fbpx

CBBC คืออะไร? เข้าใจในตอนเดียว

June 2, 2023

CBBC เป็นตราสารชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ DW โดยเป็นที่นิยมกันในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศอังกฤษ เยอรมนี เป็นต้น สำหรับเอเชีย CBBC ตัวแรกเริ่มซื้อขายที่ฮ่องกงในเดือนมิ.ย. 2006 สามารถใช้เก็งกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง

ทำความรู้จัก CBBC คืออะไร

CBBC ย่อมาจาก Callable Bull/Bear Contracts เป็นผลิตภัณฑ์ที่มี leverage และมีการคำนวณราคาเพื่อใช้ในการซื้อขาย พร้อมทั้งสามารถเก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลงดังนี้

  • Callable Bull Contract

เป็นการเก็งกำไรในมุมมองฝั่งขึ้นเช่นเดียวกับ Call DW

  • Callable Bear Contract

เป็นการเก็งกำไรในมุมมองฝั่งลงเช่นเดียวกับ Put DW

CBBC คืออะไร

เทียบ CBBC กับ DW

จากที่บอกว่า CBBC นั้นมีความคล้ายคลึงกับ DW มาดูกันว่าผลิตภัณฑ์ทั้งสองตัวนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

 DWCBBC
ผู้ออกบริษัทหลักทรัพย์ / ธนาคารที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต.บริษัทหลักทรัพย์ / ธนาคารที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต.
หลักทรัพย์อ้างอิงหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
• หุ้นรายตัวตามประกาศ SET
• ดัชนีหลักทรัพย์ในประเทศ
• ดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศ
• หุ้นรายตัวต่างประเทศตามประกาศ SET
• หน่วยลงทุนอีทีเอฟ
• หุ้นรายตัวในประเทศ
• หุ้นรายตัวต่างประเทศ
• ดัชนีหลักทรัพย์ในประเทศ
• ดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ประเภท• สิทธิในการซื้อ (Call DW)
• สิทธิในการขาย (Put DW)
• Bull Contracts
• Bear Contracts
การใช้สิทธิCash SettlementCash Settlement
ระยะเวลาใช้สิทธิEuropean (ใช้สิทธิครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดอายุ)ใช้สิทธิเมื่อครบกำหนดอายุ หรือราคาลงมาถึง Call Price
อายุสัญญา2 เดือน – 2 ปี3 เดือน – 5 ปี
ผู้ดูแลสภาพคล่องมีผู้ดูแลสภาพคล่อง 1 รายมีผู้ดูแลสภาพคล่อง

เมื่อเปรียบเทียบภาพรวมระหว่าง DW กับ CBBC จะพบว่ามีความใกล้เคียงกันอย่างมากทั้งผู้ออกและรูปแบบการเก็งกำไร แต่มีจุดที่น่าสนใจของ CBBC คือการใช้สิทธิของ CBBC ที่จะแตกต่างกันตรงที่ Call price ในที่นี้จะเป็นราคาที่กำหนดไว้ว่าเมื่อไหร่ที่ราคาหุ้นอ้างอิงลงมาถึงตราสารชนิดนี้จะถือว่าสิ้นสุดและผู้ที่ถือตราสารจะต้องใช้สิทธิในทันที

โครงสร้างราคาของ CBBC

ราคาของ CBBC ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ

1. Intrinsic Value เป็นมูลค่าที่แท้จริงของ CBBC เปรียบเสมือน DW ที่อยู่ในสถานะของ ITM โดย CBBC ทุกตัวจะมีมูลค่าที่แท้จริงเสมอ

2. Financial cost หรือ Funding cost เป็นมูลค่าทางต้นทุนของ CBBC หากเทียบกับ DW ก็คือรูปแบบของ time decay นั่นเอง โดยมูลค่าในส่วนนี้ทางผู้ออกจะเป็นคนกำหนดตั้งแต่การออกขาย CBBC ซึ่งมูลค่าจะแปรผันตามอายุคงเหลือของสัญญา โดยรายละเอียดของโครงสร้างราคาของ CBBC จะเป็นไปตารางรูปด้านล่างนี้

ราคา CBBC

ประเภทของ CBBC

CBBC ประกอบไปด้วย 2 ประเภทหลักและในแต่ละประเภทจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยดังนี้

1. Callable Bull Contract

Category R : Call price จะต้องมากกว่าราคาใช้สิทธิ

Category N : Call price จะมีราคาเท่ากับราคาใช้สิทธิ

2. Callable Bear Contract

Category R : Call price จะต้องมากกว่าราคาใช้สิทธิ

Category N : Call price จะมีราคาเท่ากับราคาใช้สิทธิ

ประเภทของ CBBC
Tip: Call Price เปรียบเสมือนจุด Cut loss ของตราสารชนิดนั้นๆ โดยเราไม่จำเป็นต้องตั้งเงื่อนไขใดๆเพิ่มเติมแต่จะเป็นการบังคับอยู่ในสิทธิของตราสารที่เราจะต้องทำตามทุกกรณีช่วยให้นักลงทุนสามารถควบคุมความเสี่ยงของตนเองได้อีกทาง