Vocabulary คำศัพท์ คำอธิบาย
All-in Premium (% Premium) เป็นค่าที่บอกให้นักลงทุนทราบว่าการซื้อ DW และแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิงทันที แพงกว่าการซื้อหุ้นอ้างอิงโดยตรงเท่าใด เพราะการลงทุนใน DW นั้นต้องคํานึงถึงต้นทุนที่ได้มาว่าถูกหรือแพงอย่างไร เพื่อนักลงทุนจะได้สามารถประเมินโอกาสในการทํากําไรได้ ทั้งนี้ All-in-premium ใช้หลักการในการพิจารณาเช่นเดียวกับความผันผวนแฝง แต่ให้นักลงทุนเปรียบเทียบระหว่าง DW บนหุ้นอ้างอิงตัวเดียวกันที่มีอายุคงเหลือใกล้เคียงกันเท่านั้น เนื่องจาก DW ที่มีอายุคงเหลือมากกว่ามีแนวโน้มที่ All-in-premium จะสูงกว่า
Arbitrage การทำกำไรจากผลต่างของราคาใน 2 ตลาด การซื้อสินค้าในตลาดที่ราคาถูกและขณะเดียวกันก็สั่งขายสินค้านั้น (หรือสินค้าประเภทเดียวกันนั้น) ในจำนวนเดียวกันในอีกตลาดที่ราคาสูงกว่า เพื่อรับผลกำไรจากส่วนต่างของราคาใน 2 ตลาด ซึ่งการทำ Arbitrage จะทำได้เฉพาะกับสินค้าที่มีการซื้อขายมากกว่าหนึ่งตลาด เช่น ซื้อขายในตลาดปกติที่ส่งมอบทันทีซื้อขายในตลาดล่วงหน้า และซื้อขายในตลาด Options เป็นต้น สินค้าประเภทนี้ เช่น 
Ask คำสั่งเสนอขาย คำสั่งเสนอขายที่ส่งเข้ามาในตลาด
At The Close : ATC คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ราคาปิดตลาด คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ตามราคาปิดตลาด ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาปิดการซื้อขาย โดยต้องการซื้อหรือขาย ณ ราคาปิดเท่านั้น ซึ่งจะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ตั้งแต่เวลา 16.30 น. จนถึงเวลาปิดตลาดข้อควรระวัง คือ ราคาปิดเป็นราคาที่เกิดจากการคำนวณจากการเสนอซื้อขายที่มีการเข้าและถอนออกได้ตลอดเวลา ราคาปิดจึงอาจเปลี่ยนได้เสมอแม้ขณะก่อนช่วงเวลาปิดการซื้อขายคราวแรกเพี้ยงเสี้ยววินาทีระบบการซื้อขายจะจับคู่คำสั่ง ATC ก่อนคำสั่งประเภทระบุราคา (Limit Price) หากในกรณีที่คำสั่ง ATC สามารถจับคู่ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น คำสั่งที่เหลือก็จะสิ้นสภาพไป คำสั่ง ATC ใช้ได้สำหรับการซื้อขายบนกระดานหลักและกระดานต่างประเทศเท่านั้น
At The Money สถานะของ Call และ Put DW เมื่อราคาหลักทรัพย์อ้างอิง = ราคาใช้สิทธิ
At The Open : ATO คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ราคาเปิดตลาด คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ตามราคาเปิดตลาด ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาเปิดการซื้อขายคราวแรก โดยต้องการซื้อหรือขาย ณ ราคาเปิดเท่านั้น ข้อควรระวัง คือ ราคาเปิดเป็นราคาที่เกิดจากการคำนวณจากการเสนอซื้อขายที่มีการเข้าและถอนออกได้ตลอดเวลา ราคาเปิดจึงอาจเปลี่ยนได้เสมอแม้ขณะก่อนช่วงเวลาเปิดการซื้อขายคราวแรกเพี้ยงเสี้ยววินาทีเมื่อผู้ลงทุนส่งคำสั่ง ATO เข้ามา คำสั่ง ATO จะเข้าไปรอดูการเลือกราคาเปิดเพื่อที่จะทำรายการต่อจากรายการที่ก่อให้เกิดราคาเปิดนั้น จากนั้นระบบการซื้อขายจะคำนวณราคาเปิดตามเกณฑ์ ดังนี้
Automated Tools For Market Survellence : ATOMS ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับตรวจสอบการซื้อขาย เป็นระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการตรวจสอบในการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การซื้อขายหลักทรัพย์
Automatic Order Matching : AOM การจับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ เป็นวิธีการซื้อขายหลักทรัพย์แบบหนึ่งในระบบ ASSET โดยระบบการซื้อขายจะประมวลคำสั่งซื้อและคำสั่งขาย ตั้งแต่เวลาที่ส่งคำสั่งเข้ามาจนสิ้นสุดเวลาทำการซื้อขายประจำวัน โดยระบบจะจัดเรียงคำสั่งซื้อขายตามลำดับของราคาและเวลาที่ดีที่สุด (Price then Time Priority) โดยมีหลักการคือ คำสั่งซื้อที่มีราคาเสนอซื้อสูงที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่ จะจัดเรียงราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าเป็นลำดับแรกก่อน แต่หากมีการเสนอซื้อในแต่ละราคามากกว่า 1 รายการ ให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอซื้อที่ปรากฎในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอซื้อในลำดับก่อน
Bear Market ตลาดหมี เป็นภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน และปริมาณการซื้อขายก็มีน้อยเปรียบเสมือนการเคลื่อนไหวของหมีที่อืดอาดเชื่องช้า
Bid ราคาเสนอซื้อ เป็นราคาที่ผู้ลงทุนเสนอจะซื้อหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง โดย ณ ขณะใดขณะหนึ่งอาจมีราคาเสนอซื้อเข้ามาหลายระดับราคาระบบการซื้อขายจะจัดเรียงคำสั่งที่มีราคาเสนอซื้อสูงกว่าอยู่ในลำดับแรก เพื่อรอการจับคู่การซื้อขาย โดยราคาที่ดีที่สุดในที่นี้มีหลักเกณฑ์ว่า ผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาสูงกว่าควรได้สิทธิซื้อก่อนผู้เสนอซื้อรายอื่นๆ ทั้งนี้ ระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะแสดงราคาเสนอซื้อระดับสูงที่สุดไว้
Bid-Ask Spread ส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อขาย ส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายของคำสั่งซื้อขายที่ส่งเข้ามาในตลาด
Big Lot การซื้อขายรายใหญ่ การซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง (อาจเป็นหุ้นหรือตราสารหนี้ก็ได้) จำนวนเดียวโดยไม่แบ่งย่อย และมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ หรือสูงกว่าปริมาณหรือมูลค่าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่า การซื้อขายคราวละตั้งแต่ 1 ล้านหุ้น หรือมูลค่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ถือเป็นการซื้อขายรายใหญ่ (Big Lot) ตลาดหลักทรัพย์จัด Big-Lot Board (กระดานซื้อขายรายใหญ่) ไว้รองรับการซื้อขายเช่นนี้
Big-Lot Board กระดานซื้อขายรายใหญ่ เป็นกระดานการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งตลาดหลักทรัพย์มีเพื่อรองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิชนิดต่างๆ หน่วยลงทุน และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund) ซึ่งมีปริมาณการซื้อขายตั้งแต่ 1 ล้านหลักทรัพย์ขึ้นไป หรือมีมูลค่าการซื้อขายตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป การซื้อขายบนกระดาน Big-Lot Board ใช้วิธี Put Through ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงราคากันเอง โดยการซื้อขายบนกระดานนี้จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องการขึ้นลงของราคา (Ceiling and Floor)
Board Lot หน่วยการซื้อขาย จำนวนหน่วยขั้นต่ำของหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้มีการซื้อขายบนกระดานหลัก (Main Board) ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขาย หรือ 1 Board Lot เท่ากับ 100 หุ้น (หรือหน่วยลงทุนหรือสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุน) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่หลักทรัพย์ใดมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 6 เดือน หนึ่งหน่วยการซื้อขายจะเท่ากับ 50 หุ้น หรือ 50 หน่วยลงทุนหรือสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุน
Book Value มูลค่าตามบัญชี เป็นมูลค่าของหุ้นสามัญหรือมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท (Net Asset Value) ตามงบดุลล่าสุดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ที่คำนวณได้จากการนำสินทรัพย์รวมหักด้วยหนี้สินรวม ซึ่งก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ส่วนการหามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น ต้องหารด้วยจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วของบริษัท มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) มีความหมายว่า หากบริษัทมีการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ และสามารถจะนำสินทรัพย์ที่มีอยู่แปรเป็นเงินสดตามมูลค่าที่ระบุในงบดุลและชำระหนี้สินต่างๆ ให้เจ้าหนี้ตามยอดหนี้ที่ปรากฏ ณ วันที่ในงบดุลแล้ว ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินทุนต่อหุ้นคืนในจำนวนเท่ากับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 
Book-Closing Date วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น   วันที่บริษัทกำหนดให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ปิดรับการโอนหุ้นของบริษัทเพื่อให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ตรวจสอบและรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันดังกล่าว เป็นผู้ได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่บริษัทประกาศมอบให้แก่ผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุดนั้น เช่น สิทธิรับเงินปันผล สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน หรือสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้นหากผู้ลงทุนที่เข้าไปซื้อหุ้นในวันดังกล่าว หรือหลังจากนั้นก็จะไม่ได้รับสิทธิที่บริษัทประกาศมอบให้แก่ผู้ถือหุ้นในคราวนั้นๆ
Break-Even Point จุดคุ้มทุน ระดับราคาหลักทรัพย์อ้างอิงที่ทำให้ DW มีกำไรหรือขาดทุนเท่ากับ 0 หากถือ DW ตัวนั้นจนถึงวันซื้อขายสุดท้าย 
Broker นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าจากผู้ลงทุนเป็นผลตอบแทน บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด จะได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกของหลักทรัพย์ฯ
Brokerage Fee ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ค่านายหน้าที่โบรกเกอร์เก็บจากผู้ลงทุน
Bull Market ตลาดกระทิง เป็นภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนานไม่น้อยกว่า 2 – 3 เดือน และมีปริมาณการซื้อขายที่มาก มีสภาพคล่องสูง ภาวะตลาดดังกล่าวมีความคึกคักเสมือนอาการเคลื่อนไหวของวัวกระทิง
Day Traders นักเก็งกำไรประเภทหนึ่งที่ซื้อขายฟิวเจอร์สและปิดสถานะในสัญญาภายในหนึ่งวันโดยจะไม่ปล่อยให้ตนเองมีสถานะคงค้างในสัญญาข้ามวัน ผู้ลงทุนเหล่านี้หวังเก็งกำไรในระยะสั้น และบางกรณีอาจทำการซื้อขายมากกว่าหนึ่งรอบในหนึ่งวัน นักเก็งกำไรประเภทนี้มักให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคในการตัดสินใจลงทุน
Day Trading การซื้อขาย 1 วัน การทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์ภายในวันเดียวกัน
Delisting การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน การที่ตลาดหลักทรัพย์ถอนสภาพการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของหลักทรัพย์ใด ๆ หลักทรัพย์จดทะเบียนที่ถูกเพิกถอนแล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป ในการเพิกถอนหลักทรัพย์นั้นอาจเป็นเพราะบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวขอถอนหลักทรัพย์ของตนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยสมัครใจ (ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการของเพิกถอนเกินกว่า 10% ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด) หรือตลาดหลักทรัพย์สั่งให้เพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนเมื่อพบว่าบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว ได้กระทำผิดข้อตกลงการจดทะเบียนหลักทรัพย์ (listing agreement) อย่างร้ายแรง หรือในกรณีที่ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ตกต่ำลง จนอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ลงทุนสำหรับกรณีที่บริษัทจดทะเบียนมีปัญหาด้านฐานะการเงินหรือผลการดำเนินงาน ตลาดหลักทรัพย์จะไม่เพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าวโดยทันที แต่จะจัดให้หลักทรัพย์ดังกล่าวเข้าอยู่ในกลุ่มหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน และประกาศให้ผู้ลงทุนได้ทราบทั่วกัน ซึ่งบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์จะต้องจัดทำแผนปรับปรุงแก้ไข เพื่อขอความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนเสนอต่อตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเปิดเผยข้อมูล หากบริษัทสามารถแก้ไขปัญหาได้ตามแผน หลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าวก็จะพ้นจากการเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน แต่ถ้าบริษัทไม่อาจแก้ไขได้ตามแผนและตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ตลาดหลักทรัพย์จะเพิกถอนหลักทรัพย์ดังกล่าว
Delivery การส่งมอบ ธุรกรรมในวันส่งมอบของสัญญาฟิวเจอร์สที่เกิดจากการถือครองหรือสถานะคงค้างในสัญญา โดยผู้มีสถานะซื้อและผู้มีสถานะขายทำการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินและสินค้าอ้างอิงตามเงื่อนไขในสัญญา ตลาดอนุพันธ์แต่ละแห่งจะกำหนดรายละเอียดของกระบวนการส่งมอบต่างกันไป และสัญญาฟิวเจอร์สบางประเภท เช่น ฟิวเจอร์สของดัชนีหุ้นสามัญ จะถูกกำหนดให้ใช้การชำระราคาด้วยเงินสด (Cash settlement) แทนการส่งมอบสินทรัพย์จริงๆ
Delivery Month เดือนส่งมอบ เดือนที่สัญญาฟิวเจอร์สครบกำหนดส่งมอบ เช่น สัญญาฟิวเจอร์ส เดือน มี.ค. 2005 เป็นสัญญาที่ครบกำหนดส่งมอบใน เดือน มี.ค. 2005
Delta เป็นเครื่องมือที่บอกให้นักลงทุนทราบถึงความอ่อนไหวของราคา DW เทียบกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นอ้างอิง โดยถ้าราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนไป 1 หน่วย ราคา DW จะเปลี่ยนไปเท่าไร โดยราคา Call DW จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกับราคาหุ้นอ้างอิง ยิ่งราคาหุ้นอ้างอิงเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าของ Call DW ก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ในทางกลับกันราคา Put DW จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามราคาหุ้นอ้างอิง ยิ่งราคาหุ้นอ้างอิงลดต่ำลง มูลค่าของ Put DW ก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น
Depository Receipt : DR ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง
Derivative Warrant : DW ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เป็นตราสารการเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งบริษัทผู้ออก (Issuer) ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหรือขายดัชนีหลักทรัพย์ (Index) หรือหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Securities) ซึ่งอาจเป็นหุ้น (Stock) ของบริษัท อื่นในราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ และระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออกเป็นผู้กำหนดว่าจะเลือกการส่งมอบ เป็นหลักทรัพย์หรือเงินสดก็ได้ ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทผู้ออกสามารถออกได้เฉพาะ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ให้สิทธิซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงเท่านั้น ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ จัดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงของการลงทุน ทั้งด้านผู้ออกและผู้ซื้อ หลักทรัพย์ โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันที่มีการลงทุนในหุ้นสามัญเป็นจำนวนมาก อย่างกองทุนรวม หรือบริษัทประกันภัย ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ได้
Derivatives ตราสารอนุพันธ์ สัญญาหรือเครื่องมือทางการเงินที่มูลค่าของสัญญาขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าอ้างอิง (Underlying asset) ซึ่งอาจเป็นราคาหลักทรัพย์ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย สินค้าโภคภัณฑ์ หรือสินทรัพย์อ้างอิงประเภทอื่น ๆ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดการเงิน มีเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มสินค้าเพื่อการลงทุนให้หลากหลายยิ่งขึ้น ตราสารอนุพันธ์แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น ออปชัน (Options) สวอป (Swap) ฟอร์เวิร์ด (Forward) และฟิวเจอร์ส (Futures)
Disclosure การเปิดเผยข้อมูล บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่างๆ ซึ่งมีหรืออาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท หรือมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท หรือจำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดไว้ ซึ่งได้แก่ - ข้อมูลที่ต้องรายงานตามรอบระยะเวลาบัญชี เช่น งบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจำปี รายงานประจำปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) - ข้อมูลที่ต้องรายงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ เช่น การประกาศจ่ายหรืองดจ่ายเงินปันผล การเพิ่มทุนหรือลดทุน การเข้าครอบงำกิจการอื่นหรือถูกครอบครองงำกิจการ การประสบความเสียหายอย่างร้ายแรง เป็นต้น รวมถึงเหตุการณ์ผิดปกติที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ต่อการตัดสินใจลงทุน ต่อการเปลี่ยนแปลงในราคาหลักทรัพย์ และต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนต้องส่งข้อมูลผ่านระบบ Electronic Listed Companies Information Disclosure (ELCID) มายังตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้เผยแพร่ข้อมูลที่กล่าวให้ผู้ลงทุนและสาธารณชนได้ใช้ประกอบการ ตัดสินใจลงทุนต่อไป
Dividend เงินปันผล เป็นผลตอบแทนจากการลงทุนที่ผู้ลงทุนในตราสารทุนและหน่วยลงทุน จะได้รับจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์หรือกองทุนรวม โดยเป็นการนำส่วนของกำไรมาแบ่งจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ หรือผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บริษัทอาจพิจารณาจ่ายเป็นเงินปันผลหรือหุ้นปันผลก็ได้ และปันผลที่จ่ายจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นกับผลการดำเนินงานในแต่ละปี และนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท
Dividend pay - out ratio อัตราส่วนการจ่ายปันผล ส่วนของกำไรสุทธิที่ได้นำมาจ่ายเป็นปันผลแก่ผู้ถือหุ้นโดยคิดเป็นอัตราร้อยละ มีสูตรในการคำนวณดังนี้ อัตราส่วนการจ่ายเงินปันผล = มูลค่าปันผลต่อหุ้น / กำไรสุทธิต่อหุ้น * 100
DIVIDEND YIELD อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล เป็นตัวชี้วัดเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่า หากลงทุนซื้อหุ้น ณ ระดับราคาตลาด ในปัจจุบัน จะมีโอกาสได้รับเงินปันผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราคิดเป็นร้อยละเท่าไรจากราคาหุ้นที่ซื้อ ตัวอย่างเช่น บริษัท ก. จ่ายเงินปันผลในรอบปีที่ผ่านมาหุ้นละ 6.25 บาท และราคาตลาดของหุ้นในขณะนั้นเท่ากับ 125 บาทอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสามารถคำนวณได้ดังนี้               อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล    = เงินปันผลต่อหุ้น X 100 / ราคาตลาดของหุ้น  = 6.25 X 100 / 125 = 5.00 %
Earning per share : EPS กำไรต่อหุ้น ส่วนของกำไรสุทธิที่แบ่งเฉลี่ยแก่หุ้นสามัญแต่ละหุ้น มีสูตรคำนวณดังนี้
Effective Gearing อัตราทด เป็นเครื่องมือในการวัดความเสี่ยงด้านราคา DW (Effective Gearing ของ DW 4 เท่า แปลว่า ถ้าราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนไป 1% ราคา DW จะเปลี่ยนแปลงประมาณ 4% ทั้งนี้ Effective Gearing ที่สูงทําให้นักลงทุนสามารถได้รับกําไร/ขาดทุนในปริมาณที่สูงเทียบกับเงินลงทุน
Equity Derivatives อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับตราสารทุน อนุพันธ์ที่มีตราสารทุนเป็นสินทรัพย์อ้างอิง เช่น ฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ (Stock Index Futures) หรือ ออปชันที่อ้างอิงกับหุ้นสามัญ (Stock Options) เป็นต้น
Exchange Member สมาชิกตลาดอนุพันธ์ บริษัทหรือบุคคลที่เป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ เป็นผู้ที่มีสิทธิส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามาที่ระบบซื้อขายของตลาดอนุพันธ์ได้โดยตรง
Exchange-Traded Derivatives อนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดทางการ อนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยส่วนใหญ่เป็นอนุพันธ์ในกลุ่มฟิวเจอร์ส และออปชัน เช่น SET50 Index Futures จัดเป็น Exchange-traded Derivatives เนื่องจากซื้อขายในตลาด TFEX ไม่ได้ตกลงทำการซื้อขายกันนอกตลาด
ExchangeTraded Fund : ETF กองทุนรวม ETF   เป็นกองทุนเปิดประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่ก่อกำเนิดขึ้นในแคนาดาเมื่อปี 2536 แต่เติบโตในสหรัฐอเมริกา และที่เป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างกว้างขวางในตลาดทุนโลกจนถึงปัจจุบัน สำหรับ ETF ในประเทศไทยได้เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการเมื่อ 2 สิงหาคม 2550 ภายใต้ชื่อ ThaiDEX SET50 ETF หรือเรียกสั้นๆ ว่า TDEX   ThaiDEX SET50 ETF เป็นกองทุนรวมเปิดจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2550 สามารถซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง โดยเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ จดทะเบียนที่อยู่ในกลุ่มSET50 Index ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ มีสภาพคล่องสูง โดยอัตราผลตอบแทนของกองทุนเทียบเท่าดัชนีที่ใช้อ้างอิงคือ SET50 ดังนั้น TDEX จึงมีสภาพคล่องไม่ต่างจากหุ้นทั่วๆ ไปที่ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายได้ตลอดช่วงเวลาการซื้อขาย
Execution คำสั่งซื้อขายสมบูรณ์ การทำการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์สำเร็จ
Exercise Ratio อัตราใช้สิทธิ อัตราส่วน DW : สิทธิซื้อหรือขายหลักทรัพย์อ้างอิง 1 หุ้น 
Vocabulary คำศัพท์ คำอธิบาย
Face value หรือ par value มูลค่าตามหน้าตราสาร (มูลค่าที่ตราไว้) มูลค่าของหลักทรัพย์ที่กำหนดระบุไว้บนใบตราสารซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของแต่ละบริษัท มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางบัญชี และใช้แสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็น 10 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นต้น มูลค่าที่ตราไว้มีประโยชน์ในการกำหนดอัตราผลตอบแทนสำหรับผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร และหุ้นบุริมสิทธิ เพราะดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร รวมถึงเงินปันผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะกำหนดเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้
Fill and Kill / Immediately or Cancel คำสั่งซื้อขายที่กำหนดให้จับคู่การซื้อขายทันที และหากไม่สามารถจับคู่การซื้อขายได้เลย หรือจับคู่ได้บางส่วนและมีจำนวนเสนอซื้อขายเหลืออยู่บางส่วน ให้ยกเลิกการเสนอซื้อขายที่ยังจับคู่ไม่ได้นั้นทันที
Fixed Income ตราสารหนี้ หลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรเอกชนที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ตามกำหนดเวลา และสามารถชำระคืนเงินต้นเมื่อครบอายุของหลักทรัพย์ 
Fixed Income Derivatives อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับตราสารหนี้ อนุพันธ์ที่มีตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์อ้างอิง เช่น ฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับพันธบัตร (Bond Futures) หรือ ฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย (Interest rate Futures) เป็นต้น
Floor Price ราคาพื้น ระดับราคาต่ำสุดของแต่ละหลักทรัพย์ที่จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้สำหรับวันทำการหนึ่ง ๆ ซึ่งคำนวณขึ้นจาก Daily Price limit ของตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันระดับที่เป็น Floor Price คือระดับราคาที่ต่ำลง 30% จากราคาปิดของวันก่อน เช่น วันก่อนปิดที่ราคา 50 บาท ราคาพื้นวันนี้จะเป็น 35 บาท วันนี้จะมีการซื้อขายในราคาต่ำกว่า 35 บาทไม่ได้
Forced Buy การบังคับซื้อ การที่บริษัทหลักทรัพย์นำเงินประกันของลูกค้าที่วางเป็นประกันการยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing Account) ไปซื้อหุ้นคืน บริษัทหลักทรัพย์จะบังคับให้ลูกค้าซื้อหุ้นคืนต่อเมื่อหุ้นที่ยืมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จนทำให้สัดส่วนหลักประกันต่อมูลหนี้มีค่าต่ำกว่าระดับ Maintenance Margin ที่เข้าเกณฑ์ Forced Buy ซึ่งจะต่ำกว่าระดับ Margin Call (เช่น ระดับ Forced Buy เท่ากับ 30% ขณะที่ระดับ Margin Call เท่ากับ 40% เป็นต้น) หลักเกณฑ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ลูกค้าแต่ละรายมีภาระหนี้เกินตัวจนไม่อาจแบกรับได้ (ซึ่งจะเห็นได้จาก การที่ถูก Margin Call แล้วไม่สามารถนำทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้) หากปล่อยค้างไว้ ถ้าหุ้นที่ยืมมีมูลค่าสูงขึ้นไปอีก อาจทำให้มีหลักประกันไม่คุ้มมูลหนี้ จนกระทบถึงฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์และกระทบถึงความเชื่อมั่นต่อบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งระบบได้
Forced Sell การบังคับขาย การที่บริษัทหลักทรัพย์นำหุ้นของลูกค้าที่วางเป็นประกันเงินกู้ยืมซื้อหลักทรัพย์ (Margin Account) ออกขายเพื่อนำเงินค่าขายมาชำระหนี้เงินกู้ของลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์จะบังคับขายหุ้นของลูกค้าต่อเมื่อหุ้นที่เป็นประกันของลูกค้ามีมูลค่าลดลง จนทำให้สัดส่วนหลักประกันต่อมูลหนี้มีค่าต่ำกว่าระดับ Maintenance Margin ที่เข้าเกณฑ์ Forced Sell ซึ่งจะต่ำกว่าระดับ Margin Call (เช่น ระดับ Forced Sell เท่ากับ 25% ขณะที่ระดับ Margin Call เท่ากับ 35% เป็นต้น) หลักเกณฑ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ลูกค้าแต่ละรายมีภาระหนี้เกินตัวจนไม่อาจแบกรับได้ (ซึ่งจะเห็นได้จาก การที่ถูก Margin Call แล้วไม่สามารถนำทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้) หากปล่อยค้างไว้ ถ้าหุ้นที่วางเป็นประกันมีมูลค่าลดลงไปอีก อาจทำให้มีหลักประกันไม่คุ้มมูลหนี้ จนกระทบถึงฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์และกระทบถึงความเชื่อมั่นต่อบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งระบบได้
Foreign Available จำนวนหุ้นต่างด้าวคงเหลือ จำนวนหุ้นคงเหลือที่ผู้ลงทุนต่างประเทศสามารถถือครองได้
Foreign board กระดานต่างประเทศ เป็นส่วนของระบบซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ASSET) ที่ใช้รองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างผู้ลงทุนชาวต่างประเทศด้วยกัน ทั้งนี้หลักทรัพย์ที่มาขายผ่านกระดานต่างประเทศจะต้องเป็นหลักทรัพย์ที่มีชื่อชาวต่างประเทศเป็นเจ้าของ การที่ตลาดหลักทรัพย์จัดให้มี Foreign Board ขึ้นมา เนื่องจากหลักทรัพย์ของบางบริษัทได้มีชาวต่างประเทศเข้าลงทุนถือครองจนครบตามเกณฑ์ระดับที่ให้ชาวต่างชาติถือครองแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ลงทุนชาวต่างชาติต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่อีก เมื่อสั่งซื้อผ่านกระดานหลัก (Main Board) แล้วก็จะประสบปัญหาไม่อาจโอนรับหุ้นได้เพราะจะทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติเกินจากเกณฑ์ที่จำกัดไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนชาวต่างประเทศตลาดหลักทรัพย์จึงจัดให้มี Foreign Board ขึ้นมา เพื่อให้ชาวต่างประเทศผู้ซื้อมั่นใจว่าจะสามารถรับโอนหุ้นเป็นของตนได้ เพราะเป็นการรับโอนจากชาวต่างประเทศด้วยกัน ไม่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนการถือครองหุ้นของชาวต่างประเทศรวมแต่ประการใด วิธีซื้อขายผ่านกระดานต่างประเทศกระทำได้ 2 วิธี คือ วิธี Automatching และวิธี Put Thorugh แล้วแต่จะเลือกตามความเหมาะสม การซื้อขายบนกระดานต่างประเทศนี้ไม่ว่าจะใช้วิธีซื้อขายแบบใด ระดับราคาซื้อขายจะเป็นเท่าใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดเรื่อง Floor Price กับ Ceiling Price
Forward Contract สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน เป็นสัญญาที่มีลักษณะคล้ายสัญญาฟิวเจอร์ส คือเป็นสัญญาที่บุคคล 2 ฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อขายสินทรัพย์ โดยระบุประเภท จำนวน และราคาซื้อขายกันไว้ ณ วันนี้ และทำการส่งมอบสินค้ากันในอนาคตเช่นเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ สัญญาฟิวเจอร์สนั้นซื้อขายในตลาดที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือซื้อขายใน Exchange ในขณะที่สัญญาฟอร์เวิร์ดนั้นเป็นการตกลงซื้อขายกันนอกตลาด
Free Float การกระจายของผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือผู้ถือหุ้นสามัญที่มิได้เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน โดยผู้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน (Strategic Shareholders) หมายถึง ผู้มีอำนาจควบคุมและผู้ถือหุ้นดังต่อไปนี้ 1. รัฐบาล รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ 2. กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรก นับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับกรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหาร 3. ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของทุนชำระแล้ว นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 4. ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงกับบริษัทในการห้ามนำหุ้นของบริษัทออกขายในเวลา
Fundamental Analysis การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เป็นวิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์แบบหนึ่ง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมุ่งจะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ในปัจจุบัน โดยพิจารณาถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับและราคาหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะขายได้ในอนาคต ผลจากการวิเคราะห์นี้จะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินใจคือ จะซื้อหลักทรัพย์นั้นหากพบว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ดังกล่าวต่ำกว่ามูลค่าตามพื้นฐานที่คำนวณได้ และจะขายหลักทรัพย์นั้นหากพบว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ดังกล่าวสูงกว่ามูลค่าตามพื้นฐาน ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะวิเคราะห์ถึงภาวะเศรษฐกิจ ภาวะการเมือง ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และผลการดำเนินงาน รวมทั้งฐานะทางเงินของบริษัทผู้ออกหุ้น วิธีวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะแตกต่างจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ซึ่งมุ่งวิเคราะห์ลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ และปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสำคัญ เพื่อคาดหมายแนวโน้มของราคาหลักทรัพย์
Future markets ตลาดซื้อขายอนาคต ตลาดซื้อขายอนาคตเป็นตลาดที่มีการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์หรือเงินตราต่างประเทศโดยมีการส่งมอบสินค้าในอนาคตอาจนานเป็น 3-12 เดือนหลังจากการซื้อขายแล้วแต่จะกำหนด ตลาดซื้อขายอนาคตประกอบด้วยบริษัทนายหน้า (broker) จำนวนหนึ่ง บริษัทนายหน้าเพียงแต่ทำหน้าที่ติดต่อในเรื่องของสัญญาซื้อขายเท่านั้น ไม่มีการนำสินค้ามาแสดง เพราะสินค้าต่างๆ ที่ซื้อขายผ่านบริษัทนายหน้าจะมีการกำหนดมาตรฐานอย่างละเอียดไว้แล้ว บริษัทนายหน้าเป็นผู้ประกันว่าสินค้าจะส่งถึงมือผู้ซื้อตามเวลา และประกันกับผู้ขายว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าเต็มจำนวน สำหรับผู้ที่ซื้อสัญญาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดดังกล่าว อาจแบ่งเป็นผู้ซื้อที่ต้องการนำสินค้านั้นไปใช้ประโยชน์และผู้ซื้อที่ไม่ต้องการสินค้านั้น แต่เป็นการซื้อแล้วขายเพื่อการเก็งกำไร ตลาดซื้อขายอนาคตที่มีชื่อเสียงประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ ตลาดที่ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนตลาดซื้อขายอนาคตเงินตราต่างประเทศที่สำคัญได้แก่ ตลาดที่ลอนดอน
Futures contract สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน สัญญาระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายที่ตกลงราคากัน ณ ปัจจุบัน และจะมีการส่งมอบสินทรัพย์และชำระเงินในอนาคต ตามราคาที่ตกลงไว้ไม่ว่าราคาในขณะนั้นจะเป็นเท่าไรก็ตาม การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถือว่าทั้งสองฝ่ายมีภาระผูกพันต่อกันต้องปฏิบัติตาม คู่สัญญาของฟิวเจอร์สมี 2 ฝ่ายคือ ผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ที่ตกลงซื้อฟิวเจอร์ส เรียกว่ามีสถานะซื้อ (Long Position) ผู้ที่ตกลงขายฟิวเจอร์ส เรียกว่ามีสถานะขาย (Short Position) การซื้อหรือขายฟิวเจอร์ส ผู้ซื้อผู้ขายไม่จำเป็นต้องถือสัญญาจนครบกำหนด แต่สามารถปิดสถานะ (Offset) เพื่อล้างภาระผูกพันก่อนได้ เช่น ผู้ลงทุนที่มีสถานะซื้อในสัญญาฟิวเจอร์สสามารถปิดสถานะได้โดยการขายสัญญาฟิวเจอร์สเดิมในจำนวนเท่าเดิม
Gamma อัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าเดลต้าต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์อ้างอิง เปรียบเสมือนตัววัดอัตราเร่งในการเปลี่ยนแปลงราคา DW ค่า Gamma จะมีค่าสูงสุดเมื่อราคาใช้สิทธิเท่ากับราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปัจจุบัน
Growth Stock หุ้นที่เจริญเติบโตเร็ว หุ้นของบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงในปัจจุบันและเป็นที่คาดว่าจะสามารถหากำไรได้สูงต่อไปในอนาคต ซึ่งจะมีผลทำให้มูลค่าหุ้นนี้ในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่สูงกว่าหุ้นของบริษัทอื่นๆ
H : Halt trade เครื่องหมายเอช H เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราวโดยแต่ละครั้ง มีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขายซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหลักเกณฑ์ในการขึ้น เครื่องหมาย H ดังนี้
Hedge การป้องกันความเสี่ยง การซื้อหรือขายอนุพันธ์เพื่อบริหารความเสี่ยงของตน เช่น ผู้ที่มีความจำเป็นต้องซื้อน้ำมันมีความเสี่ยงจากการที่ราคาน้ำมันอาจปรับตัวสูงขึ้น อาจใช้การซื้อฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับราคาน้ำมันเพื่อบริหารความเสี่ยง
Hedger ผู้ป้องกันความเสี่ยง ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายอนุพันธ์เพื่อบริหารความเสี่ยง
Historical Volatility ความผันผวนของราคาหลักทรัพย์อ้างอิงที่เกิดขึ้นในอดีต
Holding Company บริษัทผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัทแม่ที่ถือหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมดหรือมากกว่าร้อยละ 50 ของบริษัทอื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการควบคุมยิ่งกว่าเพื่อการลงทุน บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อควบคุมดูแลบริษัทอื่นโดยเฉพาะจัดว่าเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง (Pure Holding Company) ส่วนบริษัทที่ทำธุรกิจของตนเองพร้อมกับดูแลบริษัทอื่นด้วยเรียกว่า บริษัทผู้ถือหุ้นแบบผสม (Mixed Holding Company or Holding-operating Company) บริษัทผู้ถือหุ้นสามารถเข้าถือสิทธิในบริษัทอื่นที่มีอยู่ก่อนโดยซื้อหุ้นของบริษัทนั้นหรือตั้งบริษัทใหม่และซื้อหุ้นส่วนใหญ่หรือหุ้นทั้งหมดของบริษัทใหม่ การก่อตั้งบริษัทผู้ถือหุ้นมีข้อได้เปรียบคือ
Implied Volatility ค่าความผันผวนแฝง นักลงทุนควรเปรียบเทียบ Implied Volatility ของ DW ที่เลือกไว้กับ DW ของผู้ออกรายอื่น ที่มีหุ้นอ้างอิงเหมือนกัน โดย DW ที่มี Implied Volatility ตํ่ากว่าอีกตัว หมายความว่า DW ตัวนั้นถูกกว่า นอกจากนี้ควรเลือกซื้อ DW ที่ค่า IV ในอดีตไม่ผันผวนมากนัก เนื่องจากค่า IV ที่ไม่ผันผวนจะส่งผลให้ราคาของ DW เคลื่อนไหวสอดคล้องกับราคาหุ้นอ้างอิงตามที่ควรจะเป็น
Initial Margin เงินประกันขั้นต้น จำนวนเงินประกันขั้นต้นที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์กำหนดให้ผู้ลงทุนที่ซื้อขายฟิวเจอร์สต้องเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะไม่บิดพลิ้วจากการปฏิบัติตามภาระผูกพันของสัญญา
Initial Margin Rate อัตรามาร์จินเริ่มแรก เป็นอัตราการวางเงินหลักประกันก่อนที่ลูกค้าจะซื้อหลักทรัพย์ด้วยเงินกู้หรือขายชอร์ต ในการวางเงินประกันเริ่มแรกนี้ มูลค่าที่ลูกค้านำมาวางเมื่อเทียบกับยอดหลักทรัพย์ที่ซื้อหรือที่ขายชอร์ตแล้วจะต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ Initial Margin Rate ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด เช่น Initial Margin Rate เท่ากับ 40% หากลูกค้าจะซื้อหุ้นมูลค่า 1,000,000 บาท จะต้องวางเงินมาร์จิน 400,000 บาทเป็นหลักประกัน
Initial Public Offering : IPO หุ้นเสนอขายต่อสาธารณะชน การกระจายหุ้นของบริษัทมหาชนให้แก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 
Institutional investors ผู้ลงทุนสถาบัน หมายถึง ผู้ลงทุนดังต่อไปนี้
Interest rate risk ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากการที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดมีการปรับตัวผันผวนอันเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ  ซึ่งมีผลให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวผันผวนด้วย
Internet Trading การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต การซื้อขายหลักทรัพย์ทางระบบอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์ หรือเว็บไซต์ของบริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จำกัด ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet Trading) กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ลงทุนจะได้รหัส (User Name) และรหัสผ่าน (Password) ในการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยนอกจากการซื้อขายหลักทรัพย์แล้วปัจจุบันระบบซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ยังสามารถรองรับการซื้อขายอนุพันธ์ในตลาดอนุพันธ์หรือ TFEX ได้อีกด้วย
In the money สถานะของ DW 
Intrinsic Value มูลค่าแท้จริง มูลค่าของ DW โดยสมมติว่าทำการใช้สิทธิที่ราคาหลักทรัพย์ปัจจุบัน โดย Intrinsic value ของ DW มีค่ามากกว่า 0 ถ้า DW มีสถานะเป็น In-the-money (ITM) และ มีค่าเป็น 0 ถ้า DW มีสถานะเป็น Out-of-the-money (OTM) หรือ At-the-money (ATM)
Issuer ผู้ออก DW บริษัทหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้ออก DW ได้
Vocabulary คำศัพท์ คำอธิบาย
Last Trading Day วันซื้อขายวันสุดท้าย วันสุดท้ายที่ตลาดอนุพันธ์อนุญาตให้สัญญาฟิวเจอร์สของเดือนส่งมอบหนึ่งๆมีการซื้อขายได้ เช่น TFEX กำหนดว่า การซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 ที่หมดอายุในเดือนหนึ่งๆ จะหยุดทำการซื้อขายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ หลังสิ้นเวลาทำการของวันทำการสุดท้ายของการซื้อขายสถานะคงค้างในสัญญาทั้งหมดจะต้องถูกปิดด้วย การส่งมอบ หรือ การหักชำระด้วยเงินสด
Leverage การที่ผู้ลงทุนใช้เงินลงทุนน้อย แต่มีโอกาศที่จะได้กำไรหรือขาดทุนมากเมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุนไปนั้น เช่น การลงทุนซื้อสัญาฟิวเจอร์ส จะมีการจ่ายเงิน ณ วันทำสัญญาแค่ประมาณ 10% ของมูลค่าสัญญา จึงเท่ากับเป็นการยกระดับกำไร ทำให้ผู้ลงทุนสามารถใช้เงินลงทุนเพียงเล็กน้อยไปลงทุนในสัญญาที่มีมูลค่ามากได้
Limit Order คำสั่งซื้อขายที่ระบุราคาเสนอซื้อขาย คำสั่งซื้อขายที่ระบุราคาเสนอซื้อหรือขาย ณ ราคาที่กําหนดไว้ (หรือดีกว่า)
Liquidity สภาพคล่อง ความสามารถในการเปลี่ยนหลักทรัพย์เป็นเงินสด ยกตัวอย่างเช่น หากถือ DW อยู่แล้วต้องการขาย แล้วสามารถขายได้ตรงตามตารางราคารับซื้อคืน ถือว่า DW ตัวนั้นมีสภาพคล่องสูง
Liquidity Risk ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่นักลงทุนต้องการขายตราสาร แต่ขายไม่ได้ หรือขายได้แต่ไม่ได้ราคาตามที่กำหนดไว้
Listed Companies บริษัทจดทะเบียน เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่นำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ MAI ซึ่งจะต้องเป็นบริษัทที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ MAI กำหนดไว้ ได้แก่ ขนาดของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว สัดส่วนการกระจายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย ประวัติและผลการดำเนินงาน กำไรสุทธิ ศักยภาพทางธุรกิจ เป็นต้น
Listed Security หลักทรัพย์จดทะเบียน หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นสินค้าเพื่อการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หลักทรัพย์จดทะเบียนและบริษัท จดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
Long Position สถานะซื้อ สถานะในสัญญาฟิวเจอร์สที่เกิดจากการซื้อสัญญาฟิวเจอร์ส ผู้ที่มีสถานะซื้อจะได้กำไรหากฟิวเจอร์สราคาสูงขึ้น
Main Board กระดานหลัก เป็นกระดานสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีปริมาณหรือจำนวนหุ้นที่ตรงตามหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยคำสั่งซื้อ/ขาย หลักทรัพย์บนกระดานหลักจะต้องระบุปริมาณหุ้นที่สั่งซื้อหรือสั่งขาย เป็นจำนวนตั้งแต่ 1 หน่วยการซื้อขาย (Board Lot) หรือมากกว่า ซึ่งจะต้องเป็นจำนวนทวีคูณของ Board Lot เช่น 2, 3, 4 Board Lots เป็นต้น
Maintenance Margin เงินประกันขั้นต่ำ ยอดคงเหลือขั้นต่ำของเงินประกันที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์กำหนดให้ต้องดำรงอยู่ในบัญชีเงินประกันของผู้ลงทุน ถ้ายอดคงเหลือตกลงต่ำกว่าระดับนี้ สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์จะเรียกผู้ลงทุนให้วางเงินประกันเพิ่ม เพื่อทำให้ดุลบัญชีมาร์จิ้นกลับมาอยู่ที่ระดับของเงินประกันขั้นต้น (Initial Margin)
Maintenance Margin Rate อัตรามาร์จินที่ต้องดำรงไว้ อัตราที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้เป็นเกณฑ์บังคับว่า มูลค่าหลักประกันของลูกค้า (Margin) ที่วางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อด้วยเงินกู้ (หรือที่ขายชอร์ต)ไว้จะต้องเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตรา Maintenance Margin Rate ที่เป็นเกณฑ์บังคับนี้ ตลาดหลักทรัพย์กำหนด Maintenance Margin Rate ไว้ 2 ระดับ 
Major Shareholder ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือผู้ถือหุ้นที่ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในบริษัทจดทะเบียนรวมกันเกินกว่าร้อยละ 10 ของทุนชำระแล้วของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งการถือหุ้นดังกล่าวนี้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
Margin หลักประกันของลูกค้า   จำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ลูกค้าวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการซื้อหุ้นโดยใช้สินเชื่อหรือเพื่อการขายชอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์นั้น ตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดอัตราขั้นต่ำที่ลูกค้าต้องวางหลักประกันไว้เรียกว่า Initial Margin Rate เช่น ร้อยละ 50 ของมูลค่าหุ้นที่ซื้อหรือขายชอร์ต เป็นต้น ตลาดหลักทรัพย์อาจกำหนดเปลี่ยนแปลงอัตรา Margin ได้หากภาวะความเสี่ยงในตลาดหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลง เงิน Margin ที่ลูกค้าต้องวางเริ่มแรกนี้ เรียกว่า Initial Margin
Margin Account บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์โดยวางหลักประกัน บัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยการกู้ยืมเงินจากบริษัทหลักทรัพย์ และ/หรือ เพื่อการขายชอร์ต (Short Sell) ในการเปิดบัญชี Margin Account ลูกค้าจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์จำนวนหนึ่งมาวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นหลักประกัน โดยมูลค่าของหลักประกันที่นำมาวางเมื่อเทียบกับวงเงินที่จะซื้อหุ้นหรือที่จะขายชอร์ต ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราหลักประกันเริ่มต้น (Initial Margin Rate) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
Margin Call การเรียกเงินประกันเพิ่ม การที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์เรียกให้ผู้ลงทุนนำเงินประกันมาวางเพิ่ม เนื่องจากยอดเงินคงเหลือในบัญชีมีระดับต่ำกว่าเงินประกันขั้นต่ำ (Maintenance Margin) ที่กำหนดไว้
Mark to market ปรับมูลค่าตามราคาตลาด   การปรับมูลค่าของหลักทรัพย์ให้เป็นจริงตามราคาตลาดล่าสุด
Market Capitalization มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด เรียกกันสั้นๆ ว่า Market Cap หมายถึง มูลค่าตามราคาตลาดโดยรวมของหลักทรัพย์จดทะเบียน ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณจากการนำราคาปิดของหลักทรัพย์จดทะเบียน คูณกับจำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียน ปัจจุบันการคำนวณมูลค่าตามราคาตลาดรวมของหลักทรัพย์จดทะเบียน ครอบคลุมหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ และใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนท์) โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้ 
Market Maker ผู้ดูแลสภาพคล่อง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่ดูแลสภาพคล่องของหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งให้มีการซื้อขายอย่างต่อเนื่องในการทำหน้าที่เป็น Market Maker หลักทรัพย์ใด บริษัทหลักทรัพย์จะต้องส่งทั้งคำสั่งซื้อและคำสั่งขายหลักทรัพย์นั้นในขณะเดียวกันเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะสามารถกระทำได้เสมอ ทั้งนี้ ผู้ดูแลสภาพคล่องจะต้องไม่ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่ตนเป็นผู้ดูแลอยู่เพื่อบัญชีบริษัท ในระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดด้วย
Market Order คำสั่งซื้อขายที่ระบุให้มีการซื้อขาย ณ ราคาเปิด (ช่วง Pre-open) คำสั่งซื้อขายที่ระบุให้มีการเสนอซื้อขาย ณ ราคาตลาด (ช่วง Open) คำสั่งซื้อขายที่ไม่ระบุราคาที่ต้องการซื้อหรือขาย แต่ต้องการให้คำสั่งซื้อที่ซื้อ ณ ราคาเสนอขายต่ำสุด หรือคำสั่งขายที่ขาย ณ ราคาเสนอซื้อสูงสุด โดยระบุจำนวนหน่วยการซื้อขายที่ต้องการอย่างชัดเจน
Market Price ราคาตลาด ราคาของหลักทรัพย์ใดๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เกิดจากการซื้อขายครั้งล่าสุด เป็นราคาที่สะท้อนถึงความต้องการซื้อและความต้องการขายจากผู้ลงทุนโดยรวมในขณะนั้น
Market price order การเสนอซื้อขาย ณ ราคาตลาด เป็นคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์แบบไม่ระบุราคา (Non-Limit Price Order) เป็นคำสั่งซื้อหรือขายหุ้น ณ ราคาที่ดีที่สุดในเวลาที่สั่ง บริษัทหลักทรัพย์จะขายหุ้น ณ ราคาที่สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในเวลานั้น หรือจะซื้อหุ้น ณ ราคาต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในเวลานั้นให้กับลูกค้า
Market risk ความเสี่ยงจากตลาด ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่เกิดจากราคา หรือผลตอบแทนปรับตัวขึ้นลง เนื่องจากความผันผวนของค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย การเมือง เป็นต้น แต่ความเสี่ยงนี้สามารถลดลงได้ ถ้ามีการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์หลาย ๆ ตัว
Mark-to-Market การปรับมูลค่าให้เป็นไปตามราคาตลาด กระบวนการที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์ใช้เพื่อปรับสถานะในสัญญาฟิวเจอร์สของผู้ลงทุนให้สะท้อนกับการเปลี่ยนแปลงของราคาฟิวเจอร์สในแต่ละวัน โดยสำนักหักบัญชีจะคำนวณส่วนต่างของราคาตลาดของสินทรัพย์อ้างอิงของฟิวเจอร์สในวันนั้นๆ เทียบกับราคาฟิวเจอร์สตามบัญชีของผู้ลงทุน โดยหากในวันนั้นๆ เกิดกำไรขึ้นจะมีการ โอนเงินกำไรที่เกิดขึ้นเข้าบัญชีของผู้ลงทุน และหากเกิดขาดทุนขึ้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีของผู้ลงทุนเช่นกัน ทำให้บัญชีของผู้ลงทุนมีการปรับสถานะให้ตรงตามราคาตลาดทุกวัน
Multiplier ตัวคูณดัชนี ตัวเลขที่ตลาดอนุพันธ์กำหนดขึ้นมาใช้แปลงตัวเลขดัชนีหุ้นให้เป็นจำนวนเงินเพื่อใช้ในการกำหนดมูลค่าของสัญญา เช่น SET50 Index Futures กำหนดให้ตัวคูณดัชนีเท่ากับ 1,000 บาท ต้องเราซื้อ SET50 Index Futures ที่ราคา 500 จุด หมายความว่ามูลค่าสัญญาเท่ากับ 500 x 1,000 = 500,000 บาท
Net Asset Value : NAV มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ NAV หมายถึง มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างสินทรัพย์ทั้งหมดของธุรกิจและหนี้สินทั้งหมด รวมถึงหุ้นกู้และหุ้นบุริมสิทธิในบางกรณี ค่า NAV สามารถนำมาใช้ตีมูลค่าบริษัทในการซื้อขายกันได้ NAV ของกองทุนรวม คือ ทรัพย์สินของกองทุนรวมตามราคาตลาดในขณะใดขณะหนึ่ง หักด้วยหนี้สินของกองทุนรวมนั้น ส่วนมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วยลงทุน หมายถึง มูลค่าสินทรัพย์สุทธิหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ถือเป็นมูลค่าจริงของหน่วยลงทุน ณ วันที่ทำการคำนวณ การคำนวณดังกล่าวจะต้องได้รับการตรวจสอบและให้ความเห็นชอบโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น
Net Capital Rule: NCR หลักเกณฑ์เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ เงินกองทุนสภาพคล่องของบริษัท หมายถึง สินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทหักด้วยหนี้สินรวมของบริษัทนั้น เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หมายถึง เงินกองทุนสภาพคล่องหักด้วยค่าความเสี่ยง ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิขึ้นมาใช้ก็เพื่อเป็นการเพิ่มมาตรฐานเกี่ยวกับฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์จะดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอที่จะจ่ายคืนหนี้สินแก่ลูกค้าเมื่อบริษัทประสบปัญหาทางการเงิน
Net Clearing การชำระบัญชีแบบยอดสุทธิ ตลาดหลักทรัพย์ใช้หลักการชำระบัญชีแบบยอดสุทธิในการชำระราคาและส่งมอบหุ้นที่ซื้อขายระหว่างบริษัทสมาชิก สมาชิกที่มียอดซื้อสุทธิจะชำระเงิน โดยส่งมอบเช็คเพียง 1 ใบ แก่ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และสมาชิกที่มียอดขายสุทธิ จะได้รับชำระเงินค่าหุ้นจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ด้วยเช็ค 1 ใบในการส่งมอบหุ้น บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ จะหักจำนวนหุ้นในบัญชีฝากหุ้นของสมาชิกฝ่ายขายตามยอดขายสุทธิ และโอนหุ้นเข้าบัญชีฝากหุ้นของสมาชิกฝ่ายซื้อตาม ยอดซื้อสุทธิ
Net Offset การหักลดยอดสุทธิ การที่ทำรายการซื้อและขายหลักทรัพย์ในวันเดียวกัน โดยการทำรายการตรงกันข้ามเพื่อปิด position
NET SETTLEMENT การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ การชำระราคาหลักทรัพย์ในลักษณะที่บริษัทหลักทรัพย์นำค่าซื้อและค่าขายหลักทรัพย์เดียวกัน ในวันเดียวกันของผู้ลงทุนรายเดียวกันมาหักลบกันเพื่อหายอดสุทธิ และเมื่อถึงวันที่ 3 หลังจากการซื้อขาย (T+3) ผู้ลงทุนก็เพียงแต่ชำระส่วนต่างที่มูลค่าซื้อมากกว่ามูลค่าขายเท่านั้น หากมูลค่าขายมากกว่ามูลค่าซื้อ ผู้ลงทุนก็ได้รับเงินในส่วนต่างสุทธิดังกล่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิช่วยให้ผู้ลงทุนไม่ต้องชำระเงินเต็มจำนวนยอดที่ซื้อทุกรายการ ทำให้ผู้ลงทุนมีสภาพคล่องมากขึ้น
NON-COMPLIANCE : NC เครื่องหมายเอ็นซี “NC” หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน
NON-VOTING DEPOSITORY RECEIPT : NVDR ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ตราสารประเภททุนที่ออกโดย บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติและมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายเอ็นวีดีอาร์ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ในลักษณะเช่นเดียวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วไป ผู้ถือเอ็นวีดีอาร์จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ แต่จะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ตราสารดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวกต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่ผู้ลงทุนชาวต่างชาติที่ติดขัดในเรื่องเพดานการถือครอง ขณะเดียวกันก็มิได้จำกัดการซื้อขายของผู้ลงทุนไทยแต่อย่างใด
NP : Notice Pending เครื่องหมายเอ็นพี เครื่องหมายนี้ย่อมาจาก Notice Pending ตลาดหลักทรัพย์ติดเครื่องหมายนี้ที่หลักทรัพย์เพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนทราบว่า ณ เวลาขณะนั้นตลาดหลักทรัพย์กำลังรอคำชี้แจงหรือรายงานข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว หรือกำลังรอการเปิดเผยงบการเงินหรือรายงานอื่นใดที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวจะต้องรายงานตามเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
NR : Notice received เครื่องหมายเอ็นอาร์ เครื่องหมายนี้ย่อมาจาก notice received ตลาดหลักทรัพย์จะติด NR ไว้บนหลักทรัพย์ที่เพิ่งถูกถอนเครื่องหมาย NP เพื่อแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่าตลาดหลักทรัพย์ได้รับแจ้งข้อมูลข่าวสารหรือรายงาน หรือคำชี้แจงจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวอย่างพอเพียงและได้ทำการเผยแพร่เพื่อให้ทราบทั่วกันแล้ว
Odd Lot หน่วยย่อย จำนวนหลักทรัพย์ซึ่งต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย เช่น ในกรณีที่หน่วยการซื้อขายเท่ากับ 100 หุ้น หน่วยย่อยในที่นี้ หมายถึง หุ้นที่มีจำนวนตั้งแต่ 1 หุ้น ถึง 99 หุ้น ทั้งนี้ การซื้อขายหุ้นในจำนวนที่ไม่เต็ม 1 หน่วยการซื้อขาย หรือ Odd Lot จะต้องซื้อขายบนกระดานหน่วยย่อย (Odd-Lot Board) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดไว้ให้
Offer ราคาเสนอขาย ราคาเสนอขายของหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง ณ ขณะใดขณะหนึ่ง อาจมีราคาเสนอขายเข้ามาหลายระดับราคา ซึ่งระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเรียงลำดับคำสั่งซื้อ/ขายตามราคาเสนอซื้อ/เสนอขายที่ดีที่สุดไว้ เพื่อรอการจับคู่การซื้อขาย โดยราคาที่ดีที่สุดในที่นี้มีหลักเกณฑ์ว่า ผู้เสนอขายที่ให้ราคาต่ำกว่าควรได้สิทธิขายก่อนผู้เสนอขายรายอื่นๆ ทั้งนี้ ระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะแสดงราคาเสนอขายต่ำที่สุดไว้
Open Interest สถานะคงค้าง คือจำนวนสัญญาที่ยังคงมีสถานะคงค้างอยู่ หรือยังไม่มีการทำธุรกรรมหักล้างเพื่อปิดสถานะของสัญญาลง จำนวนสัญญาคงค้างหนึ่งสัญญาประกอบด้วยผู้ซื้อหนึ่งสัญญาและผู้ขายอีกหนึ่งสัญญา
Opening Price ราคาเปิด เป็นราคาหลักทรัพย์ที่เกิดจากการซื้อขายรายการแรกของแต่ละวันทำการ เกิดจากการที่ระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ รวบรวมคำสั่งซื้อ/ขายหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ส่งเข้ามาซื้อขายบนกระดานหลัก ในช่วงเช้าก่อนเปิดตลาด (Pre-opening) ตั้งแต่เวลา 9.30 น และทำการสุ่มเลือกเวลาเปิดตลาดในช่วงระหว่าง 9.55 - 10.00 น. พร้อมทั้งคำนวณราคาเปิดของแต่ละหลักทรัพย์ตามหลักการ ดังนี้ 
Options ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายทรัพย์สิน ตราสารที่กำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะซื้อทรัพย์สินจากหรือขายทรัพย์สินให้ผู้ออกตราสารนั้น ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ เช่น ประเภทและคุณภาพทรัพย์สิน จำนวน ราคา วันหมดอายุของตราสารและกำหนดเวลาให้ใช้สิทธิได้ หากเป็นตราสารที่ให้สิทธิผู้ถือซื้อทรัพย์สินจะเรียกว่า ตราสารสิทธิเรียกซื้อทรัพย์สิน (Call Options) ถ้าเป็นตราสารที่ให้สิทธิผู้ถือขายทรัพย์สินจะเรียกว่าตราสารสิทธิให้ขายทรัพย์สิน (Put Options) สิ่งที่นำมากำหนดให้สิทธิซื้อหรือขายอาจจะเป็นหุ้นสามัญ ดัชนีราคาหุ้น พันธบัตรรัฐบาล เงินตราต่างประเทศ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ข้าวโพด ทองคำ เป็นต้น ผู้ถือ (หรือผู้ซื้อ) Options มีสิทธิเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ใช้สิทธิตาม Options ก็ได้ แต่ผู้ขาย Options มีพันธะจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใน Options หากว่าผู้ถือขอใช้สิทธิ ถ้าผู้ถือไม่ใช้สิทธิจนกระทั่ง Options นั้นหมดอายุ Options นั้นจะไม่มีผลผูกพันต่อผู้ขายอีกต่อไป
Outright Position การส่งคำสั่งซื้อ/ขายเพียงอย่างเดียว เป็นการทำการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ส โดยมีการซื้อเพียงอย่างเดียว หรือขายเพียงอย่างเดียว
Out of the Money สถานะของ DW 
Outstanding จำนวนหน่วย DW ที่ถือครองโดยนักลงทุน ณ วันที่ระบุ
Over The Counter Market ตลาดรองตราสารทุน   ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นๆที่ไม่ได้จดทะเบียนทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการ เช่น การซื้อขายนอกตลาดโดยปกติจะมีขนาดหรือปริมาณการค้าจำนวนน้อยกว่า มีสภาพคล่องน้อยกว่า และมีการคุ้มครองผลประโยชน์ของนักลงทุนน้อยกว่าตลาดที่เป็นทางการ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดทำระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับการซื้อขายนอกตลาดขึ้นเพื่อใช้ปฏิบัติกันเอง โดยสมาคมผู้ค้าหลักทรัพย์แห่งชาติ( The National Association of Securities Dealer : NASD) สำหรับประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้เห็นชอบในหลักการในการจัดตั้งตลาดรองตราสารทุนเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2537 โดยมุ่งเน้นนักลงทุนที่เป็นสถาบันเข้ามาลงทุนในตลาดนี้
Over-The-Counter : OTC การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ การซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นนอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ การซื้อขายหุ้นนอกตลาด โดยทั่วไปจะมีขนาดหรือปริมาณการค้าน้อย มีสภาพคล่องต่ำ และมีการคุ้มครองผลประโยชน์ของนักลงทุนน้อยกว่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีทางการกำกับดูแล
Vocabulary คำศัพท์ คำอธิบาย
P/BV Ratio อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อมูลค่าทางบัญชีของหุ้นสามัญ 1 หุ้นตามงบการเงินล่าสุดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้น อัตราส่วนนี้บอกให้ทราบว่า ราคาหุ้น ณ ขณะนั้น สูงเป็นกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชี หากมีค่าสูง ก็แสดงว่าผู้ลงทุนทั่วไปในตลาดคาดหมายว่า บริษัทดังกล่าวมีศักยภาพที่จะเติบโตสูง ขณะเดียวกันก็แสดงถึงระดับความเสี่ยงที่สูงด้วย มีสูตรการคำนวณดังนี้
P/E Ratio อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นสามัญที่บริษัทนั้นทำได้ในรอบระยะเวลา 12 เดือนหรือ ในรอบ 1 ปีล่าสุด อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนยินดีจะลงทุนจ่ายเงินซื้อหุ้นนั้นเป็นกี่เท่าของทุกๆ 1 บาท ของกำไรสุทธิของบริษัท ซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้
Par Value (Face Value)  มูลค่าที่ตราไว้ มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ระบุไว้บนใบหุ้น ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้น มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วย ซึ่งจะใช้เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางบัญชี และแสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฎหมายของกิจการ
Position Limit การจำกัดสถานะ จำนวนสูงสุดของสัญญาฟิวเจอร์สที่ตลาดอนุพันธ์อนุญาตให้ผู้ลงทุนรายหนึ่งถือครองหรือมีสถานะคงค้างได้ ขีดจำกัดเกี่ยวกับการถือครองสัญญาจะป้องกันไม่ให้นักเก็งกำไรถือครองสัญญาในจำนวนมากจนส่งผลต่อราคาในตลาดได้ เช่น ตลาดอนุพันธ์กำหนดให้ผู้ลงทุนมีสถานะใน SET50 Index Futures ได้ไม่เกิน 10,000 สัญญา โดยคิดจากสัญญาซื้อหรือขายเดือนใดเดือนหนึ่ง และสุทธิจากสัญญาซื้อและขายทุกเดือนรวมกัน
Premium เปอร์เซ็นต์ที่หุ้นอ้างอิงต้องปรับขึ้น (กรณี Call) หรือ ปรับลง (กรณี Put) เมื่อเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบัน เพื่อคำนวณจุดคุ้มทุนกรณีที่ถือ DW จนครบกำหนดอายุเท่านั้น ดังนั้น ค่า Premium จึงไม่ควรใช้สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรบน DW ระยะสั้น และไม่ควรใช้เป็นตัวเปรียบเทียบความแพงหรือถูกของ DW ที่มีราคาใช้สิทธิ และอายุต่างกัน (Implied Volatility จะเหมาะสมกว่าในการเปรียบเทียบ)
Prospectus หนังสือชี้ชวน เอกสารที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์และเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปต้องจัดทำขึ้น เพื่อเปิดเผยข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทหรือกองทุนรวม และการเสนอขายหลักทรัพย์ให้ผู้ลงทุนทราบ โดยหนังสือชี้ชวนจะต้องแสดงข้อมูลลักษณะธุรกิจของบริษัทหรือกองทุนรวม โครงการในอนาคต การบริหารงาน ผู้บริหารของบริษัท แผนการลงทุน (กรณีกองทุนรวม) ข้อมูลทางการเงิน ผลประกอบการในอดีตและที่คาดการณ์ว่าจะเป็นไปได้ในอนาคต ปัจจัยความเสี่ยง รายการระหว่างกัน ประเภทของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย จำนวน มูลค่าที่ตราไว้ ราคาเสนอขาย และวันเวลาที่ให้จองซื้อหลักทรัพย์ ข้อมูลในหนังสือชี้ชวนมีความสำคัญต่อผู้ลงทุน สำหรับใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ร่างหนังสือชี้ชวนของบริษัทต้องผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก่อนจัดทำเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไป
Proxy ใบมอบฉันทะ   หนังสือซึ่งผู้ถือหุ้นลงลายมือชื่อมอบฉันทะให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นแทนตน
Public offering การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน การที่บริษัทนำหลักทรัพย์ของตนออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป จุดประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการและเพื่อกระจายการถือครองหลักทรัพย์ให้ประชาชนทั่วไป การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนจะต้องกระทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriters) จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Public Offering : PO การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน การที่บริษัทมหาชนจำกัดนำหลักทรัพย์เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการ และเพื่อกระจายการถือครองหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชน การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนต้องกระทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) รวมทั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน คณะกรรมการ ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
Put Option พุทออปชัน สัญญาที่ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ซื้อออปชันในการขายสินทรัพย์อ้างอิงให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ตามจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
Put Through : PT วิธีซื้อขายแบบแจ้งรายการเข้าสู่ระบบ เป็นวิธีซื้อขายหลักทรัพย์แบบหนึ่งที่ใช้ในระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าผู้ซื้อกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าผู้ขาย ทำการตกลงซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริษัทนายหน้าผู้ขายก็จะบันทึกรายการซื้อขาย (Put Through: PT) เข้ามาในระบบการซื้อขาย และเมื่อบริษัทนายหน้าผู้ซื้อได้รับรองรายการซื้อขายดังกล่าวในระบบการซื้อขายแล้ว ก็จะถือว่ารายการซื้อขายนั้นมีผลโดยสมบูรณ์
Quotation ข้อมูลราคาที่เสนอซื้อ - ขาย ข้อมูลแสดงราคาเสนอซื้อ - เสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่นักลงทุนต้องการซื้อ / ขายหุ้น ณ ขณะนั้น
Rights สิทธิ์จองซื้อหุ้นออกใหม่ มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Subscription Right เป็นสิทธิที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์มอบให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ในการที่จะจองซื้อหุ้นสามัญ และ/หรือหุ้นบุริมสิทธิ ที่ออกใหม่จากการเพิ่มทุนของบริษัท ผู้ถือหุ้นจะได้สิทธิตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่ โดยทั่วไปบริษัทมักให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนออกใหม่ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด หรือจองซื้อก่อนบุคคลภายนอก/ผู้เกี่ยวข้องกลุ่มอื่น
Risk Management การจัดการความเสี่ยง กระบวนการในการระบุ วิเคราะห์ ประเมิน ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับกิจกรรม หน้าที่ และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรสามารถขจัดหรือลดความเสียหายจากความเสี่ยงต่างๆ ให้ได้มากที่สุด
Secondary Market ตลาดรอง   เป็นตลาดที่ทำหน้าที่เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้ผ่านการซื้อขายในตลาดแรกแล้ว การซื้อขายในตลาดรองเป็นการซื้อขายเพื่อการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้น ตลาดรองมีส่วนสนับสนุนตลาดแรกอย่างมาก เพราะตลาดรองช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเงินทุนระหว่างผู้มีเงินออมหรือผู้ลงทุน ดังนั้น ถ้าตลาดรองมีการขยายตัวดี มีประสิทธิภาพก็จะช่วยทำให้ตลาดแรกขยายตัวเช่นกัน ตลาดรองที่สำคัญก็คือ "ตลาดหลักทรัพย์" หรือ "ตลาดหุ้น" ตัวอย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Sectoral Index ดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม   ดัชนีราคาหุ้นของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมใดจะใช้ราคาหุ้นสามัญทุกตัวที่จัดอยู่ใน กลุ่มอุตสาหกรรมนั้นในการคำนวณ เช่น ดัชนีราคาหุ้นกลุ่มธนาคาร คำนวณขึ้นโดยใช้ราคาหุ้นสามัญทุกสถาบันในกลุ่มธนาคาร เป็นต้น ในปัจจุบันนี้ ตลาดหลักทรัพย์จัดหุ้นสามัญจดทะเบียนทั้งหมดกระจายอยู่ใน 30 กลุ่มอุตสาหกรรม และได้คำนวณดัชนี ราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 30 กลุ่ม เป็นรายกลุ่มด้วย
Securities Lending การให้ยืมหลักทรัพย์ การโอนหลักทรัพย์ในช่วงระยะเวลาหนี่งจากผู้ให้ยืมไปยังผู้ยืม โดยผู้ยืมตกลงว่าจะโอนหลักทรัพย์ที่ยืมคืนให้กับผู้ให้ยืมเมื่อถึงวันครบกำหนดสัญญา และเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการที่ผู้ยืมไม่สามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่ยืมคืนได้ ผู้ยืมจึงตกลงโอนทรัพย์สินในคราวเดียวกัน เพื่อวางเป็นประกันให้กับผู้ให้ยืม ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเงินสดหรือหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกัน โดยผู้ให้ยืมจะคืนทรัพย์สินที่วางเป็นประกันเมื่อได้รับหลักทรัพย์ที่ให้ยืมคืนจากผู้ยืม ในระหว่างที่ยังไม่คืนหลักทรัพย์ หากมีสิทธิประโยชน์ใด ๆ เกิดขึ้น เช่น เงินปันผล สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เป็นต้นจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ผู้ยืมจะต้องชดเชยสิทธิประโยชน์นั้นแก่ผู้ให้ยืม
Selling Short หรือ Short Sell การขายชอร์ต การขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีอยู่ในครอบครอง เนื่องจากคาดว่าราคาหลักทรัพย์จะลดลง จึงขายไปก่อนที่ราคาปัจจุบัน และจะไปซื้อคืนในภายหลัง โดยผู้ขายชอร์ตต้องยืมหลักทรัพย์จากบุคคลอื่นเพื่อส่งมอบไปก่อน และไปซื้อคืนในภายหลัง เพื่อเอาหลักทรัพย์ไปคืนแก่เจ้าของเดิม สำหรับกำไรหรือขาดทุนจะเกิดตอนซื้อคืน ขึ้นอยู่กับว่าซื้อคืนในราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาตอนที่ขายหลังจากหักค่านายหน้าและค่าธรรมเนียม
Sensitivity เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนไป 1 ช่องราคา ราคา DW เปลี่ยนไปกี่ช่องราคา
SET 50 Index Future สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีเซท 50 ดัชนีหุ้นสามัญที่ตลาดหลักทรัพ์จัดทำขึ้น เพื่อใช้แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวที่มีมูลค่าตลาดสูงและการซื้อขายมีสภาพคล่องสูงอย่างสม่ำเสมอ โดยนำดัชนีหุ้นดังกล่าวมาเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ในการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
Set 50 Index Options ตราสารสิทธิที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 หมายถึงออปชั่นซึ่งมีสินค้าอ้างอิงเป็น SET50 Index โดย SET50 Index Options กำหนดตัวคูณดัชนีเท่ากับ 200 บาท ต่อ 1 สัญญา ครบกำหนดในเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาสเหมือนกับ SET50 Index Futures และกำหนดให้ใช้สิทธิได้เฉพาะวันที่สัญญาครบกำหนดเท่านั้น โดยในวันที่ออปชั่นครบกำหนด ผู้ซื้อ SET50 Call Options จะใช้สิทธิและได้รับชำระเงิน หากระดับดัชนี SET50 สูงกว่าราคาใช้สิทธิ ส่วนผู้ซื้อ SET50 Put Options จะได้รับชำระเงิน หากระดับดัชนี SET50 ต่ำกว่า ราคาใช้สิทธิ SET50 Index Options ซื้อขายในบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายผ่านบริษัทโบรกเกอร์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์
SET Index ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นดัชนีราคาหุ้นที่คำนวณโดยการถัวเฉลี่ยราคาหุ้นสามัญแบบถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวนหุ้นจดทะเบียน โดยใช้หุ้นสามัญจดทะเบียนทุกหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีสูตรการคำนวณ ดังนี้ 
SET50 Index ดัชนี SET50 เป็นดัชนีราคาหุ้นอีกตัวหนึ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำขึ้น เพื่อใช้แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 หลักทรัพย์ ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง และการซื้อขายมีสภาพคล่องอย่างสม่ำเสมอ โดยมีสูตรและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับการคำนวณ SET Index แต่ใช้วันที่ 16 สิงหาคม 2538 เป็นวันฐาน ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการพิจารณาเลือกหุ้นสามัญ 50 หลักทรัพย์ เพื่อใช้ในการคำนวณ SET50 Index ทุกๆ 6 เดือน   
Settle or Settlement Price ราคาที่ใช้ชำระราคา ราคาที่ใช้ชำระราคา เป็นราคาที่สำนักหักบัญชีใช้ในการปรับมูลค่าให้เป็นไปตามราคาตลาด (Mark-to-Market) โดยการคำนวณกำไรขาดทุนที่จะไปใช้ปรับยอดคงเหลือของผู้ลงทุน ราคาที่ใช้ชำระราคาอาจคำนวณจากราคาสุดท้ายหรือราคาเฉลี่ยของการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สในช่วงปิดตลาดในวันทำการหนึ่งๆ
Settlement การชำระราคาหลักทรัพย์ การจ่ายชำระค่าซื้อ - ขาย หลักทรัพย์ในวันที่กำหนด 
Settlement date วันครบกำหนดชำระ วันครบกำหนดชำระเงินค่าซื้อ-ขาย หลักทรัพย์ ที่ต้องชำระค่าซื้อ - ขายหลักทรัพย์ ณ วันครบกำหนดชำระ 
Share Depository ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หน่วยงานที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางรับฝากและถอนหลักทรัพย์ให้สมาชิก รวมทั้งบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่นการโอน และงานทะเบียนผู้ถือหุ้น การทำหน้าที่ดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการชำระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อ ขายกัน เนื่องจากสมาชิกทุกรายต่างก็มีบัญชีฝากหุ้นอยู่ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ การส่งมอบหุ้นที่ซื้อขายกันสามารถ กระทำได้โดย ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ทำการโอนจำนวนหุ้นในบัญชีของสมาชิกผู้ขายไปเข้าบัญชีของสมาชิกผู้ซื้อ ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องเสียเวลาและมีภาระในการส่งมอบรับมอบใบหุ้นระหว่างกัน สถาบันที่ทำหน้าที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในประเทศไทย คือ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Thailand Securities Depository Co., Ltd. หรือ TSD ซึ่งเป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Share Distribution การกระจายหุ้น การกระจายหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่งไปยังผู้ถือหุ้น โดยบริษัทที่มีการกระจายหุ้นที่ดี การขายหุ้นออกจำนวนมากของผู้ถือหุ้นบางราย มักจะไม่กระทบราคาของหุ้นมากนัก
Short Position สถานะขาย สถานะในสัญญาฟิวเจอร์สที่เกิดจากการขายสัญญาฟิวเจอร์ส ผู้ที่มีสถานะขายจะได้กำไรหากราคาฟิวเจอร์สมีค่าลดลง
Short Sell การขายชอร์ต การขายหุ้นโดยที่ผู้ขายได้ยืมหุ้นนั้นมาจากบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันที่ให้บริการยืมหุ้น ผู้ขายชอร์ตจะต้องวางเงินประกัน (Margin) ไว้กับบริษัทผู้ให้ยืมหุ้น ในจำนวนไม่ต่ำกว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด และเงินจากการขายหุ้นดังกล่าวก็ต้องเก็บรักษาไว้ที่บริษัทนายหน้าเพื่อเป็นหลักประกันด้วย จนกว่าผู้ขายชอร์ตจะส่งคืนหุ้นจำนวนที่ยืมไปนั้น ซึ่งจะส่งคืนหุ้น ณ วันที่ถึงกำหนดส่งคืนหุ้น หรือส่งคืนก่อนวันครบกำหนดก็ได้ ในระหว่างที่ยังไม่ส่งคืนหุ้น หากหุ้นนั้นได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ จากบริษัทผู้ออกหุ้น ผู้ขายชอร์ตจะต้องส่งมอบสิทธิต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นแก่บริษัทนายหน้า เพื่อส่งมอบต่อให้ แก่เจ้าของหุ้นที่ให้ยืมอีกทอดหนึ่ง สิทธิต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การจ่ายเงินปันผล การให้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เป็นต้น
Short-term Warrant ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น เป็น Warrant ประเภทที่มีอายุสั้น บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการเพิ่มทุนอาจเลือกออกตราสารนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมแทนการให้ Right โดยทั่วไป Warrant ประเภทนี้มักมีอายุไม่เกิน 2 เดือน ผู้ถือสามารถใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกตราสารนี้ ตามอัตราสิทธิให้จองซื้อ ราคา และภายในระยะเวลาที่กำหนดบนตราสาร โดยทั่วไปบริษัทจดทะเบียนมักจะยื่นขอให้ตลาดหลักทรัพย์รับ Short-Term Warrants เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพื่อสามารถ ซื้อขายเปลี่ยนความเป็นเจ้าของสิทธิได้ ช่วยให้ผู้ถือหุ้นเดิมที่ได้ Short-Term Warrants มาแต่ไม่ต้องการใช้สิทธินั้น สามารถขาย ตราสารดังกล่าวให้ผู้อื่นที่ต้องการได้
Silent Period ช่วงเวลาห้ามขายหุ้น ช่วงระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดห้ามผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและ/หรือผู้เกี่ยวข้อง กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนใหม่ ในการนำหุ้นบริษัทดังกล่าวที่ตนถือครองอยู่ออกขาย โดยทั่วไปช่วงเวลาห้ามขาย หุ้นจะประมาณ 6 เดือนนับแต่วันแรกที่ให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่ในบางกรณีอาจจะกำหนดให้นานกว่า 6 เดือนก็ได้ แต่ไม่เกิน 3 ปี
SP : Suspension เครื่องหมายเอสพี ย่อมาจาก Suspension เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ติดบนหลักทรัพย์เพื่อแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์ดังกล่าว อยู่ในระหว่างถูกห้ามซื้อขายชั่วคราว
Specific Fund กองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กองทุนรวมที่มีนโยบายในการกระจายการลงทุนน้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนดสำหรับกองทุนรวมทั่วไป
Speculate การเก็งกำไร การที่เข้ามาซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สเพื่อหวังกำไรจากการที่ราคาฟิวเจอร์สในอนาคตเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ตนคาดคิด
Speculator นักเก็งกำไร ผู้ลงทุนที่เข้ามาซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สเพื่อหวังกำไรจากการที่ราคาฟิวเจอร์สในอนาคตเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ตนคาดคิด เช่น ถ้าคาดว่าราคาฟิวเจอร์สจะสูงขึ้นในอนาคตนักเก็งกำไรจะซื้อสัญญาฟิวเจอร์สแล้วรอการขายในอนาคต เพื่อที่ในอนาคตจะได้กำไรจากส่วนต่างของราคาขายที่สูงกว่าราคาซื้อในตอนแรก แต่ถ้าคาดว่าราคาฟิวเจอร์สจะต่ำลงในอนาคต นักเก็งกำไรจะขายสัญญาฟิวเจอร์สแล้วรอการซื้อในอนาคต
Split การแตกหุ้น การแตกหุ้นของบริษัทหนึ่งที่ออกจำหน่ายแล้วให้มีจำนวนมากขึ้น มักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาหุ้นขอบริษัทที่ซื้อขายกันในตลาดมีราคาสูง ประกอบกับบริษัทต้องการเงินทุนเพิ่มเพื่อการขยายกิจการ บริษัทจะทำการแตกหุ้น ซึ่งส่วนมากควรจะมีผลให้ราคาตลาดของหุ้นลดลง การซื้อขายจะคล่องตัวขึ้น และเมื่อบริษัทออกหุ้นใหม่เพื่อการเพิ่มทุนก็จะทำได้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ การแตกหุ้นจะไม่ทำให้มูลค่ารวมของทุนจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง แต่จะเปลี่ยนเฉพาะจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายและราคาตามบัญชีหุ้นเท่านั้น โดยไม่ทำให้สัดส่วนความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนไปแต่อย่างใด เช่น บริษัทที่มีหุ้นสามัญ 1,000,000 หุ้น ต้องการจะแบ่งหุ้นในสัดส่วน 3 ต่อ 1 ฉะนั้นจะมีจำนวนหุ้นเปลี่ยนเป็น 3,000,000 หุ้น เป็นต้น
Spot Market ตลาดซื้อขายทันที ตลาดสำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ตามปกติที่จะมีการตกลงส่งมอบสินค้าและชำระเงินทันที ซึ่งตรงข้ามกับตลาดฟิวเจอร์สที่เป็นการตกลงเพื่อการส่งมอบและชำระเงินในอนาคตเราอาจเรียก Spot market อีกชื่อหนึ่งว่า Cash market
Spot Price ราคาสำหรับการซื้อขายทันที ราคาสินทรัพย์ที่ทำการตกลงเพื่อส่งมอบสินค้าและชำระเงินทันที เราอาจเรียก Spot Price อีกชื่อหนึ่งว่า Cash Price
Spread ช่วงราคา ส่วนต่างราคาระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายของหลักทรัพย์นั้น ๆ
ST : Stabilization เครื่องหมายเอสที ST หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการซื้อหุ้นเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน
Stock Dividend การจ่ายหุ้นปันผล เป็นวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นสามัญอีกแบบหนึ่ง ส่วนมากจะกำหนดเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าหุ้นสามัญ เช่น จ่ายหุ้นปันผล 10 % หมายความว่าผู้ถือหุ้นเดิมแต่ละคนจะได้รับหุ้นเพิ่ม 10 หุ้นจากหุ้นเดิมที่ถืออยู่ 100 หุ้น ดังนั้นถ้ามีหุ้นสามัญอยู่ทั้งหมด 30 ล้านหุ้น หลังการจ่ายหุ้นปันผล บริษัทจะมีหุ้นสามัญทั้งสิ้น33 ล้านหุ้น การออกหุ้นปันผลไม่มีส่วนกระทบต่อสัดส่วนความเป็นเจ้าของกิจการแต่อย่างใด บริษัทที่จ่ายหุ้นปันผล มักจะมีจุดมุ่งหมายที่จะเก็บเงินสดไว้เพื่อการลงทุน เช่น การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ใช้ในโรงงานหรือลงทุนในสินค้าคงเหลือและลูกหนี้ เพื่อการขยายตัวของธุรกิจตามแผนที่กำหนดไว้ บริษัทที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วมักจะใช้เงินที่ได้จากกำไรสุทธิเพื่อเป็นเงินทุน บริษัทในลักษณะนี้จะไม่จ่ายปันผลเป็นเงินสด แต่จะจ่ายเป็นหุ้นโดยออกหุ้นใหม่ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินปันผลทั้งสิ้นที่จะจ่าย ผลจากการออกหุ้นใหม่เพื่อมาจ่ายปันผลก็คือ ทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น แต่ไม่ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงมีการโอนเงินจากบัญชีกำไรสะสมตามราคาตลาดในเวลานั้นไปเข้าบัญชีทุนหุ้นสามัญและส่วนเกินทุน ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ยังคงเดิม ในกรณีเช่นนี้ ถึงแม้บริษัทจะไม่จ่ายเงินปันผลก็ตาม แต่ว่าเงินส่วนนี้ได้ถูกเก็บไว้เพื่อการลงทุนซึ่งก่อให้เกิดรายได้ต่อไป ผลประโยชน์ที่ได้รับก็คือ ถ้าบริษัทสามารถขยายตัวได้ตามแผน กำไรต่อหุ้นจะสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทในอนาคตสูงขึ้น
Stock Index ดัชนีหุ้นสามัญ ตัวเลขหรือดัชนีที่ถูกคำนวณขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและสะท้อนถึงผลการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ของหุ้นสามัญกลุ่มหนึ่ง เช่น SET50 Index เป็นดัชนีหุ้นสามัญที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของหุ้นสามัญ 50 ตัวที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
Stock Index Futures สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า สัญญาซื้อขายกลุ่มหุ้นที่เป็นองค์ประกอบในการคำนวณดัชนีราคาหุ้นโดยกำหนดให้ส่งมอบกันในอนาคต ใน Stock Index Futures จะต้องระบุดัชนีราคาหุ้นที่ใช้อ้างอิง มูลค่าของ 1 สัญญาซื้อขาย (หมายถึงตัวคูณที่แปลงค่า 1 หน่วยดัชนี เป็นจำนวนเงิน เช่น ตัวคูณของ S&P 500 Futures เท่ากับ $500 เป็นต้น) เดือนกำหนดส่งมอบ(มักกำหนดเป็นเดือนมี.ค., มิ.ย., ก.ย., และ ธ.ค.) และวิธีการส่งมอบ ซึ่งจะกำหนดให้ส่งมอบกันด้วยเงินสดตามผลต่างของระดับดัชนีที่ซื้อกับที่ขาย (ถ้าเป็นกรณี รอถึงกำหนดส่งมอบจะคิดจากผลต่างของระดับดัชนีที่ซื้อ (หรือที่ขาย) กับระดับดัชนีที่ใช้อ้างอิง ณ วันส่งมอบ) Stock Index Futures เป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ (ทั้งบุคคลธรรมดาและสถาบัน) และผู้ทำธุรกิจหลักทรัพย์ใช้ปกป้องและบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของภาวะตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ลงทุนมีช่องทางลงทุนเพิ่มขึ้น และช่วยให้กลไกราคาในตลาดหลักทรัพย์สะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากการที่สามารถกระทำ Arbitrage จากผลต่างที่ผิดปกติระหว่างระดับดัชนีในตลาดหลักทรัพย์กับระดับดัชนีในการซื้อขาย Stock Index Futures ซึ่งการทำ Arbitrage จะผลักดันให้ราคาที่ผิดปกติกลับสู่ระดับตามปัจจัยพื้นฐานได้เร็วขึ้น
Stock Index Options ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายดัชนีราคาหุ้น เป็น Options ที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะซื้อหรือขายกลุ่มหุ้นที่เป็นองค์ประกอบในการคำนวณดัชนีราคาหุ้นกับผู้ขาย Options ในตราสาร Options จะต้องระบุว่าให้สิทธิผู้ถือซื้อ (Call) หรือให้สิทธิขาย (Put) ให้ใช้สิทธิได้ทุกวันหรือให้ใช้สิทธิในวันที่ ครบกำหนด อีกทั้งต้องระบุถึงดัชนีราคาหุ้นที่ใช้อ้างอิง มูลค่าตัวคูณที่ใช้แปลงค่า 1 หน่วยดัชนีเป็นจำนวนเงิน ระดับดัชนีที่ถือเป็น ราคาให้ใช้สิทธิ (Exercise Price) เดือนหมดอายุของตราสาร (มักกำหนดเดือนปัจจุบันและเดือนถัดไปต่อเนื่องกัน 3 ถึง 4 เดือน เป็นต้น) และวิธีการส่งมอบเมื่อมีการใช้สิทธิซึ่งจะให้ส่งมอบเป็นเงินสดตามผลต่างของระดับดัชนีบน ooptions กับระดับดัชนีที่ ใช้อ้างอิง ณ วันใช้สิทธิ Stock Index Options เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์และเกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลัก ทรัพย์นิยมใช้ปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของภาวะตลาดหลักทรัพย์ การให้ซื้อขายตราสารนี้ยังเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนในตลาดทุน และสร้างโอกาสให้มีการทำ arbitrage มาช่วยให้กลไกตลาดมีประสิทธิภาพในการสะท้อนปัจจัยพื้นฐานได้ดีขึ้น
Stock Options ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น Options ที่ให้สิทธิผู้ถือที่จะซื้อหรือขายหุ้นสามัญกับผู้ขาย Options ตราสารสิทธิประเภทนี้จะต้องระบุว่าให้สิทธิซื้อ หรือขายหุ้นสามัญบริษัทใด จำนวนเท่าใด ณ ราคาเท่าใด อายุของตราสารสิ้นสุดเดือนใด ให้ผู้ถือใช้สิทธิได้ทุกวันหรือเฉพาะเมื่อวัน ตราสารหมดอายุ และให้ส่งมอบอย่างไรเมื่อมีการใช้สิทธิ การจัดให้มีการซื้อขาย Stock Options จะช่วยให้ผู้ลงทุนมีช่องทางลงทุนที่หลากหลายให้เลือก และยังช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหุ้นสามัญที่มี Stock Options ไม่ว่าจะในแง่ทำธุรกิจหลักทรัพย์หรือการลงทุนมีเครื่องมือที่จะปกป้องความ เสี่ยงจากความผันผวนของราคาหุ้นสามัญตัวนั้น Stock Options ประเภท Call (ประเภทให้สิทธิผู้ถือที่จะซื้อ) ของหุ้นใดมีลักษณะใกล้เคียง Short-Term Warrants ของหุ้นนั้นอย่างมาก จะแตกต่างกันตรงที่ Stock Options มีอายุไม่เกิน 1 ปีและใครจะเป็นผู้ออกก็ได้ แต่ Short-Term Warrants มักมีอายุประมาณ 2 เดือนและบริษัทผู้ออกหุ้นสามัญนั้นเท่านั้นที่เป็นผู้ออกได้ การใช้สิทธิ Stock Options ไม่ก่อให้เกิดหุ้นใหม่แต่ การใช้สิทธิ Short-Term Warrants จะทำให้เกิดหุ้นใหม่   
Stock Unchanged จำนวนหุ้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของราคา แสดงจำนวนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีการซื้อขายในวันนั้นๆ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของราคา
Stop Limit Order คำสั่งซื้อขายที่ให้การเสนอซื้อขาย ณ ราคาที่ระบุไว้มีผลในระบบซื้อขาย เมื่อราคาตลาดขณะนั้นเคลื่อนไหวมาถึงราคาที่กำหนด
Stop Order คำสั่งซื้อขายที่ให้การเสนอซื้อขาย ณ ราคาตลาดมีผลในระบบซื้อขาย เมื่อราคาตลาดขณะนั้นเคลื่อนไหวมาถึงราคาที่กำหนด
Subscription Date วันจองซื้อหุ้น วันที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์กำหนดให้ผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นใบจองซื้อและชำระเงินค่าจองซื้อ
Swap สัญญาสวอป เป็นสัญญาในการแลกเปลี่ยนบางสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระหว่างคู่สัญญา ซึ่งอาจจะเป็นสินทรัพย์หรือตัวแปรทางการเงิน เช่น เงินตราต่างประเทศ หรืออัตราดอกเบี้ย สัญญาสวอปซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ สัญญาสวอปอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap) ซึ่งเป็นสัญญาทางการเงินที่คู่สัญญาตกลงที่จะแลกเปลี่ยนภาระการชำระดอกเบี้ยให้แก่กันและกัน ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ (Currency Swap) ซึ่งเป็นสัญญาในการแลกเปลี่ยนเงิน ตราสกุลหนึ่งกับเงินอีกสกุลหนึ่งที่อ้างอิงไว้ เป็นต้น
Technical Analysis การวิเคราะห์ทางเทคนิค   วิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ระดับราคาหลักทรัพย์และปริมาณการซื้อขายเป็นข้อมูลแสดงเป็นแผนภูมิ (รูป กราฟ) ชนิดต่าง ๆ ให้ทราบถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในอดีต เพื่อจะใช้กำหนดหรือคาดหมายแนวโน้มของ ราคาในอนาคตของหลักทรัพย์นั้น โดยทั่วไปการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะใช้วิเคราะห์เพื่อคาดหมายแนวโน้มในระยะสั้นหรือระยะ ปานกลาง เพื่อใช้ตัดสินใจเลือกจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ แต่ก็อาจใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อดูการเคลื่อนไหวที่เป็นวัฏจักรระยะยาว (Long-Term Cycle) ได้ด้วย การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ตรงที่ไม่ได้ใช้ข้อมูลฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ออกหุ้นมาประกอบการวิเคราะห์
Tender Offer การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ การแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง (โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง) ถึงความต้องการที่จะซื้อหุ้น บริษัทดังกล่าวจากผู้ถือหุ้น โดยระบุจำนวนหุ้น ราคา และกำหนดเวลาที่ต้องการรับซื้อไว้ด้วยการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ มักจะเกิดขึ้นโดยผู้ทำคำเสนอซื้อมีวัตถุประสงค์จะเข้าไปบริหารบริษัทดังกล่าว ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์มีข้อกำหนดว่าผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทหนึ่งบริษัทใดเพิ่มขึ้นมากถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องทำคำเสนอซื้อ และสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการทำคำเสนอซื้อดังกล่าวด้วย
Thai NVDR CO., LTD. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2543 เพื่อออกตราสาร NVDR ด้วยทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 10 ล้านบาท โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือหุ้นร้อยละ 99 ของทุนจดทะเบียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งช่วยให้ชาวต่างประเทศลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนได้โดยไม่ติดเรื่องเพดานการถือครองหลักทรัพย์ของชาวต่างชาติ (Foreign Limit) พร้อมทั้งสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ NVDR ยังช่วยขจัดปัญหาของผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศบางประเทศที่ไม่สามารถลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund : TTF) ได้ ทั้งนี้ ผู้ถือ NVDR จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (Non-Voting Rights) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า NVDR จะออกมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศ แต่ก็อนุญาตให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนใน NVDR ได้
Tick Size ช่วงห่างราคาขั้นต่ำ ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ต่ำที่สุดที่ตลาดอนุพันธ์อนุญาตให้ใช้ในการเสนอราคาเช่น SET50 Index Futures กำหนด Tick Size เท่ากับ 0.10 หมายความว่าราคาฟิวเจอร์สที่เสนอจะต้องเปลี่ยนแปลงไปได้ทีละ 0.1 เช่น หากปัจจุบันสัญญาฟิวเจอร์สที่มีกำหนดส่งมอบในเดือนมิถุนายน มีราคาที่ 520.20 จุด ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงราคาฟิวเจอร์สในอนาคต ราคาที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเปลี่ยนแปลงไปทีละ 0.1 เช่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงลดลงเป็น 520.10 จุด หรือ 520.30 จุด
Time Decay ค่าเสื่อมเวลา คือค่าที่บอกว่าเมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน ราคา DW จะลดลงกี่เปอร์เซนต์ (เมื่อกําหนดตัวแปรอื่นคงที่ เช่น ราคาหุ้นอ้างอิง) ดังนั้น นักลงทุนที่ชอบถือ DW เป็นระยะเวลานานๆ ควรหลีกเลี่ยงการถือครอง DW ที่มีค่า Time Decay สูง
Trading Session หรือ Session รอบการซื้อขาย   ช่วงเวลานับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์เปิดให้มีการซื้อขายจนกระทั่งหยุดการซื้อขาย 1 รอบ ในปัจจุบันนี้ตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดให้มีการซื้อขาย 2 รอบใน 1 วัน คือ รอบการซื้อขายช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 12.30 น. และรอบการซื้อขายช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา14.30 น. - 16.30 น.
Transferable Subscription Rights : TSR ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่แต่ละรายถืออยู่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว สามารถขายหรือโอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนอื่นได้มีโอกาสและทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่หุ้นของบริษัท และช่วยให้บริษัทสามารถระดมทุนได้มากขึ้นหรือครบถ้วนตามเป้าหมายที่ต้องการด้วย
Theta เรียกอีกอย่างว่า Time Decay เป็นค่าที่แสดงว่ามูลค่าของ DW จะลดลงไปเท่าไรเมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน
Trigger Point จุดที่ต้องทำคำเสนอซื้อ การที่นิติบุคคลหรือบุคคลใดถือหลักทรัพย์ถึงจุดที่จะต้องทำคำเสนอซื้อคือ 25% 50% และ 75% ของสิทธิออกเสียง นิติบุคคลหรือบุคคลนั้นมีหน้าที่จะต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
Turnover ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ อาจรายงานปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นจำนวนหุ้นหรือเป็นจำนวนเงินก็ได้
Turnover Ratio อัตราการหมุนเวียนการซื้อขาย เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดปริมาณการซื้อขายหุ้นเทียบกับปริมาณหุ้นจดทะเบียน (มีหน่วยเป็นร้อยละ) แสดงถึงสภาพคล่องในการซื้อขายของหลักทรัพย์ อัตราส่วนนี้ยิ่งมีค่าสูง ก็ยิ่งแสดงถึงการเคลื่อนไหวของการซื้อขายว่ามีมูลค่าสูงมีสูตรคำนวณดังนี้ 
Vocabulary คำศัพท์ คำอธิบาย
Underlying Asset สินทรัพย์อ้างอิง สินทรัพย์อ้างอิงของอนุพันธ์ เช่น สินทรัพย์ที่ถูกกำหนดให้มีซื้อขายภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาฟิวเจอร์ส
Underwriter ผู้ประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่ในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทที่ต้องการกระจายหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยบริษัทหลักทรัพย์รายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งทำข้อตกลงในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์กับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ และรับเอาหลักทรัพย์ที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งออกมาเสนอขายต่อประชาชน ทั้งนี้ บริษัทผู้จัดจำหน่ายอาจเป็นผู้รับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ทั้งหมด หรืออาจให้ผู้จัดจำหน่ายพยายามจำหน่ายให้มากที่สุดก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทจะออกหุ้นใหม่โดยให้สิทธิจองซื้อแก่ผู้ถือหุ้นเดิม บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์อาจทำข้อตกลงให้ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์รับซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือเพราะไม่มีผู้ใช้สิทธิเพื่อนำไปขายต่อก็ได้
Underwriting การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การที่บริษัทหลักทรัพย์รายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งรับเอาหลักทรัพย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งไปเสนอขายแก่ประชาชนใน การทำข้อตกลงให้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์อาจให้บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งรับเป็นผู้จัดจำหน่าย รับประกันการ จำหน่าย หุ้นทั้งหมด (Firm Commitment) หรืออาจให้ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์รับหุ้นไปพยายามจำหน่ายให้ได้มากที่สุด (Best Effort) ก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทจะออกหลักทรัพย์ใหม่ โดยให้สิทธิจองซื้อแก่ผู้ถือหุ้นเดิม บริษัทอาจทำข้อตกลงให้บริษัทหลักทรัพย์ รับซื้อหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่เพราะไม่มีผู้ใช้สิทธิเพื่อไปขายต่อก็ได้ (Standby Commitment)
Variation Margin เงินประกันเรียกเพิ่ม จำนวนเงินประกันที่ผู้ลงทุนที่มีสถานะในสัญญาถูกเรียกเก็บเพิ่มเติม เนื่องจากหลักประกันที่วางไว้ลดลงต่ำกว่าระดับเงินประกันขั้นต่ำ (Maintenance Margin) โดยจำนวนเงินที่ถูกเรียกเพิ่มจะเป็นจำนวนที่ทำให้ยอดคงเหลือในบัญชีมาร์จิ้นกลับมาเท่าระดับเงินประกันขั้นต้น (Initial Margin) ถ้าผู้ลงทุนไม่สามารถนำเงินมาวางเพิ่มได้ตามที่กำหนดสำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์จะบังคับให้ผู้ลงทุนรายนั้นปิดสถานะในสัญญาฟิวเจอร์สทันที
Vega เครื่องมือที่ใช้ในการวัดความไวของการเปลี่ยนแปลงราคา DW ต่อการเปลี่ยนแปลงของความผันผวนของหลักทรัพย์อ้างอิง ค่าเวก้าจะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0 เสมอ โดย DW ที่ราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปัจจุบันใกล้กับราคาใช้สิทธิจะมีค่าเวก้ามากกว่า DW ที่ราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปัจจุบันอยู่ห่างจากราคาใช้สิทธิ
Volatility ความผันผวน เครื่องมือวัดระดับของการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่งว่าระดับราคามีการเคลื่อนไหวขึ้นลงมากน้อยเพียงใด
Volume ปริมาณการซื้อขาย จำนวนของสัญญาฟิวเจอร์สที่มีการซื้อขายกันในวันนั้น
Warrant ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่บริษัทมักจะออกควบมากับหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิหรือออกโดยการให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัท เป็นหลักทรัพย์ที่บริษัทกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือ ที่จะจองซื้อหุ้นสามัญจากบริษัทได้ในจำนวน ราคา และตามระยะ เวลาที่ระบุไว้ (กองทุนรวมบางกองทุนได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหน่วยลงทุนควมากับการออกหน่วยลงทุนด้วย) อายุของ warrant จะยาวกว่า 1 ปี ตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่า warrant ที่จะจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต้องมีอายุไม่ เกิน 10 ปี warrant มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า subscription warrant
WARRANT ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ ตราสารการเงินประเภทหนึ่งที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ นั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Securities) ในจำนวน ราคา และตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนไม่เห็นประโยชน์ของการใช้สิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ตามที่ระบุไว้ ก็สามารถเลือกไม่ใช้สิทธิได้ โดยทั่วไปบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์มักจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือหลักทรัพย์ในการจองซื้อหุ้นสามัญออกใหม่ของบริษัทตามเงื่อนไขที่ระบุไว้
XD , XR , XW , XS , XT , XI, XP, XA เครื่องหมายแสดงการไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ (XD , XR , XW , XS , XT , XI, XP, XA) เครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์แสดงไว้บนหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาล่วงหน้า 3 วันทำการก่อนวันปิดสมุดทะเบียน พักการโอนหลักทรัพย์ ในกรณีตราสารทุน และล่วงหน้า 2 วันทำการก่อนวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหลักทรัพย์ ในกรณีตราสารหนี้ เมื่อตลาดหลักทรัพย์ติดเครื่องหมายประเภทดังกล่าวไว้บนหลักทรัพย์ใด หมายความว่า ราคาที่ เสนอซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในช่วงระยะเวลาที่ขึ้นเครื่องหมายนั้น เป็นราคาที่ไม่รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่บริษัทผู้ออก หลักทรัพย์ให้หรือจะให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์นั้น และ ผู้ซื้อหลักทรัพย์นี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ประเภทที่ระบุจากการ ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นที่กำลังจะเกิดขึ้น ดังนี้
Yield อัตราผลตอบแทน รายได้ต่อปี ณ ปัจจุบัน ที่ลงทุนกับกองทุนฯ หรือการลงทุนอื่น ๆ แสดงรายได้ในรูปแบบการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากกองทุนฯ เป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาที่ลงทุน
Vocabulary คำศัพท์ คำอธิบาย