Derivative Warrant คืออะไร รู้ไว้ก่อนเริ่มต้นเทรดจริง
DW Knowledge
ความรู้เบื้องต้น DW ที่นักลงทุนต้องรู้
สัญลักษณ์ DW
Call DW และ Put DW คืออะไร?
มูลค่าของ DW มาจากไหน?
ปัจจัยที่มีผลต่อราคา DW
นักลงทุนที่เหมาะสมกับการลงทุน DW
คำศัพท์ DW

ครบจบที่เดียว! รวมความรู้ DW ทั้งหมดที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนตัดสินใจลงทุน


ถึงการลงทุน DW จะมีความเสี่ยงสูง แต่นักลงทุนก็สามารถปรับใช้ความรู้พื้นฐานของการลงทุน DW เพื่อบริหารและจัดการความเสี่ยงได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อช่วยให้นักลงทุนได้ลงทุน DW พร้อมสร้างแผนรับมือความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ DW24 จะพาทุกคนไปรู้จัก DW ให้มากขึ้น อ่านจบพร้อมหมดข้อสงสัยไปเลยว่า DW เล่นยังไง และ DW ควรซื้อขายอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ความรู้เบื้องต้น DW ที่นักลงทุนต้องรู้


  • DW คือ ตราสารอนุพันธ์ โดย DW ย่อมาจากคำว่า Derivative Warrant ซึ่งเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
  • DW เป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET)
  • ผู้ออก DW คือ บริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคาร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นอ้างอิง
  • ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง (Call / Put)
  • ซื้อขายเหมือนหุ้น (ขั้นต่ำ 100 หน่วย) และค่าคอมมิชชั่นเท่ากับหุ้น
  • มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker)
  • ไม่สามารถแลกเป็นหุ้นอ้างอิงได้เมื่อถึงวันครบกำหนดอายุ

การลงทุน DW แตกต่างจากหุ้นและ Warrant อย่างไร?

นักลงทุนมือใหม่อาจเข้าใจว่าการลงทุน “หุ้น” “DW” และ “Warrant” เป็นการลงทุนที่เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนทั้ง 3 ประเภทนี้เป็นการลงทุนที่แตกต่างกันโดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสามารถพิจารณาได้ตามรายละเอียดดังตารางนี้

ความแตกต่าง หุ้น DW Warrants
ผู้ออก บริษัทมหาชนจํากัด หรือ บมจ. ที่ต้องการระดมเงินจากประชาชน เป็นบุคคลที่สาม ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิง บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์
รายละเอียดสัญญา กำหนดโดยบริษัทมหาชนจํากัด หรือ บมจ. กำหนดโดยผู้ออก DW กำหนดโดยบริษัทจดทะเบียน
วันครบกำหนดอายุ - กำหนดโดยผู้ออก DW กำหนดโดยบริษัทจดทะเบียน
ประเภทสิทธิที่ให้ ขึ้นอยู่กับประเภทของหุ้นที่ลงทุน การใช้สิทธิไม่มีผลทำให้จำนวนของหลักทรัพย์อ้างอิงเพิ่มขึ้นหรือลดลง บริษัทจดทะเบียนจะเพิ่มทุนเพื่อรองรับการใช้สิทธิและออกหุ้นเพิ่มทุนเมื่อมีผู้มาใช้สิทธิ

สัญลักษณ์ DW


หากอยากรู้ว่า DW เล่นยังไง และ DW ย่อมาจากอะไรแล้ว นักลงทุนยังจะต้องเข้าใจสัญลักษณ์ของ DW แต่ละตัวด้วยเช่นกัน โดย DW จะมีสัญลักษณ์ด้วยกัน 14 ตัว และแต่ละตัวจะมีความหมาย ดังนี้

DW Symbol
UUUUUUXXCYYMMA
UUUUUU ชื่อหุ้นอ้างอิง มีรหัสไม่เกิน 6 ตัว เช่น ADVANC, CENTEL, AOT หรือ SET50 เป็นต้น
XX หมายเลขผู้ออก DW เช่น ถ้าเป็น DW24 จะมีหมายเลขในส่วนนี้เป็น 24
C ประเภทของสิทธิ ถ้าเป็น C = Call DW และ P = Put DW
YYMM เวลาหมดอายุของ DW ย่อมาจากปีและเดือน ตัวอย่างเช่น 2212 หมายถึง DW จะหมดอายุในเดือนปี 2022 (22) เดือนธันวาคม (12)
A รุ่นของ DW โดยจะเรียงตั้งแต่ A - Z

ตัวอย่าง : ADVANC24C2312A จะมีความหมายได้ว่า

  • DW ที่อ้างอิงกับหุ้น ADVANC
  • ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส (Broker No.24)
  • ประเภทสิทธิ Call DW
  • หมดอายุเดือนธันวาคม ปี 2023
  • รุ่น A

Call DW และ Put DW คืออะไร?


สำหรับผู้ที่สงสัยว่า DW ซื้อขายอย่างไร สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจต่อจากสัญลักษณ์ของ DW ก็คือประเภทของสิทธิ DW นั่นเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิทธิของ DW จะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือ Call DW และ Put DW โดยแต่ละประเภทจะเหมาะสมกับการลงทุนในช่วงเวลาและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้


DW Call DW Put DW
มุมมองต่อหุ้นอ้างอิง ซื้อเมื่อมองว่าหุ้นอ้างอิงจะขึ้น ซื้อเมื่อมองว่าหุ้นอ้างอิงจะลง
การทำกำไร กำไรเมื่อหุ้นอ้างอิงขึ้น กำไรเมื่อหุ้นอ้างอิงลง
การเคลื่อนไหว ทิศทางเดียวกับหุ้นอ้างอิง ทิศทางตรงกันข้ามกับหุ้นอ้างอิง
ตลาดที่เหมาะลงทุน ตลาดขาขึ้น ตลาดขาลง

มูลค่าของ DW มาจากไหน?


มูลค่าของ DW นั้นเกิดขึ้นจากมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) รวมกับ มูลค่าทางเวลา (Time Value) ซึ่ง DW24 จะขออธิบายแต่ละปัจจัยดังนี้

ส่วนที่ 1 : มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)

มูลค่าที่แท้จริงของ DW คือ ส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นอ้างอิงและราคาใช้สิทธิของ DW ตัวนั้น ๆ ซึ่งมูลค่าแท้จริงของ DW สามารถสะท้อนปัจจัยต่าง ๆ ได้ เช่น สภาพเศรษฐกิจ ราคาของดัชนีและหุ้นอ้างอิงที่อยู่ในตลาดหุ้นว่ามีแนวโน้มและทิศทางไปอย่างไร ตามหลักแล้วการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงของ DW สามารถทำได้ ดังนี้

  • call dw : Max ((ราคาหุ้นอ้างอิง – ราคาใช้สิทธิ) * อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วย),0)
  • put dw : Max ((ราคาใช้สิทธิ – ราคาหุ้นอ้างอิง) * อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วย),0)

ส่วนที่ 2 : มูลค่าทางเวลา (Time Value)

DW เป็นผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงมูลค่าไปตามกาลเวลา ซึ่งจะเรียกว่า Time Decay หรือก็คือค่าเสื่อมเวลาที่คอยกำหนดราคาของ DW แต่ละตัว ซึ่งมูลค่าทางเวลานี้จะขึ้นกับอายุคงเหลือของ DW และ ความผันผวนของราคาหุ้นแม่หรือดัชนี กล่าวคือ ถ้าราคาของหุ้นอ้างอิงคงที่ และ DW มีอายุคงเหลือลดลง จะส่งผลให้ Time Value ลดลงตามไปด้วยทำให้มูลค่าของ DW ลดลง

ลักษณะมูลค่าที่แท้จริงของ DW ดูได้อย่างไร?

สถานะของ DW หรือ Moneyness จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ In-The-Money (ITM), At-The-Money (ATM) และ Out-of-The-Money (OTM) ซึ่งสถานะทั้ง 3 นี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมูลค่าที่แท้จริงและมูลค่าของเวลา โดยแต่ละตัวนั้นจะมีหลักการดูได้ ดังนี้

DW Moneyness Intrinsic Value Time Value
In the Money มาก น้อย
At the Money 0 มาก
Out of the Money 0 น้อย

การดูสถานะต่างๆของ DW ในฝั่ง Call และ Put

Moneyness Call DW Put DW
In-The-Money (ITM) ราคาหุ้นอ้างอิง > ราคาใช้สิทธิ ราคาหุ้นอ้างอิง < ราคาใช้สิทธิ
At-The-Money (ATM) ราคาหุ้นอ้างอิง = ราคาใช้สิทธิ
Out-of-The-Money (OTM) ราคาหุ้นอ้างอิง < ราคาใช้สิทธิ ราคาหุ้นอ้างอิง > ราคาใช้สิทธิ

ยิ่ง DW มีสถานะ OTM มากเท่าไหร่ (ราคาหุ้นอ้างอิงต่างจากราคาใช้สิทธ์มาก) Effective Gearing จะยิ่งสูง

นอกจากนี้ สถานะทั้ง 3 ยังช่วยตอบคำถาม DW เล่นยังไงได้อีกด้วย โดยสถานะเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นอ้างอิงและราคาใช้สิทธิของ DW ทั้ง Call DW และ Put DW โดยจะแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมในการลงทุน DW แต่ละตัวในช่วงเวลาขณะนั้น เพื่อช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจซื้อขายและวางแผนการลงทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อราคา DW


ถึงความรู้เกี่ยวกับตัว DW จะช่วยทำให้นักลงทุนวางแผนและรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นักลงทุนยังต้องติดตามข่าวสาร ตลอดจนเรียนรู้ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา DW เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว ปัจจัยหลักที่มีผลต่อราคา DW จะมีด้วยกัน 6 ประเภท ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

ปัจจัย การเปลี่ยนแปลง ผลต่อราคา Call DW ผลต่อราคา Put DW
ราคาซื้อขายหุ้นอ้างอิง หรือก็คือหุ้นแม่ (Spot Price) ขึ้น มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าต่ำลง
ลง มูลค่าต่ำลง มูลค่าสูงขึ้น
ราคาใช้สิทธิ (Strike Price) ขึ้น มูลค่าต่ำลง มูลค่าสูงขึ้น
ลง มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าต่ำลง
ค่าความผันผวนของราคาซื้อขายหุ้นอ้างอิง (Volatillity) เพิ่มสูงขึ้น มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าสูงขึ้น
ลดต่ำลง มูลค่าต่ำลง มูลค่าต่ำลง
เวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันครบกำหนดอายุ (Time to Maturity) ระยะเวลามาก มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าสูงขึ้น
ระยะเวลาน้อย มูลค่าต่ำลง มูลค่าต่ำลง
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rates) ขึ้น มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าต่ำลง
ลง มูลค่าต่ำลง มูลค่าสูงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของเงินปันผลหุ้นอ้างอิง (Dividend) ขึ้น มูลค่าต่ำลง มูลค่าสูงขึ้น
ลง มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าต่ำลง

นักลงทุนที่เหมาะสมกับการลงทุน DW


  1. ข้อดีของการลงทุนหุ้น DW คือ ต้นทุนในการลงทุนที่ไม่สูงมาก หากใครชอบลงทุนใช้เงินน้อย แต่เก็งกำไรได้มาก DW คือ สิ่งที่ตอบโจทย์ในการลงทุน รวมไปถึงโอกาสที่จะเก็งกำไรตามความผันผวนของดัชนี
  2. การเทรดหุ้นคือการลงทุนที่ต้องเลือกซื้อหรือขายในบางช่วงเวลา เช่น เก็งกำไรในช่วงสภาวะตลาดขาขึ้น แต่จุดเด่นที่สำคัญของ DW คือสามารถให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้โดยใช้ Call DW ในสภาวะตลาดขาขึ้น และ Put DW ในสภาวะตลาดขาลง
  3. ค่าคอมมิชชั่นถูก กล่าวคือ ราคา DW มักจะต่ำกว่าราคาหุ้นอ้างอิงมาก เช่น DW ราคา 0.50 บาท ราคาหุ้นอ้างอิงอยู่ที่ 50 บาท แปลว่า นักลงทุนจ่ายค่าคอมมิชชั่นในการซื้อ DW น้อยลง 100 เท่าเมื่อเทียบกับการซื้อขายหุ้นอ้างอิงในปริมาณหุ้นที่เท่ากัน

ประโยชน์และความเสี่ยงของ DW ที่นักลงทุนต้องรู้


ประโยชน์ของ DW

  • ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการซื้อขายหุ้นอ้างอิงโดยตรง
  • DW คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราทด (Gearing) สามารถทำกำไรได้มาก แม้หุ้นอ้างอิงหรือดัชนีอ้างอิงจะเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย
  • สามารถจำกัดผลการขาดทุนได้ แต่มีโอกาสทำกำไรได้ไม่จำกัด
  • สามารถทำกำไรได้ ไม่ว่าราคาหุ้นอ้างอิงจะปรับตัวขึ้นหรือลง
  • มีสภาพคล่องสูงเนื่องจากมีผู้ดูแลสภาพคล่องทำให้นักลงทุนสามารถซื้อขาย DW ได้ตามที่ต้องการ
  • ไม่ต้องวางหลักประกันล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งข้อดีของการลงทุน DW ที่อ้างอิงหุ้น
สิ่งที่นักลงทุนเข้าใจมักผิดเกี่ยวกับ DW

  • DW ที่ราคาต่ำกว่าไม่ได้ดีเสมอไป
    การเปรียบเทียบความถูกแพงของ DW ควรพิจารณาจากความผันผวนแฝง (Implied Volatility) หาก DW ตัวใดมีความผันผวนแฝงน้อยกว่าถือว่ามูลค่าจะถูกกว่า (เทียบกับสเปคที่ใกล้เคียงกัน) แต่ในทางปฏิบัติแล้ว DW ที่ได้รับความนิยมอาจไม่ได้มีความผันผวนแฝงน้อยที่สุดก็ได้ เพราะสุดท้ายแล้วการเทรด DW จำเป็นต้องเลือกสเปคที่เหมาะสมกับตัวเองในการเทรด
  • การซื้อ DW ราคาต่ำเพื่อหวังผลกำไรต่อช่องสูงๆ
    นักลงทุนบางคนอาจชอบซื้อ DW ราคาต่ำ ๆ เช่น 0.05 บาท เพราะคิดว่าถ้าราคาปรับเพียง 1 ช่อง จะทำให้ตนเองได้รับกำไร 20% ความเป็นจริงแล้วการขยับ 1 ช่องของ DW ราคา 0.05 บาท หุ้นอ้างอิงอาจจะต้องมีการขยับ 8-10 ช่อง ดังนั้นการหา DW ที่ราคาต่ำเพื่อหวังให้ขยับเพียงแค่ 1 ช่องแล้วทำกำไรนั้น จำเป็นต้องเลือกหาสเปคที่เหมาะสมกับการเทรดควบคู่กันไปด้วย เช่น ค่า Sensitivity ใกล้ 1, Gearing อยู่ระหว่าง 5-8 เท่า เป็นต้น
  • การถัว DW เพิ่ม เพื่อกดราคาต้นทุนให้ต่ำลง
    ความเป็นจริงแล้วการเทรด DW นั้นแตกต่างกับการเทรดหุ้นเนื่องจาก DW มีอัตราทด กล่าวคือทางขึ้นก็ช่วยให้พอร์ตของเรากำไรได้เพิ่มมากขึ้น แต่การถัว DW นั้น จะเป็นต้องวางแผนให้ดี เนื่องจากต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะอาจจะทำให้พอร์ตของเรามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากราคาหุ้นแม่ไม่เป็นไปตามที่เราวางแผนราคาไว้
  • สามารถถือ DW ได้จนหมดอายุ (เมื่อมีสถานะ ITM)
    จริงอยู่ที่ DW สถานะ ITM จะได้รับเงินสดส่วนต่างสุทธิคืนแต่การที่นักลงทุนถือไปใช้สิทธิจำนวนเงินที่ได้รับจะถูกจำแนกอยู่กลุ่มเดียวกับเงินปันผลจากหุ้น จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และอาจจำเป็นต้องเลือกนำไปยื่นเป็นรายได้ประจำปีด้วย อีกทั้งการได้รับเงินสดส่วนต่างสุทธิคืนจำเป็นต้องใช้เวลา T+8 วันนับตั้งแต่วันซื้อขายสุดท้าย ดังนั้นนักลงทุนอาจจะเสียโอกาสในการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปลงทุนต่อ ผู้ออกจึงแนะนำให้ทำการขาย DW ออกภายในวันซื้อขายสุดท้ายเพราะจะได้รับเงินกลับไปลงทุนต่อทันที และราคา DW ในวันสุดท้ายจะมีมูลค่าใกล้เงินสดส่วนต่างสุทธิที่นักลงทุนจะได้รับเมื่อถือไปใช้สิทธิ

ครบจบที่เดียว! รวมความรู้ DW ทั้งหมดที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนตัดสินใจลงทุน


ถึงการลงทุน DW จะมีความเสี่ยงสูง แต่นักลงทุนก็สามารถปรับใช้ความรู้พื้นฐานของการลงทุน DW เพื่อบริหารและจัดการความเสี่ยงได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อช่วยให้นักลงทุนได้ลงทุน DW พร้อมสร้างแผนรับมือความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ DW24 จะพาทุกคนไปรู้จัก DW ให้มากขึ้น อ่านจบพร้อมหมดข้อสงสัยไปเลยว่า DW เล่นยังไง และ DW ควรซื้อขายอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ความรู้เบื้องต้น DW ที่นักลงทุนต้องรู้

  • DW คือ ตราสารอนุพันธ์ โดย DW ย่อมาจากคำว่า Derivative Warrant ซึ่งเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
  • DW เป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET)
  • ผู้ออก DW คือ บริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคาร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นอ้างอิง
  • ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง (Call / Put)
  • ซื้อขายเหมือนหุ้น (ขั้นต่ำ 100 หน่วย) และค่าคอมมิชชั่นเท่ากับหุ้น
  • มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker)
  • ไม่สามารถแลกเป็นหุ้นอ้างอิงได้เมื่อถึงวันครบกำหนดอายุ

การลงทุน DW แตกต่างจากหุ้นและ Warrant อย่างไร?

นักลงทุนมือใหม่อาจเข้าใจว่าการลงทุน “หุ้น” “DW” และ “Warrant” เป็นการลงทุนที่เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนทั้ง 3 ประเภทนี้เป็นการลงทุนที่แตกต่างกันโดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสามารถพิจารณาได้ตามรายละเอียดดังตารางนี้

ความแตกต่าง หุ้น DW Warrants
ผู้ออก บริษัทมหาชนจํากัด หรือ บมจ. ที่ต้องการระดมเงินจากประชาชน เป็นบุคคลที่สาม ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิง บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์
รายละเอียดสัญญา กำหนดโดยบริษัทมหาชนจํากัด หรือ บมจ. กำหนดโดยผู้ออก DW กำหนดโดยบริษัทจดทะเบียน
วันครบกำหนดอายุ - กำหนดโดยผู้ออก DW กำหนดโดยบริษัทจดทะเบียน
ประเภทสิทธิที่ให้ ขึ้นอยู่กับประเภทของหุ้นที่ลงทุน การใช้สิทธิไม่มีผลทำให้จำนวนของหลักทรัพย์อ้างอิงเพิ่มขึ้นหรือลดลง บริษัทจดทะเบียนจะเพิ่มทุนเพื่อรองรับการใช้สิทธิและออกหุ้นเพิ่มทุนเมื่อมีผู้มาใช้สิทธิ
สัญลักษณ์ DW

หากอยากรู้ว่า DW เล่นยังไง และ DW ย่อมาจากอะไรแล้ว นักลงทุนยังจะต้องเข้าใจสัญลักษณ์ของ DW แต่ละตัวด้วยเช่นกัน โดย DW จะมีสัญลักษณ์ด้วยกัน 12 ตัว และแต่ละตัวจะมีความหมาย ดังนี้

DW Symbol
UUUUUUXXCYYMMA
UUUUUU ชื่อหุ้นอ้างอิง มีรหัสไม่เกิน 6 ตัว เช่น ADVANC, CENTEL, AOT หรือ SET50 เป็นต้น
XX หมายเลขผู้ออก DW เช่น ถ้าเป็น DW24 จะมีหมายเลขในส่วนนี้เป็น 24
C ประเภทของสิทธิ ถ้าเป็น C = Call DW และ P = Put DW
YYMM เวลาหมดอายุของ DW ย่อมาจากปีและเดือน ตัวอย่างเช่น 2212 หมายถึง DW จะหมดอายุในเดือนปี 2022 (22) เดือนธันวาคม (12)
A รุ่นของ DW โดยจะเรียงตั้งแต่ A - Z

ตัวอย่าง : ADVANC24C2312A จะมีความหมายได้ว่า

  • DW ที่อ้างอิงกับหุ้น ADVANC
  • ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส (Broker No.24)
  • ประเภทสิทธิ Call DW
  • หมดอายุเดือนธันวาคม ปี 2023
  • รุ่น A

Call DW และ Put DW คืออะไร?


สำหรับผู้ที่สงสัยว่า DW ซื้อขายอย่างไร สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจต่อจากสัญลักษณ์ของ DW ก็คือประเภทของสิทธิ DW นั่นเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิทธิของ DW จะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือ Call DW และ Put DW โดยแต่ละประเภทจะเหมาะสมกับการลงทุนในช่วงเวลาและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้


DW Call DW Put DW
มุมมองต่อหุ้นอ้างอิง ซื้อเมื่อมองว่าหุ้นอ้างอิงจะขึ้น ซื้อเมื่อมองว่าหุ้นอ้างอิงจะลง
การทำกำไร กำไรเมื่อหุ้นอ้างอิงขึ้น กำไรเมื่อหุ้นอ้างอิงลง
การเคลื่อนไหว ทิศทางเดียวกับหุ้นอ้างอิง ทิศทางตรงกันข้ามกับหุ้นอ้างอิง
ตลาดที่เหมาะลงทุน ตลาดขาขึ้น ตลาดขาลง

มูลค่าของ DW มาจากไหน?


มูลค่าของ DW นั้นเกิดขึ้นจากมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) รวมกับ มูลค่าทางเวลา (Time Value) ซึ่ง DW24 จะขออธิบายแต่ละปัจจัยดังนี้

ส่วนที่ 1 : มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)

มูลค่าที่แท้จริงของ DW คือ ส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นอ้างอิงและราคาใช้สิทธิของ DW ตัวนั้น ๆ ซึ่งมูลค่าแท้จริงของ DW สามารถสะท้อนปัจจัยต่าง ๆ ได้ เช่น สภาพเศรษฐกิจ ราคาของดัชนีและหุ้นอ้างอิงที่อยู่ในตลาดหุ้นว่ามีแนวโน้มและทิศทางไปอย่างไร ตามหลักแล้วการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงของ DW สามารถทำได้ ดังนี้

มูลค่าของ DW
  • call dw : Max ((ราคาหุ้นอ้างอิง – ราคาใช้สิทธิ) * อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วย),0)
  • put dw : Max ((ราคาใช้สิทธิ – ราคาหุ้นอ้างอิง) * อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วย),0)

ส่วนที่ 2 : มูลค่าทางเวลา (Time Value)

DW เป็นผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงมูลค่าไปตามกาลเวลา ซึ่งจะเรียกว่า Time Decay หรือก็คือค่าเสื่อมเวลาที่คอยกำหนดราคาของ DW แต่ละตัว ซึ่งมูลค่าทางเวลานี้จะขึ้นกับอายุคงเหลือของ DW และ ความผันผวนของราคาหุ้นแม่หรือดัชนี กล่าวคือ ถ้าราคาของหุ้นอ้างอิงคงที่ และ DW มีอายุคงเหลือลดลง จะส่งผลให้ Time Value ลดลงตามไปด้วยทำให้มูลค่าของ DW ลดลง

ลักษณะมูลค่าที่แท้จริงของ DW ดูได้อย่างไร?

สถานะของ DW หรือ Moneyness จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ In-The-Money (ITM), At-The-Money (ATM) และ Out-of-The-Money (OTM) ซึ่งสถานะทั้ง 3 นี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมูลค่าที่แท้จริงและมูลค่าของเวลา โดยแต่ละตัวนั้นจะมีหลักการดูได้ ดังนี้

DW Moneyness Intrinsic Value Time Value
In the Money มาก น้อย
At the Money 0 มาก
Out of the Money 0 น้อย

การดูสถานะต่างๆของ DW ในฝั่ง Call และ Put

Moneyness Call DW Put DW
In-The-Money (ITM) ราคาหุ้นอ้างอิง > ราคาใช้สิทธิ ราคาหุ้นอ้างอิง < ราคาใช้สิทธิ
At-The-Money (ATM) ราคาหุ้นอ้างอิง = ราคาใช้สิทธิ
Out-of-The-Money (OTM) ราคาหุ้นอ้างอิง < ราคาใช้สิทธิ ราคาหุ้นอ้างอิง > ราคาใช้สิทธิ

ยิยิ่ง DW มีสถานะ OTM มากเท่าไหร่ (ราคาหุ้นอ้างอิงต่างจากราคาใช้สิทธ์มาก) Effective Gearing จะยิ่งสูง

นอกจากนี้ สถานะทั้ง 3 ยังช่วยตอบคำถาม DW เล่นยังไงได้อีกด้วย โดยสถานะเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นอ้างอิงและราคาใช้สิทธิของ DW ทั้ง Call DW และ Put DW โดยจะแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมในการลงทุน DW แต่ละตัวในช่วงเวลาขณะนั้น เพื่อช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจซื้อขายและวางแผนการลงทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อราคา DW


ถึงความรู้เกี่ยวกับตัว DW จะช่วยทำให้นักลงทุนวางแผนและรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นักลงทุนยังต้องติดตามข่าวสาร ตลอดจนเรียนรู้ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา DW เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว ปัจจัยหลักที่มีผลต่อราคา DW จะมีด้วยกัน 6 ประเภท ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

ปัจจัย การเปลี่ยนแปลง ผลต่อราคา Call DW ผลต่อราคา Put DW
ราคาซื้อขายหุ้นอ้างอิง หรือก็คือหุ้นแม่ (Spot Price) ขึ้น มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าต่ำลง
ลง มูลค่าต่ำลง มูลค่าสูงขึ้น
ราคาใช้สิทธิ (Strike Price) ขึ้น มูลค่าต่ำลง มูลค่าสูงขึ้น
ลง มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าต่ำลง
ค่าความผันผวนของราคาซื้อขายหุ้นอ้างอิง (Volatillity) เพิ่มสูงขึ้น มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าสูงขึ้น
ลดต่ำลง มูลค่าต่ำลง มูลค่าต่ำลง
เวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันครบกำหนดอายุ (Time to Maturity) ระยะเวลามาก มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าสูงขึ้น
ระยะเวลาน้อย มูลค่าต่ำลง มูลค่าต่ำลง
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rates) ขึ้น มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าต่ำลง
ลง มูลค่าต่ำลง มูลค่าสูงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของเงินปันผลหุ้นอ้างอิง (Dividend) ขึ้น มูลค่าต่ำลง มูลค่าสูงขึ้น
ลง มูลค่าสูงขึ้น มูลค่าต่ำลง

นักลงทุนที่เหมาะสมกับการลงทุน DW


  1. ข้อดีของการลงทุนหุ้น DW คือ ต้นทุนในการลงทุนที่ไม่สูงมาก หากใครชอบลงทุนใช้เงินน้อย แต่เก็งกำไรได้มาก DW คือ สิ่งที่ตอบโจทย์ในการลงทุน รวมไปถึงโอกาสที่จะเก็งกำไรตามความผันผวนของดัชนี
  2. การเทรดหุ้นคือการลงทุนที่ต้องเลือกซื้อหรือขายในบางช่วงเวลา เช่น เก็งกำไรในช่วงสภาวะตลาดขาขึ้น แต่จุดเด่นที่สำคัญของ DW คือสามารถให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้โดยใช้ Call DW ในสภาวะตลาดขาขึ้น และ Put DW ในสภาวะตลาดขาลง
  3. ค่าคอมมิชชั่นถูก กล่าวคือ ราคา DW มักจะต่ำกว่าราคาหุ้นอ้างอิงมาก เช่น DW ราคา 0.50 บาท ราคาหุ้นอ้างอิงอยู่ที่ 50 บาท แปลว่า นักลงทุนจ่ายค่าคอมมิชชั่นในการซื้อ DW น้อยลง 100 เท่าเมื่อเทียบกับการซื้อขายหุ้นอ้างอิงในปริมาณหุ้นที่เท่ากัน

ประโยชน์และความเสี่ยงของ DW ที่นักลงทุนต้องรู้


ประโยชน์ของ DW

  • ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการซื้อขายหุ้นอ้างอิงโดยตรง
  • DW คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราทด (Gearing) สามารถทำกำไรได้มาก แม้หุ้นอ้างอิงหรือดัชนีอ้างอิงจะเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย
  • สามารถจำกัดผลการขาดทุนได้ แต่มีโอกาสทำกำไรได้ไม่จำกัด
  • สามารถทำกำไรได้ ไม่ว่าราคาหุ้นอ้างอิงจะปรับตัวขึ้นหรือลง
  • มีสภาพคล่องสูงเนื่องจากมีผู้ดูแลสภาพคล่องทำให้นักลงทุนสามารถซื้อขาย DW ได้ตามที่ต้องการ
  • ไม่ต้องวางหลักประกันล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งข้อดีของการลงทุน DW ที่อ้างอิงหุ้น
สิ่งที่นักลงทุนเข้าใจมักผิดเกี่ยวกับ DW

  • DW ที่ราคาต่ำกว่าไม่ได้ดีเสมอไป
    การเปรียบเทียบความถูกแพงของ DW ควรพิจารณาจากความผันผวนแฝง (Implied Volatility) หาก DW ตัวใดมีความผันผวนแฝงน้อยกว่าถือว่ามูลค่าจะถูกกว่า (เทียบกับสเปคที่ใกล้เคียงกัน) แต่ในทางปฏิบัติแล้ว DW ที่ได้รับความนิยมอาจไม่ได้มีความผันผวนแฝงน้อยที่สุดก็ได้ เพราะสุดท้ายแล้วการเทรด DW จำเป็นต้องเลือกสเปคที่เหมาะสมกับตัวเองในการเทรด
  • การซื้อ DW ราคาต่ำเพื่อหวังผลกำไรต่อช่องสูงๆ
    นักลงทุนบางคนอาจชอบซื้อ DW ราคาต่ำ ๆ เช่น 0.05 บาท เพราะคิดว่าถ้าราคาปรับเพียง 1 ช่อง จะทำให้ตนเองได้รับกำไร 20% ความเป็นจริงแล้วการขยับ 1 ช่องของ DW ราคา 0.05 บาท หุ้นอ้างอิงอาจจะต้องมีการขยับ 8-10 ช่อง ดังนั้นการหา DW ที่ราคาต่ำเพื่อหวังให้ขยับเพียงแค่ 1 ช่องแล้วทำกำไรนั้น จำเป็นต้องเลือกหาสเปคที่เหมาะสมกับการเทรดควบคู่กันไปด้วย เช่น ค่า Sensitivity ใกล้ 1, Gearing อยู่ระหว่าง 5-8 เท่า เป็นต้น
  • การถัว DW เพิ่ม เพื่อกดราคาต้นทุนให้ต่ำลง
    ความเป็นจริงแล้วการเทรด DW นั้นแตกต่างกับการเทรดหุ้นเนื่องจาก DW มีอัตราทด กล่าวคือทางขึ้นก็ช่วยให้พอร์ตของเรากำไรได้เพิ่มมากขึ้น แต่การถัว DW นั้น จะเป็นต้องวางแผนให้ดี เนื่องจากต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะอาจจะทำให้พอร์ตของเรามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากราคาหุ้นแม่ไม่เป็นไปตามที่เราวางแผนราคาไว้
  • สามารถถือ DW ได้จนหมดอายุ (เมื่อมีสถานะ ITM)
    จริงอยู่ที่ DW สถานะ ITM จะได้รับเงินสดส่วนต่างสุทธิคืนแต่การที่นักลงทุนถือไปใช้สิทธิจำนวนเงินที่ได้รับจะถูกจำแนกอยู่กลุ่มเดียวกับเงินปันผลจากหุ้น จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และอาจจำเป็นต้องเลือกนำไปยื่นเป็นรายได้ประจำปีด้วย อีกทั้งการได้รับเงินสดส่วนต่างสุทธิคืนจำเป็นต้องใช้เวลา T+8 วันนับตั้งแต่วันซื้อขายสุดท้าย ดังนั้นนักลงทุนอาจจะเสียโอกาสในการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปลงทุนต่อ ผู้ออกจึงแนะนำให้ทำการขาย DW ออกภายในวันซื้อขายสุดท้ายเพราะจะได้รับเงินกลับไปลงทุนต่อทันที และราคา DW ในวันสุดท้ายจะมีมูลค่าใกล้เงินสดส่วนต่างสุทธิที่นักลงทุนจะได้รับเมื่อถือไปใช้สิทธิ