50% พร้อมทั้งเสนอโครงการ “โซลาร์ประชารัฐ” สนับสนุนให้ประชาชนติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง ส่วนไฟฟ้าที่เหลือขายให้แก่การไฟฟ้าฯ
พรรคภูมิใจไทย ประชาชนทุกคนได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการใช้หลังคาบ้าน ติดตั้งโซลาร์เซลล์คิดเป็นค่ากระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 450 บาทต่อเดือน และส่งกระแสไฟฟ้าส่วนเกินที่ขายให้แก่รัฐบาล
พรรคประชาธิปัตย์ นโยบายทบทวนโครงสร้างราคาและภาษีพลังงาน กำหนดสัดส่วนกำลังการผลิตระหว่างรัฐกับเอกชนให้เหมาะสม เสนอยกเลิกการเก็บค่า FT
พรรคชาติพัฒนากล้า ปรับโครงสร้างวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าที่ไม่สมดุล เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดผ่านโซลาร์เซลล์บนหลังคาช่วยให้เปิดการแข่งขันอย่างโปร่งใส
ที่มา: thairath
นโยบายจากพรรคตัวอย่างที่แสดงให้เห็นนี้จะพบว่าประเด็นสำคัญในเรื่องของการลดค่าไฟฟ้าต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานที่ดันราคาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าทำให้ไม่สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ อีกทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ได้โดยผ่านภาคประชาชนให้มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายพร้อมทั้งไฟฟ้าส่วนเหลือสามารถทำการขายคืนให้แก่การไฟฟ้าได้ช่วยเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งและทางภาครัฐก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตบางส่วนได้
“หุ้นโซลาร์เซลล์” รับนโยบายพลังงาน
จากนโยบายพลังงานส่วนใหญ่มีทิศทางที่ใกล้เคียงกันคือหันมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้นโดยการใช้โซลาร์เซลล์ในภาคครัวเรือนเพื่อพึ่งพาพลังงานจากแสงแดดมาช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหากได้รับพลังงานไฟฟ้ามากเกินความต้องการก็สามารถขายกลับมายังภาครัฐได้วันนี้เราจะมาดูหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้กัน
- บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL)
กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และมีบริษัทในเครือ (Groof) ดำเนินธุรกิจสำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อย กลุ่มที่พักอาศัยให้เข้าถึงระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา
ราคาล่าสุด 4.04 บาท
P/E 11.74 เท่า
เริ่มต้นซื้อขายในตลาดหุ้น 19 ต.ค. 2553
- บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) (SOLAR)
ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่าง ๆ และให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ ทั้งในและต่างประเทศ
ราคาล่าสุด 0.66 บาท
P/E – เท่า
เริ่มต้นซื้อขายในตลาดหุ้น 30 มี.ค. 2548
- บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TSE)
ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบโฟโต้โวลตาอิกหรือโซลาร์เซลล์ (Solar PV) และธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power Plants)
ราคาล่าสุด 2.16 บาท
P/E 6.50 เท่า
เริ่มต้นซื้อขายในตลาดหุ้น 30 ต.ค. 2557
- บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) (SPCG)
ลงทุนและพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) ธุรกิจบริการรับเหมาก่อสร้างโซลาร์ฟาร์มแบบครบวงจร, ธุรกิจบริการด้านการปฏิบัติการการบำรุงรักษาและการประมวลผลโซลาร์ฟาร์ม, ธุรกิจจำหน่ายและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา และผู้แทนจำหน่ายและผู้ให้บริการเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า
ราคาล่าสุด 13.50 บาท
P/E 6.05 เท่า
เริ่มต้นซื้อขายในตลาดหุ้น 20 ธ.ค. 2548
- บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) (AKR)
ดำเนินธุรกิจผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าและบริการซ่อมบำรุงรักษา รับออกแบบติดตั้งรวมทั้งก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย รวมทั้งผลิตและจำหน่ายเซลล์แสงอาทิตย์และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ราคาล่าสุด 0.98 บาท
P/E 9.08 เท่า
เริ่มต้นซื้อขายในตลาดหุ้น 07 ส.ค. 2549
ในช่วงที่ตลาดหุ้นมาความผันผวนทั้งก่อนและหลังเลือกตั้งนักลงทุนสามารมองหา DW เพื่อเก็งกำไรได้แม้ว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นหรือลงก็ตาม อีกหนึ่งเว็บไซต์ที่สามารถเปรียบเทียบสเปค DW ได้ทุกค่ายอย่าลืมมองหาเว็บไซต์ของ DW24 ที่ครบจบในเว็บเดียว
Post Views: 1,134