การลงทุนที่ทุกคนรู้จักกันอย่าง “หุ้น” นอกจากจะต้องมีการศึกษาทั้งในเรื่องของเทคนิคอลและปัจจัยพื้นฐานควบคู่กันไปแล้ว การขยับราคาของหุ้นนั้นสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงแค่ 1 – 3% ต่อวันเท่านั้น แต่สำหรับการลงทุน DW นั้นจะเป็นอะไรที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก DW มีตัวคูณผลตอบแทนทำให้ได้รับผลตอบแทนมากกว่าหุ้น 3 – 5 เท่าเลยทีเดียว อีกทั้งยังทำกำไรได้ทั้งขาขึ้น – ขาลงอีกด้วย นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถเลือกลงทุน DW ได้ทั้งแบบอ้างอิงราคากับ “หุ้นอ้างอิง” และอ้างอิงราคากับ “ดัชนีอ้างอิง” แล้วการลงทุนทั้ง 2 แบบจะมีรายละเอียดอย่างไร รวมถึงมีวิธีพิจารณาราคาและวางแผนลงทุนที่แตกต่างกันไหม ที่นี่มีคำตอบ
DW อ้างอิงหุ้น
DW อ้างอิงหุ้น คือ DW ที่จะอ้างอิงราคากับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ อาจเป็นหุ้นไทย หรือ หุ้นต่างประเทศก็ได้ โดยหุ้นตัวที่ DW ไปอ้างอิงราคานี้จะเรียกว่า “หุ้นอ้างอิง” หรือ “หุ้นแม่” ซึ่งโดยปกติทั่วไปจะมีให้เลือกเทรดทั้ง Call DW และ Put DW ราคาของ DW จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่สอดคล้องกับราคาของหุ้นแม่
สัญลักษณ์ DW อ้างอิงหุ้นรายตัว
UUUUUUXXCYYMMA |
UUUUUU | ชื่อหุ้นอ้างอิง มีรหัสไม่เกิน 6 ตัว เช่น ADVANC, CENTEL, AOT เป็นต้น |
XX | หมายเลขรหัสผู้ออก เช่น 24 จะเป็น Finansia Syrus |
C | ประเภทของ DW หากเป็นตัว C จะเป็น Call DW หากเป็นตัว P จะเป็น Put DW |
YYMM | วันหมดอายุของ DW โดย 2 ตัวแรกบอกปี ค.ศ. ที่หมดอายุ และ 2 ตัวถัดไปบอกเดือนที่หมดอายุ |
A | รุ่นของ DW |
เทคนิคการพิจารณา DW อ้างอิงบนหุ้นเบื้องต้น
นอกจากอัตราทด (Effective Gearing) ค่าเสื่อมเวลา (Time Decay) และปัจจัยเฉพาะอื่น ๆ แล้ว การลงทุน DW ที่อ้างอิงหุ้นรายตัวยังต้องพิจารณาอีก 2 ปัจจัยหลัก ประกอบไปด้วย
1. พฤติกรรมของหุ้นอ้างอิง
การรู้จักพฤติกรรมของหุ้นที่ DW ไปอ้างอิงราคาอยู่นั้นมีส่วนสำคัญในการวางแผนลงทุน DW ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับผู้ที่ถือ DW
โดยพฤติกรรมราคาของหุ้นแม่ ไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงทิศทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของกิจการ ตลอดจนความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความต้องการซื้อและขายในตลาดของนักลงทุน รวมถึงความผันผวนในตลาด
และสำหรับ DW ที่อ้างอิงราคากับหุ้นแล้ว พฤติกรรมของหุ้นแม่นี้จะสามารถช่วยให้นักลงทุนวางแผนและสร้างกลยุทธ์ได้อย่างสะดวกและทันต่อการตัดสินใจได้มากขึ้น
2. Sensitivity ของ DW
จริงอยู่ว่า หุ้นอ้างอิงนั้นเป็นตัวกำหนดราคา DW โดยตรง แต่อย่างไรก็ดี การพิจารณาราคาหุ้นแม่เทียบกับ DW เพื่อวางแผนการลงทุนที่รัดกุมและแม่นยำมากขึ้นยังต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า Sensitvity เช่นกัน
โดย Sensitivity คือ ค่าบอกการเปลี่ยนแปลงของราคา DW เมื่อเทียบกับหุ้นอ้างอิง 1 ช่วงราคา ซึ่งความสัมพันธ์ราคาของทั้งหุ้นอ้างอิงและ DW จะมีหน่วยเป็น “ช่อง”
ตัวอย่างเช่น
- DW A มีค่า Sensitivity = 2 เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนไป 1 ช่วงราคา ราคา DW ก็จะเปลี่ยน 2 ช่อง
- DW B มีค่า Sensitivity = 1 เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนไป 1 ช่วงราคา ราคา DW ก็จะเปลี่ยน 1 ช่อง
ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่จึงมักเลือก DW ที่มีค่า Sensitivity ใกล้ 1 เพื่อวางแผนลงทุนในการเข้าซื้อขายออกได้อย่างสะดวกนั่นเอง
DW อ้างอิงดัชนี
DW อ้างอิงดัชนี คือ DW ที่มีการอ้างอิงราคากับดัชนีที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของกลุ่มหุ้น เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นใหญ่ 50 ตัว ก็จะเรียกว่าดัชนี SET50 เป็นต้น
DW อ้างอิงดัชนี แตกต่างจาก DW อ้างอิงหุ้นรายตัวอย่างไร?
การลงทุน DW อ้างอิงดัชนีเปรียบเสมือนเป็นการกระจายความเสี่ยงไปยังหุ้นทั้งหมดที่อยู่ในดัชนีหลักทรัพย์ ทำให้หลายครั้งการลงทุน DW ที่อ้างอิงดัชนีมีความผันผวนเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่าแต่มูลค่าสูงกว่าหุ้นรายตัว ทางผู้ออกจึงให้ Effective Gearing ที่สูง แต่ก็ต้องแลกกับ Time decay ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับ DW ที่อ้างอิงหุ้นรายตัว จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเทรดระยะสั้นตามสภาวะตลาด
สัญลักษณ์ DW อ้างอิงดัชนี
UUUUUUXXCYYMMA |
UUUUUU | ชื่อดัชนี เช่น SET50 แทนดัชนีอ้างอิง SET50 Futures, HSI อ้างอิงกับดัชนี Hang Seng เป็นต้น |
XX | แทนหมายเลขรหัสผู้ออก เช่น 24 จะเป็น Finansia Syrus |
C | ประเภทของ DW หากเป็นตัว C จะเป็น Call DW หากเป็นตัว P จะเป็น Put DW |
YYMM | วันหมดอายุของ DW โดย 2 ตัวแรกบอกปี ค.ศ. ที่หมดอายุ และ 2 ตัวถัดไปบอกเดือนที่หมดอายุ |
A | รุ่นของ DW |
เลือกเทรด DW อ้างอิงอะไรให้โดนใจนักลงทุน
หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังตัดสินใจไม่ได้ว่าตัวเองเหมาะกับ DW แบบไหนกันแน่ สามารถลองพิจารณาสไตล์การลงทุนของตัวเองควบคู่ไปกับเทคนิคการเลือก ดังนี้
- หากคุณเป็นคนที่รับความเสี่ยงและความผันผวนได้สูง ไม่เน้นถือรันเทรนด์นาน หรือ ถือ 1-2 วัน เราขอแนะนำให้ลงทุน SET50 DW เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีเป็นไปตามปัจจัยต่าง ๆ แบบภาพรวมที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ จึงสามารถเก็งกำไรจากข่าวที่เกิดขึ้นมากกว่าพื้นฐานของหุ้นที่อยู่ใน SET50
- หากคุณต้องการรันเทรนด์เทรด หรือ ถือ 3-7 วัน ตามปัจจัยพื้นฐานบริษัท เก็งกำไรตามประโยชน์ในหุ้นรายกลุ่ม ทางเราขอแนะนำให้เลือกลงทุน DW ที่อ้างอิงหุ้นรายตัว เนื่องจากสามารถรันเทรนด์ได้ตามสภาวะข่าวดีและพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงยังสามารถเก็งกำไรขาขึ้น-ขาลงของหุ้นได้ เพราะ มีทั้ง Call และ Put รวมถึง Time Decay ของ DW ที่อ้างอิงหุ้นมักจะต่ำ และออกแบบมาสำหรับการถือเก็งกำไร
รู้หรือไม่? นักลงทุนไทยสามารถลงทุน DW ที่อ้างอิงกับหุ้นและดัชนีได้ทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว การลงทุน DW ที่อ้างอิงหุ้นและดัชนีต่างประเทศนั้นจะสามารถลงทุนได้ในเวลาการเปิด – ปิดตลาดหลักทรัพย์ไทยเท่านั้น จึงมีความเสี่ยงจากความผันผวนของดัชนีต่างประเทศระหว่างที่ DW ปิดการซื้อ-ขาย |
เพียงเท่านี้ นักลงทุนก็สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง DW อ้างอิงหุ้นรายตัว และ DW อ้างอิงดัชนีได้ พร้อมรู้จักวิธีเบื้องต้นในการพิจารณาราคา DW แต่ละประเภทได้แล้ว สำหรับนักลงทุนคนไหนที่ต้องการเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนกับสนามลงทุน DW อย่าลืมมองหา DW24 ที่มีให้เลือกทั้ง DW อ้างอิงหุ้นรายตัวและอ้างอิงดัชนี มาพร้อมกับ Effective Gearing สูง Time Decay ที่เป็นมิตรต่อนักลงทุน พร้อมตารางราคาที่ครบทุกรายละเอียดเพื่อเพิ่มความสะดวกในการวางแผนลงทุนได้ดีที่สุด
Post Views: 1,548