วันนี้ DW24 จะมาแชร์เทคนิคให้กับนักลงทุนที่เทรด DW ให้เพิ่มโอกาสในการเก็งกำไรพร้อมทั้งสามารถคุมความเสี่ยงระหว่างเทรดได้ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก่า
กลยุทธการเลือก DW
จุดเริ่มต้นของการเทรด DW หากเลือกผิดมีโอกาสทำให้เกิดผลเสียหายต่อพอร์ตเราได้ นักลงทุนจึงต้องรู้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการเลือก DW เพื่อสร้างโอกาสในการเก็งกำไร โดยเริ่มต้นจากการรู้จักแนวทางการเทรดของตนเองก่อนสามารถแบ่งออกไปเป็น 3 แบบดังนี้
- สายรันเทรนด์เทรดตามแผนมั่นคงแน่วแน่
สำหรับแนวทางนี้เหมาะกับ DW ที่ขยับไม่เร็วมากนักเพื่อแลกกับ Time Decay ที่ลดลงน้อยแต่ยังมีผลตอบแทนแลกมาเป็นอัตราทดที่สูงกว่าปกติเล็กน้อย Spec DW ที่เหมาะสมคือ
Sensitivity: 0.5 – 0.7
Gearing: 7 – 10 เท่า (สำหรับ DW อ้างอิงหุ้นรายตัว)
- สายเก็งกำไรระยะสั้นตามข่าวสารพร้อมซื้อ-ขาย
สำหรับแนวทางนี้เหมาะกับ DW ที่ขยับตามหุ้นอ้างอิงเพื่อทำแผนได้ง่าย Time Decay อาจไม่ต่ำมากโดยเน้นผลตอบแทนจากความผันผวนของราคาจากข่าวสารต่างๆ Spec DW ที่เหมาะสมคือ
Sensitivity: 0.7 – 1.1
Gearing: 5 – 7 เท่า (สำหรับ DW อ้างอิงหุ้นรายตัว)
- สายเฝ้าจอพร้อมทำกำไรทุกครั้งที่มีโอกาส
สำหรับแนวทางนี้เหมาะกับ DW ที่ขยับตามหุ้นอ้างอิงแบบที่มี Double point หรือช่องจั๊มเยอะๆ เพื่อทำกำไรจากการขยับของหุ้นอ้างอิงในช่วงสั้นๆ Time Decay เป็นสิ่งที่นักเทรดสายนี้ไม่สนใจ Spec DW ที่เหมาะสมคือ
Sensitivity: 1.1 – 1.3
Gearing: 3 – 5 เท่า (สำหรับ DW อ้างอิงหุ้นรายตัว)
คุมความเสี่ยงด้วย Call / Put DW
ใครที่เทรดหุ้นอยู่แล้วอยากคุมความเสี่ยงด้วย DW เชื่อว่าหลายคนก็ทำกันอยู่ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ยากสามารถทำได้ดังนี้
- หากนักลงทุนถือหุ้น XYZ อยู่ แล้วในช่วงเวลานั้นตลาดหุ้นเป็นช่วงขาลงพอดีทำให้ราคาหุ้นที่ถืออยู่ก็ปรับตัวลงไปด้วย แต่นักลงทุนเชื่อว่าสุดท้ายราคาก็จะวกกลับขึ้นมาที่เดิมและยังอยากถือหุ้นต่อเพื่อรับสิทธิประโยชน์ สามารถทำการซื้อ Put DW เพื่อคุมผลตอบแทนแม้ตลาดหุ้นจะปรับตัวลงขาดทุนแต่ยังมีกำไรจาก Put DW
- เก็งกำไรใน SET50 Futures (ฝั่ง Short) ตามข่าวลบ สามารถคุมความเสี่ยงได้โดยการซื้อ Call DW เพราะใช้เงินไม่มาก
การใช้ DW เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยให้เรามีความเสี่ยงลดลงได้ แต่ถ้าเทรด DW เป็นหลักสามารถคุมความเสี่ยงได้อย่างไรบ้างมาดูกัน
เทคนิคการใช้ DW คุมความเสี่ยงใน DW เป็นวิธีการที่เหมาะการลงทุนในระยะสั้นมากกว่าการถือระยะยาวเนื่องจากความผันผวนของตลาดบางครั้งทำให้เราเกิด Bias ต่อทิศทางของตลาดหุ้นมากจนเกินไป วิธีการคุมความเสี่ยงของการเทรด DW มีดังนี้
- ทำแผนภาพรวมของทิศทางตลาดว่าจะไปในทิศทางใด
- เลือกหา DW จาก Spec ที่เหมาะสมกับตนเอง
- ค้นหา DW ฝั่งตรงข้ามอีกหนึ่งตัวในสเปคที่แตกต่างจากหน้าเทรดของเรา
- หาจุดเข้าของ DW ทั้งสองตัว
ตัวอย่าง
ทิศทางการทำแผนคือคาดว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นต่อได้จากปัจจัยบวกที่เข้ามาโดยมีกรอบเก็งกำไรเป็นแนวรับ/แนวต้าน จึงหาโอกาสเก็งกำไรใน SET50 DW
จากนั้นทำการหา Call DW ที่เหมาะสมกับแนวทางการเก็งกำไร เช่น ได้ Call DW ที่มี Sensitivity 1.0 Gearing 20.50 เท่า โดยกำหนดจุดเข้าอยู่ที่แนวรับ และขายทำกำไรที่แนวต้าน
หลังจากที่ได้ Call DW แล้วทำการหา Put DW ที่ต้องการคุมความเสี่ยงฝั่งตรงข้าม โดยเลือก Sensitivity ที่ต่ำกว่าฝั่ง Call ที่เราจะทำแผนและ Gearing ที่ต่ำกว่า เช่น Put DW ที่นำมาคุมความเสี่ยงมี Sensitivity 0.80 และ Gearing 17.00 เท่า
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ทิศทางเรามองว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นต่อจึงเข้าเก็งกำไรใน Call DW และคุมความเสี่ยงด้วย Put DW ซึ่งมีผลต่างของอัตราทดประมาณ 3.5 เท่า หรือถ้าหุ้นแม่ปรับตัวขึ้นตามแผน 1% เราก็จะมีกำไรประมาณ 3.5% เช่นกัน หรือถ้าตลาดหุ้นปรับตัวลงก็จะมี DW ฝั่ง Put มาช่วยให้เกิดผลขาดทุนน้อยลงได้ด้วย
Tips: ช่วงของการแกว่งตัวอยู่ในกรอบไม่ว่าจะเป็นหุ้นรายตัวหรือดัชนีสามารถเก็งกำไรและคุมความเสี่ยงไปได้พร้อมๆกันคือ เมื่อราคาหุ้น/ดัชนีลงมาบริเวณแนวรับและไม่หลุดเป็นโอกาสในการเข้า Call DW อยากคุมความเสี่ยงก็สามารถซื้อ PUT DW ได้ที่แนวต้านเช่นกัน หากราคาแกว่งตัวอยู่ในกรอบผลกำไรจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับการเก็งกำไรเพียงแค่ตัวใดตัวหนึ่ง |
Post Views: 108